สถานการณ์วิกฤตโลก เมื่อ เชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดไปทุกมุมโลก คร่าชีวิตประชากรทั้งโลกไป หลายหมื่นคน แต่ที่เห็นกันบ่อยๆไม่ว่าจะในประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ เราจะเห็น เจ้าหน้าที่ใส่ชุดป้องกัน เพื่อที่จะพ่นยาฆ่าเชื้อในหลายๆที่ ทั้งบนถนน และที่ สาธารณะ อาธิเช่น ตุรกี และแรงงานชาวอินเดีย
เดล ฟิเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากประเทศสิงคโปร์ ประธานเครือข่ายเฝ้าระวังและรับมือการแพร่ระบาด ประสานงานโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า เขาไม่มีความเชื่อว่า การทำเช่นนี้จะสามารถรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19ได้ และ เสี่ยงกับประชาชนด้วย เขามองว่าเป็นเรื่องตลก ที่หลายประเทศออกมาทำแบบนี้
ผู้เชี่ยวชาญยังออกมาย้ำว่า “ไวรัสไม่สมารถอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน และ คนเราไม่สัมผัสกับพื้นอยู่แล้ว”
เมื่อวันอังคารที่ ( 31 มี.ค ) มีการส่งโดรนลำหนึ่งไปพ่นยาฆ่าเชื้อ ในเมือง สุราบายา เมืองที่ใหญ่อับดับ 2 ของ อินโดนิเซีย
โฆษกเทศมนตรีสุราบายา (เฟบรีอาทิตยา ประจาตารา) ออกมาย้ำว่า ที่จำเป็นที่ส่งโดรนขึ้นไปพ่นยาฆ่าเชื้อในตัวเมืองที่มีผู้ติดเชื้อ เพราะไวรัส “มันอาจอยู่ที่ใดก็ได้” และยังเปรียบเทียบว่ายาฆ่าเชื้อเบนซาลโคเนียมคลอไรด์ อาจมีผลทำให้ผิวหนังระคายเคืองถ้าใช้ในระดับที่มีความเข้มข้นมากเกินไป เปรียบเสมือน “สบู่” ที่สามารถทำให้เชื้อไวรัสอ่อนแรงจนไม่สามารถเข้าสู่ในร่างกายคนได้
ไวรัสโควิด-19 มันเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ สามารถแพร่กระจายผ่านละออกฝอยจากปากหรือจมูก ด้วยการจามหรือไอ หรือที่คนเราเอามือไปจับสิ่งปนเปื้อนแล้วมาจับ ตา จมูก ปาก ก็สามารถติดโรคได้เหมือนกัน
หลังจากนั้น ชาวบ้านในเมืองสุราบายา ดีใจมาก กับการพ่นยาฆ่าเชื้อครั้งนี้
“การที่ออกมาใช้โดรนได้ผลดีมากๆ สามารถฆ่าเชื้อได้ทุกที่ อาทิเช่นหลังคาบ้าน แต่ถ้าใช้แรงฉีด มากที่สุดก็ไปได้แค่ขอบรั้ว” อาลี ซาร์โวโน เห็นด้วยกับทางการ
ทั้งนี้ พอล ทัมบยาห์ จากสมาคมจุลชีววิทยาคลินิกและการติดเชื้อแห่งเอเชียแปซิฟิก ออกมาย้ำว่า การทำความสะอาดพื้นที่ที่ผู้คนสัมผัสบ่อยๆ และการล้างมือ มันน่าจะดีกว่าการฉีดยาฆ่าเชื้อ
“การที่ให้ความสนใจในสุขอนามัยส่วนตัว และสิ่งแวดล้อม มันอาจมีผลดีกว่าในการพ่นยาฆ่าเชื้อ”
ทั้งนี้ ประเทศมาเลเซีย สั่ง Lock down ทั้งประเทศ ทางการก็ออกมารีบเร่งฉีดเชื้อในพื้นที่ ที่มีผู้ติดเชื้อสูง หวังที่จะให้ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธรณสุขปรี๊ดมากๆ เพราะเห็นภาพรดฉีดสเปรย์ละอองฟุ้งฉีดลงบนถนน
“ทั้งนี้ คริสโตเฟอร์ ลี อดีตผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธรณสุขมาเลเซีย ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ออกมาบอกว่า ไปฆ่าเชื้อบนถถน มันจะได้อะไร มีแต่เสียเวลา เปลืองทรัพยากร”
“ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ จากโรงพยาบาลเมาต์เอลิซาเบธในสิงคโปร์ ( เลียง โฮ นัม ) กล่าวว่า การพ่นยาฆ่าเชื้อทำให้ประชาชนสบายใจ แค่ควบคุมไวรัสไม่ได้
“ถ้าจะได้ผลดีกว่านี้ก็ใช้เครื่องฉีดน้ำ ฉีดผู้คนให้เขากลับบ้านไปก็หมดเรื่อง ผู้เชี่ยวชาญสรุปสั้นๆ”
ข้อมูลจาก
กรุงเทพธุรกิจ : ‘พ่นยาฆ่าเชื้อ’ เสียเวลา เปลืองทรัพยากร