จีนขยับ!! เตรียมรับศึกใหญ่ ส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศจากทะเล5ดวง ไม่สนสหรัฐฯ-ญี่ปุ่นวางแผนไบเดนทัวร์เอเชีย

0

ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ชื่นชมการตอบสนองที่แข็งแกร่งของญี่ปุ่น ต่อการคว่ำบาตรรัสเซียตามวาระวอชิงตัน ในการประชุมหารือร่วมวางแผนในการเยือนเอเชียของปธน.ไบเดน ด้านจีนเริ่มขยับแรงขึ้นทั้งด้านการทูต เศรษฐกิจ และความมั่นคง ล่าสุดยิงดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศพร้อมกันถึง 5 ดวง เพราะรู้ว่า ไม่นานการปะทะกับสหรัฐและตะวันตกย่อมเกิดขึ้นแน่ด้วยท่าทีที่แข็งกร้าว ยั่วยุและระดมพันธมิตรในเอเชีย-แปซิฟิกต้านจีนอย่างโจ่งแจ้ง 

วันที่ 4 พ.ค.2565 สำนักข่าวรอยเตอร์และทาซซ์รายงานว่า เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และเลขาธิการสำนักเลขาธิการความมั่นคงแห่งชาติของญี่ปุ่น อากิบะ ทาเคโอะ หารือในการประชุมเมื่อวันอังคาร เกี่ยวกับการเยือนเกาหลีใต้และญี่ปุ่นของประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนพ.ค.นี้ รวมถึงการคว่ำบาตรรัสเซีย

ตามคำแถลง ซัลลิแวนและทาเคโอะได้พบกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับการเตรียมการสำหรับการเดินทางไปสาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นของประธานาธิบดีที่กำลังจะมีขึ้น  ซัลลิแวนได้แสดงความชื่นชมการตอบสนองที่แข็งแกร่งของญี่ปุ่น ต่อปฏิบัติการพิเศษของรัสเซียในยูเครน “รวมถึงการคว่ำบาตรทางการเงิน การควบคุมการส่งออก และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการป้องกันประเทศสำหรับยูเครน”

ซัลลิแวนและทาเคโอะยังเห็นพ้องต้องกันว่า “จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดต่อไปในการตอบสนองระหว่างประเทศ” ต่อนโยบายต่างประเทศของรัสเซีย

ทำเนียบขาวกล่าวต่อว่า “อากิบะ ทาเคโอะ จะให้การต้อนรับประธานาธิบดีสหรัฐฯที่จะเดินทางเยือนโตเกียว เพื่อส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังภูมิภาคนี้ และนอกเหนือจากนั้นเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก” 

สหรัฐฯไม่ได้ปิดบัง ยุทธศาสตร์ใหม่ต่อญี่ปุ่น แย้มพยายามหาทางติดอาวุธญี่ปุ่นให้เดินหน้าชนกับจีน เนื่องจากไม่มีพันธมิตรในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอาเซียน ไม่อาจเป็นเจ้าภาพติดตั้งขีปนาวุธของสหรัฐฯ วอชิงตันควรสนับสนุนการเสริมอาวุธของญี่ปุ่นแทน 

รายงานฉบับใหม่โดยบริษัท RAND ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านความคิดที่ได้รับมอบหมายให้พัฒนากลยุทธ์สำหรับเพนตากอนระบุว่า ไม่มีพันธมิตรของสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิกในปัจจุบันยินดี เป็นเจ้าภาพติดตั้งขีปนาวุธพิสัยกลาง 

นักวิเคราะห์ RAND เจฟฟรี ฮอร์นุง(Jeffrey W. Hornung) กล่าวว่า ภายในไม่กี่วันที่สหรัฐฯ ถอนตัวจากสนธิสัญญากองกำลังนิวเคลียร์พิสัยกลาง (Intermediate-Range Nuclear Forces – INF) ในเดือนสิงหาคม 2019 เพนตากอนเปิดเผยว่ากำลังทำงานกับขีปนาวุธที่ถูกสั่งห้ามก่อนหน้านี้และต้องการส่งไปยังที่ใดที่หนึ่งบนขอบมหาสมุทรแปซิฟิก เขาชี้ว่าพูดง่ายกว่าทำ เพราะจนบัดนี้ยังไม่ประสบผล

ในรายงานซึ่ง RAND เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา ฮอร์นุงโต้แย้งว่า“แนวโน้มที่จะเปิดรับระบบดังกล่าวนั้นต่ำมาก ตราบใดที่สภาพการเมืองภายในประเทศในปัจจุบันและแนวโน้มด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกยังคงมีอยู่แบบเดิมซึ่งชี้เฉพาะประเทศไทย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังได้เสนอให้หนุนญี่ปุ่น พัฒนาและปรับใช้อาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับขีปนาวุธต่อต้านเรือรบภาคพื้นดิน ซึ่งอาจส่งผลให้โตเกียวเต็มใจที่จะติดตั้งขีปนาวุธร่อนต่อต้านเรือที่มีพิสัยไกลกว่าได้ในที่สุด

ทางด้านจีนมีความเคลื่อนไหวมากทั้งในด้านการทูต เศรษฐกิจและทารทหาร เมื่อเร็วๆ นี้ จีนได้ใช้จรวดขนส่งเชื้อเพลิงแข็ง “ลองมาร์ช-11”(Long March-11) ในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรที่กำหนด พร้อมกันถึงห้าดวงที่ทะเลตะวันออกของจีน ขณะที่ได้เรียกประชุทนายธนาคารเพื่อเตรียมรับมือกับ ผลกระทบทางเศรษฐกิจหากถูกสหรัฐฯคว่ำบาตร แบบเดียวกับที่ทำต่อรัสเซีย

ดาวเทียมเหล่านี้จะให้บริการการสำรวจระยะไกลเชิงพาณิชย์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การสำรวจสำมะโนที่ดินและทรัพยากรของจีน การวางผังเมืองและการติดตามภัยพิบัติ ซึ่งนับเป็นภารกิจการส่งวัตถุขึ้นสู่อวกาศในทะเลครั้งที่สามของจีน และเป็นครั้งที่จุดปล่อยและท่าเรืออยู่ห่างกันมากที่สุด

ปกติการยิงจรวดขึ้นสู่ฟากฟ้านั้น ส่วนมากจะเป็นการยิงจากพื้นดินเกือบทั้งหมด สาเหตุที่ในครั้งนี้ต้องยิงจรวดในทะเลนั้นเป็นเพราะวัตถุอวกาศแต่ละชนิดจะมีปัจจัยในเรื่องของวงโคจรที่ต่างกัน ทำให้ต้องยิงจรวดในตำแหน่งที่ต่างกันไป น่านน้ำทะเลของจีนมีเนื้อที่กว้างใหญ่ สามารถเลือกใช้เป็นจุดยิงจรวดได้หลายแห่ง นอกจากนี้ การยิงจรวดในทะเลยังสามารถกำหนดให้เศษชิ้นส่วนตกในทะเลทั้งหมดได้โดยใช้ระบบขีปนาวุธ ซึ่งทำให้ปลอดภัยมากขึ้น

ภายในประเทศ ทางการจีน หน่วยงานกำกับดูแลของจีนได้จัดประชุมฉุกเฉินกับธนาคารทั้งในและต่างประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาสามารถปกป้องทรัพย์สินในต่างประเทศของจีนจากการคว่ำบาตรที่นำโดยสหรัฐฯ คล้ายกับที่รัสเซียโดน เจ้าหน้าที่กังวลว่ามาตรการเดียวกันกับปักกิ่งอาจถูกนำไปใช้ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางทหารในระดับภูมิภาคหรือวิกฤตอื่นๆ 

ในที่ประชุม นายธนาคารบางคนสงสัยว่าวอชิงตันจะสามารถตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนได้หรือไม่ เนื่องจากสถานะของจีนเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก การถือครองสินทรัพย์พันธบัตรดอลลาร์จำนวนมหาศาล และการมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯอย่างยาวนาน

แอนดรูว์ คอลลิเออร์ กรรมการผู้จัดการ Orient Capital Research ในฮ่องกงกล่าวว่ารัฐบาลจีนมีสิทธิ์ที่จะต้องกังวล “เพราะการคว่ำบาตรทางการเงินของสหรัฐฯมีทางเลือกน้อยมาก และผลที่ตามมานั้นร้ายแรง” แต่เขาเห็นด้วยว่า  “เป็นเรื่องยากสำหรับสหรัฐฯ ที่จะกำหนดมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหญ่ต่อจีน” “มันเหมือนกับการทำลายล้างร่วมกันในสงครามนิวเคลียร์เศรษฐกิจที่อาจหนักกว่าทำกับรัสเซียด้วย”