เพื่อไทย อวยนายใหญ่ “ทักษิณ ชินวัตร” ครองอำนาจ 20 ปี ซื่อสัตย์สุจริต แต่โกงกินบ้านเมือง คอรัปชั่น ทำประเทศไทยเสียหาย
จากกรณีได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี อ.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้พาคณะผู้บริหารเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อนำเสนอผลงานภายใต้โครงการ BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจรากฐานมีสโลแกนว่า พลังเศรษฐกิจใหม่ พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน หลังจากที่ได้มีการนำเสนอผลงานแล้ว ผู้สื่อข่าวก็เข้าไปสัมภาษณ์นายกรัฐมนตรี ท่านก็บอกว่า อย่าไปคิดแต่เรื่องเดิมๆ ทำแต่เรื่องเดิมๆ มันก็จะได้แต่เรื่องเดิม ลดความเหลื่อมล้ำอะไรไม่ได้ แล้วอยากบอกว่าประเทศไทยเราเปลี่ยนไปตั้งแต่ปี 2520 ที่มีการปรับเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็น เรื่องการส่งออกและเทคโนโลยี ไม่เช่นนั้นคงไม่มีคนรวยเมื่อปี 2530 หรอก ลองไปดูสิ ใครรวยเมื่อปี 2530 จากโครงการโทรคมนาคม ถามว่าใครรวยเมื่อปี 2530 ก็คือทักษิณ ชินวัตร แต่ที่น่าสงสัยคือ ทำไมเมื่อนักข่าวถาม นายกรัฐมนตรีถึงพูดเรื่องนี้ขึ้น
แน่นอนว่า สิ่งที่ อ.เอนก นำไปเสนอเรื่องของการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งและยืนอยู่ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะความเป็นอยู่จริงของสังคมโลกในปัจจุบัน ที่แต่ละประเทศจะต้องยืนหยัดอยู่ได้ด้วยหลักปัจจัย 4 โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เหตุผลที่พล.อ.ประยุทธ์ งับคอทักษิณ มาจากที่ไปค้นหาต้นตอ มาจากการที่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พรรคเพื่อไทย ได้โพสต์ภาพของทักษิณ ชินวัตร และบรรดาคนในครอบครัว ตั้งแต่คุณหญิงพจมาน ลูกรัฐมนตรี ลิ่วล้อบริวารทั้งหลาย ยืนถ่ายรูปกัน โดยมีเนื้อหาว่า ทักษิณขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก จุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาและปฏิรูปประเทศ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เนื้อหาข้างในก็ไปเอาคำพูดของทักษิณที่เคยพูดไว้ว่า “…ผมจะไม่ยอมทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำตามกฎหมายเท่านั้น ผมจะขอเป็นผู้นำที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทย เพื่อประเทศไทยที่ดีขึ้น พี่น้องที่เคารพครับ ผมจะขอทำหน้าที่เป็นรัฐบาลที่ไม่รู้จักคำว่าเหน็ดเหนื่อยเป็นรัฐบาลที่จะทุ่มเททำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต”
คือคำมั่นสัญญาที่ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศไว้หลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544
หลังนำพรรคไทยรักไทย ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในการเลือกตั้งถึง 248 เสียง และสภาผู้แทนราษฎรลงมติเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 23
รัฐบาลพรรคไทยรักไทย ถือเป็นรัฐบาลชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 และอยู่ครบวาระ 4 ปี
ประเด็นแรกคือ คำพูดที่ว่า “ผมจะขอทำหน้าที่เป็นรัฐบาลที่ไม่รู้จักคำว่าเหน็ดเหนื่อยเป็นรัฐบาลที่จะทุ่มเททำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต” แต่ทักษิณเป็นคนที่ทุจริต ตัวคอรัปชั่น ที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย และทำให้ประเทศชาติจมปลักอยู่กับความขัดแย้งจากการบ้าอำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ต่างๆ 20 ปีเต็ม ตอนนี้ทักษิณอยู่ในวัยย่างเข้า 74 ปี แต่ความร้ายกาจเกินจะประมาณ
เรื่องอื่นไม่ต้องพูด เอาเรื่องที่ศาลมีหลักฐานชัดๆ ทักษิณ ชินวัตรและคนในครอบครัวร่วมมือกัน ทุจริตคอรัปชั่น เอาสัมปทานของรัฐที่ได้มาแสวงหาผลประโยชน์ โดยใช้อำนาจของตัวเอง สำหรับคดีที่ชัดเจนว่าทักษิณทุจริต คอรัปชั่น ก็คือคดีที่อัยการได้ฟ้องในข้อหา ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม เมื่อทักษิณขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก่อนหน้านั้น ทักษิณเคยเป็นนักการเมือง เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับพรรคพลังธรรม แต่ก่อนหน้านั้นที่ทำให้พลตรี จําลอง ศรีเมือง ไปเชิญทักษิณเข้าสู่การเมือง ซึ่งความจริงแล้วพรรคประชาธิปัตย์ในตอนนั้น คุณชวนก็ไปเชิญทักษิณมาเข้าพรรคด้วย เพราะทุกคนรู้สึกว่าทักษิณ เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ คนที่รวยแล้วจะไม่โกง ต้องเข้าสู่การเมืองมาช่วยกันพัฒนาการเมือง แต่ก็ไปเข้าพรรคพลังธรรม เพราะพรรคพลังธรรมให้ตำแหน่งเลย ถ้าเข้าพรรคประชาธิปัตย์ต้องต่อคิว แต่ท้ายที่สุด ด้วยความเป็นเผด็จการ บ้าอำนาจ สั่งการใครในพรรคพลังธรรมไม่ได้ ก็ออกมาตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นของตัวเอง ที่สั่งการได้ทุกอย่าง
ความร่ำรวยของทักษิณ ทุกคนรู้ว่าเป็นเจ้าของบริษัท AIS เป็นเจ้าของบริษัทชินคอร์ป มีสัมปทานดาวเทียม มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานเทคโนโลยีสื่อสารมากมาย เป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวย แต่มีคนรู้ไม่กี่คนว่า ก่อนหน้านี้ทักษิณลำบาก ยากจน แก้ไขปัญหาหนี้สินมาอย่างไร จนได้สัมปทาน AIS มาถึงทำให้ฐานะของตัวเองร่ำรวยขึ้น เปลี่ยนจากตำรวจระดับรองผู้กำกับ พล.ต.ท. เปลี่ยนสถานะขึ้นสู่มหาเศรษฐีที่ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย พอจะเข้าเป็นนายกรัฐมนตรี สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็คือ ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือสัมปทานรัฐ รวมทั้งภรรยาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย โดยเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทักษิณก็ลงมือขายหุ้น แต่ไม่ใช่ขายทิ้งไปเพื่อจะให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่ขายกันเอง มีบริษัทชินคอร์ป ถือสัมปทานดาวเทียมโดยตรง บริษัทชินคอร์ปถือหุ้นใหญ่ในบริษัท AIS ซึ่งได้รับสัมปทานโทรศัพท์มือถือจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย บริษัท AIS ถือหุ้นใหญ่บริษัทดิจิตอลโฟน ที่ได้รับสัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ก็จัดการโอนหุ้นบริษัทชินคอร์ปบางส่วนให้เป็นของบริษัทแอมเพิลริช ซึ่งเป็นบริษัทของตัวเอง และบริษัทแอมเพิลริชก็โอนหุ้นให้กับ นายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร คนละครึ่ง
นอกจากนั้น ทักษิณก็ไปโอนหุ้นในส่วนที่เหลือให้กับญาติพี่น้องบุคคลคนใกล้ชิดต่างๆ เพื่อให้ถือหุ้นแทน จำนวนหุ้นที่ปรากฎในหลักฐานของศาลคือ 1,419,490,150 หุ้น คิดเป็น 48.75% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท หลังจากโอนหุ้นเสร็จ ดูเหมือนเรียบร้อยแล้ว แต่ความจริงโอนให้ลูก ให้เครือข่ายพรรคพวก ในทางนิตินัย ในทางกฎหมาย ทักษิณและคุณหญิงพจมาน บริสุทธิ์แล้ว แต่หลังจากนั้น ผ่านไปสองปี ก็ออกลาย วันที่ 28 มกราคม 2546 ก็ได้สั่งการให้ออกพระราชกำหนดแก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พ.ศ.2546 ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง ลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต และให้คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 ในกรณีที่เกี่ยวข้องการจัดเก็บภาษีสรรพาสามิตจากกิจการโทรคมนาคมและให้นำค่าสัมปทานหักกับภาษีสรรพสามิต แต่ในกรณีคำสั่งนี้ ทำให้คู่สัญญากับบริษัทของทักษิณ ซึ่งก็คือ บริษัท AIS และดิจิตอลโฟน ซึ่งก็คือ องค์โทรศัพท์แห่งประเทศไทยและการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียหายเป็นเงิน 41,951.68 ล้านบาท และ 21,992.08 ล้านบาท ที่ทำทั้งหมดนั้นก็เพื่อให้บริษัทชินคอร์ป บริษัท AIS บริษัทดิจิตอลโฟน ได้กำไรมหาศาล ด้วยการใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะขายหุ้นบริษัทของตัวเองให้กับต่างชาติ
แต่ความจริงบริษัทที่ทักษิณอยากจะขายคือ บริษัท AIS ไม่ใช่บริษัทชินคอร์ป ต้องการขายกิจการมือถือไป ที่ไปออกพระราชกำหนดแก้กฎหมายให้ตนเองเกิดประโยชน์ก็เพื่อต้องการขายบริษัท AIS แต่ปรากฎว่า ถ้าขายบริษัท AIS บริษัทชินคอร์ปซึ่งถือหุ้น AIS อยู่จะต้องจ่ายภาษี 30% เป็นข้อกำหนดของกฎหมาย ในกรณีที่นิติบุคคลถือหุ้นนิติบุคคล และถ้าขายหุ้นออกไป ก็ต้องจ่ายภาษีเงินได้ ทักษิณก็ไม่ขายบริษัท AIS แต่ขายบริษัทชินคอร์ปเลย เพราะบริษัทชินคอร์ป บุคคลธรรมดาเป็นผู้ถือหุ้น ขายหุ้นออกไปก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ชินคอร์ปก็มีปัญหาอีก เพราะมีสัมปทานดาวเทียม สัมปทานไอทีวี พอตัดสินใจขายชินคอร์ป เพราะต้องการหลีกเลี่ยงภาษี การขุดคุ้ยก็เกิดขึ้นว่า ดาวเทียมเป็นของรัฐแต่ไปขายเทมาเส็ก สิงคโปร์ มันอันตราย โทรทัศน์ไอทีวีไปอยู่ในมือต่างชาติ มันเป็นปัญหาความมั่นคงหรือเปล่า ความเลวร้ายของทักษิณก็ค่อยๆปรากฎขึ้น และท้ายที่สุดในวันที่ 23 มกราคม 2549 นายพานทองแท้ นางสาวพินทองทา นางสาวยิ่งลักษณ์ นายบรรณพจน์ ก็ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปที่ได้ถือหุ้นไว้ให้กับกลุ่มเทมาเส็ก โดยมีบริษัทซีดาร์ โฮลดิ้งส์ เป็นผู้ซื้อ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,487,774,120 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,271,200,910 บาท โดยหุ้นที่ขายไปเป็นหุ้นที่รัลโอนมาจากทักษิณและคุณหญิงพจมาน
มันมีหลักฐานชัดเจนว่า ที่พ่อแม่ขายให้ลูก ขายให้บริษัทและโยกกันไปโยกกันมา ไม่ได้มีการจ่ายเงินจริง เพราะต้องการหลบกฎหมาย ต้องการหลีกเลี่ยงกฎหมาย เพื่อให้ตัวเองได้รับประโยชน์ในการทุจริต คอรัปชั่น เอาเปรียบรัฐ เอาเปรียบประชาชนคนไทย ทรัพย์สินสัมปทานดังกล่าวเป็นของชาติ เป็นของประชาชน ภาษีต่างๆที่ควรกลับมายังประเทศชาติ เพื่อไปพัฒนาดูแลประชาชน กลับเข้ากระเป๋าของครอบครัวชินวัตร เพราะต้องการขายหุ้นให้กับเทมาเส็กได้ราคาสูงๆ ย้ำว่าคดีนี้เป้นคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม แปลง่ายคือ ทักษิณใช้หน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ไปทำให้เกิดประโยชน์กับบริษัทส่วนตัว ศาลจึงตัดสินให้จำคุกในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นผู้ถือหุ้นสัมปทาน 2 ปี เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ที่กระทำการอันขัดกันระหว่างประโยชน์ 3 ปี รวม 5 ปี ยังจะเอามาโชว์ว่าสุจริต
แต่แน่นอนว่า พรรคเพื่อไทย เป็นพลพรรค เป็นบริวารของทักษิณ คนที่ทนไม่ได้ก็ทยอยออกไป บอกแล้วว่า คนที่ไม่สุจริต วิบากกรรมจะถามหา บาปกรรมที่ทำกับบ้านเมือง กฎหมายหลีกเลี่ยงได้ กฎแห่งกรรมหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ที่สุดกฎหมายก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ขายหุ้นไป 73,000 ล้านบาท ก็มีการฟ้องยึดทรัพย์ทักษิณ ศาลก็วินิจฉัยด้วยความเป็นธรรม และท้ายที่สุด ตัดสินให้ยึดทรัพย์ 46,000 ล้านบาท ด้วยความเป็นธรรม พิจารณาแล้วว่ารัฐเสียหายเพียงแค่นี้ ก็ยึดเพียงแค่นี้ คำพิพากษาศาลฎีกา แผนกคดีอาญาทางการเมือง ลำดับติดคุก ต่อมายึดทรัพย์บางส่วน ไม่ได้ยึดที่ขายไปทั้งหมด ดังนั้นต้องรับผิดชอบภาระทางภาษี กรมสรรพากรจึงเรียกเก็บภาษีจากทักษิณ 17,629.58 ล้านบาท คนอย่างทักษิณไม่ยอมก็อุธรณ์ แต่ศาลฎีกาไม่รับอุธรณ์ เรื่องทั้งหมดนี้เพิ่งจบสิ้นลงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563