ดร.เวทิน ชาติกุล ผ.อ.สถาบันทิศทางไทย ชี้ “วิทยานิพนธ์เท็จ” ของนักวิชาการดัง “ปั้นน้ำเป็นตัว” ทุจริตร้ายแรงทางวิชาการ
จากกรณีที่นายณัฐพล ใจจริง ได้มีการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา [พ.ศ.2491-2500] ต่อมาทางด้าน ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพบว่าข้อมูลในวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว เป็นการกล่าวอ้างขึ้นมาเอง ไม่มีแหล่งอ้างอิง
นายณัฐพล ใจจริง ได้ทำหนังสือชี้แจงยอมรับข้อผิดพลาดและอ้างว่าไม่ได้ตั้งใจ เสนอขอแก้ใหม่ตัดประเด็นการเป็นประธานการประชุมออกไป แต่ผิดอย่างไรก็ไม่กระทบใจความหลักของทั้งเล่มแต่อย่างใด ทางคณะรัฐศาสตร์ได้หารือกันว่า ให้งดเผยแพร่และอ้างอิง ถ้าจะเผยแพร่ตีพิมพ์จะต้องขออนุญาตบัณฑิตวิทยาลัยก่อน ต่อมาทาง นิตรสารฟ้าเดียวกัน ก็ได้นำข้อมูลดังกล่าวตีพิมพ์ขายด้วย ซึ่งศาสตราจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชาวไทย ได้ออกมากล่าวถึงกรณีดังกล่าวหาว่า สถาบันการศึกษาเซ็นเซอร์วิทยานิพนธ์ “ที่ดีเยี่ยม” ด้วยข้อหาผิดพลาดทั้งที่เข้าใจผิดตีความเกินเลยไปเท่านั้น ไม่ได้สำคัญอะไร
ซึ่งต่อมา สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว ว่าหนังสือ นั้นได้ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร้องของวิทยานิพนธ์ การเมืองไทยภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา 2491-2500 เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งติงกลับว่า ไชยันต์นั้นมโน จากนั้น ได้มีการตรวจสอบวิทยานิพนธ์กับหนังสือเล่มดังกล่าว พบว่า ในหนังสือและวิทยานิพนธ์ มีเนื้อหาเดียวกันแต่คนละสำนวน คนละข้อความ แต่หากปรากฏข้อความ สำนวน ในหนังสือ(ที่อ้างว่าแก้ไขแล้ว) แบบที่ยกออกมาจากตัวเล่มวิทยานิพนธ์ที่ถูกระงับเผยแพร่
ล่าสุดทางด้าน ดร.เวทิน ชาติกุล ผ.อ.สถาบันทิศทางไทย ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงกรณี วิทยานิพนธ์ดังกล่าว ของนักวิชาการดัง โดยระบุข้อความว่า
วิธี “อ่าน” และ “วิจัย” โดยทุจริต กรณีอ้างอิงเท็จของณัฐพล ใจจริง
นี่คือหลักฐาน(1 ใน 2 ชิ้น) ที่ณัฐพลเอามาอ้างว่า กรมขุนชัยนาทฯ(ผู้สำเร็จราชการฯ)ไปนั่งร่วมประชุมครม.จอมพล ป. คือจะแสดงว่า สถาบันแทรกแซงการเมือง มาแต่ไหนแต่ไร
เลยสงสัยว่า ”วิธีอ่าน” ของณัฐพล (รวมถึง นักวิชาการล้มล้าง อย่าง ธงชัย ปิยบุตร ประจักษ์ ฯลฯ) เป็นอย่างไร
เพราะอ่านแบบชาวบ้าน พาดหัวของ Bangkok Posts ก็อ่านได้ว่า “นายกอาจไปนั่งร่วมประชุมองคมนตรี”
ซึ่งในทางประเด็นข่าว นสพ.พาดหัวแบบนี้ ก็แสดงว่า “มีเหตุการณ์ไม่ปกติ” แน่ๆ เพราะถ้าไม่มีจอมพล ป.คงไม่ออกมาพูดล้ำเส้นแบบนี้ แต่เรื่อง “ผิดปกติ” นี้จะอ่านว่า จอมพล ป.ใช้อำนาจก้าวล่างสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ได้ หรือหากเอามาพาดหัวใหม่แบบสมัยนี้ก็คงได้ว่า
” ป.เหิม โชว์กร่าง ขอเข้าร่วมประชุมองคมนตรี”
แน่นอน มันก็คิดได้นั่นแหละ ว่าอาจมี “เรื่อง” ที่ทำให้จอมพล ป.ไม่พอใจอย่างมากจริง แต่ระหว่างการอ่านว่า “จอมพล ป.เหิมเกริม” กับ การอ่านว่า “กรมขุนชัยนาทฯแทรกแซงการเมือง” อย่างหลังแม้จะคิดได้แต่กว่าจะไปถึงได้ก็ต้องอ้างอีกหลายต่อหลายทอด เช่น
ก) จอมพล ป. ไม่พอใจ องคมนตรี
ข) องคมนตรี ต้องทำอะไร “บางอย่าง”
ค) อะไร “บางอย่าง” นั้น จอมพล ป. ต้องถือว่า ละเมิดอำนาจของตน ชนิดที่ตนต้องเอาคืน
ซึ่งอะไร บางอย่าง อาจจะหมายถึงอะไรก็ได้ เพราะไม่มีใครรู้ เกิดไม่ทันกันหมด แต่ณัฐพลมาบอกว่า
ง) ผู้สำเร็จฯเข้าไปนั่งประชุมครม.
จ) สถาบันแทรกแซงการเมือง
ซึ่งข้อ ง) ถ้าไชยันต์ไม่พบหลักฐานว่า “มั่ว” การสร้างข้อเท็จจริงโดยทุจริตของณัฐพลก็คงไม่มีใครรู้
เพราะไม่ปรากฎ “ข้อเท็จจริง” ที่สามารถอ้างอิง ง) ได้ว่าเป็นจริง ซึ่งณัฐพลก็ยอมรับ
หากคิดด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ด้วยหลัก “ใบมีดโกนของอ็อคคัม” ระหว่าง “จอมพล ป.เหิมเกริม” กับ “กรมขุนชัยนาทฯแทรกแซง” สมมุติว่ายังไม่พบหลักฐานเอาผิดอย่างหลังก็ต้องถูกตัดทิ้ง เพราะเป็นการอธิบายที่ซับซ้อนกว่า ยุ่งยากกว่า
การยอมรับผิดของณัฐพล บ่งชี้ว่า “วิธีอ่าน” ข้อมูลของณัฐพลนั้นทุจริต เป็นไปได้ที่ณัฐพลอาจได้ยินข้อมูลนี้มาจากใครสักคน (คงเป็นพวกเดียวกัน) ที่หาหลักฐานอ้างอิงไม่ได้ ข้อมูลที่ว่าจึงเป็นข้อมูลประเภท gossip
ตัวเขาไม่แยกข้อมูล gossip ออกจาก ข้อเท็จจริง ซึ่งเรื่องประเภท gossip หรือ เขาเล่าว่า กับ ข้อมูล ข้อเท็จจริง ในทางวิชาการมันมีเส้นแบ่งที่ชัดโดยเฉพาะเมื่อมีการนำมาอ้างอิง ซึ่งไม่รู้ว่าณัฐพลไร้ความสามารถหรือเจตนาอยู่แล้ว
ถ้านักวิชาการแยกตรงนี้ไม่ออก งานวิชาการก็ไม่ต่างอะไรกับ นวนิยาย
ยกตัวอย่างเช่น นิยายเรื่อง Davinci Code
นิยายเรื่องนี้นำข้อมูลมาจาก non-fiction เรื่อง Holy Blood Holy Grail แต่คนเขียน non-fiction ก็อ้างแค่ว่ามีปริศนาเรื่องนักบวชบ้านนอกคนหนึ่งที่ร่ำรวยขึ้นชั่วข้ามคืนเพราะอาจรู้ “ความลับ” ของศาสนจักร ที่เหลือก็คือ การคาดเดาหรือพยายามจะหาคำอธิบายของคนเขียนเองว่าความลับนั้นอาจเป็นเกี่ยวข้องกับ กลุ่มนิยายเร้นลับกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า พระเยซูไม่ตายบนไม้กางเขนและมีทายาทสืบต่อมา ประเด็นก็คือ นักบวชคนนั้นไม่เคยพูดว่าความลับของตนคืออะไรหรือกระทั่งมีความลับอย่างที่ว่านั้นจริงหรือไม่?
แต่ทั้ง Holy Blood Holy Grail หรือ Davinci Code ก็ชัดเจนว่าจะปั้นน้ำเป็นตัวกันขนาดไหนก็ไม่ใช่งานวิชาการที่ใครจะเอามาอ้างอิงอย่างจริงจัง
นั่นไม่นับ “วิธีทำงานวิจัย” ของณัฐพล ที่ตั้งธง จ) ว่าสถาบันฯแทรกแซงอยู่ก่อนแล้ว และทำทุกอย่างกลับตาลปัตรคือไปหา whatever มาเพื่อสนับสนุน ธง ที่ตนตั้งไว้
ทุจริตแบบนี้สมควรถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมากในทางวิชาการ