สนธิญาณ ฟันฉับ คนไทยทนไม่ไหว ให้บทเรียน “คณะก้าวหน้า” เลือกตั้งแพ้ยับ เพื่อไทยเตรียมลาเวทีการเมือง ถ้ายังหนุนม็อบล้มเจ้า!?!
จากกรณีเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ผลการเลือกตั้ง จากการตรวจสอบผลการนับคะแนนจากทุกจังหวัด ปรากฎว่า ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งนายกฯอบจ.ของคณะก้าวหน้า ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ทำให้พ่ายแพ้ในทุกจังหวัดที่ส่งลงชิงตำแหน่ง จะเห็นได้ว่าจากการลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งในแต่ละครั้ง นายธราธร ได้เดินทางไปช่วยผู้สมัครหาเสียง มีหลายพื้นที่ ที่ประชาชนออกมาขับไล่ เปิดเพลงหนักแผ่นดินให้ฟัง หรือแม้กระทั่งตะโกนไล่ ชูป้ายถามไปถึงว่า ทำไมต้องจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์, ทำไมต้องอยากปฏิรูปสถาบันฯ
ล่าสุดเมื่อวานนี้ (21 ธันวาคม 2563) นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ได้พูดถึงผลการเลือกตั้งนายกอบจ.ที่ผ่านมา ว่า คณะก้าวหน้า เจ๊งไม่เป็นท่า ถึงเวลาของพรรคเพื่อไทยที่หนุนม็อบล้มเจ้า เตรียมตัวเดินตามรอยก้าวหน้า โดยกล่าวว่า ผลการเลือกตั้งนายกฯ อบจ. ทั่วทั้งประเทศ หลังจากที่ออกมา ทำให้คนไทยทั้งประเทศมีความสุขกันเป็นอย่างยิ่ง ความสุขที่ว่านั้นก็คือ การพ่ายแพ้ของคณะก้าวหน้า รวมถึงทิศทางการเคลื่อนไหวทางการเมืองของธนาธร ปิยบุตร ช่อ เป็นที่ชัดเจนว่า ประชาชนไม่ต้อนรับ ประชาชนไม่เอาด้วย
ตามที่สถาบันทิศทางไทยและผม ได้นำเสนอ วิเคราะห์ให้เห็นแง่มุมว่าทำไมคณะก้าวหน้า และทอน บุด ช่อ ถึงตั้งใจในการเลือกตั้งนายก. อบจ. ซึ่งเป็นการบริหารส่วนท้องถิ่นในครั้งนี้อย่างเต็มที่ ก็เพราะคณะก้าวหน้าและทอน บุด ช่อ ต้องการเอาฐานของอบจ. มาเป็นฐานในการเคลื่อนไหว ถ้าชนะการเลือกตั้ง โดยภาพรวมในการเคลื่อนไหวทางการเมือง พวกนี้จะโหมประโคมข่าวทันที ว่านี่คือ ความสำเร็จของเขาที่ยืนหยัดชัดเจนในการเสนอปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ และประชาชนเอาด้วย นอกเหนือจากนั้น ต่อไปในอนาคตก็จะใช้ อบจ. เป็นฐานในการขยับขยายและเคลื่อนตัวลงสู่ประชาชน ทั้งออกไปในรูปแบบของการพัฒนา การยกระดับความคิด เพื่อนำพากระบวนการทางความคิดในการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่สรุปแล้วว่า ข้อเสนอนั้นรุนแรง หมายถึงการล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ลงสู่ประชาชนอย่างมีฐานะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดรองรับ เหมือนกับที่พวกนี้เคยเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองมาก่อน มาตั้งพรรคอนาคตใหม่ขึ้นก้เพื่อต้องการสถานะอย่างเป็นทางการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะในรัฐสภาหรือบนท้องถนน หรือแม้แต่ในระดับต่างประเทศ เพราะมีสถานะทางกฎหมายรองรับ ดังนั้น การพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ต้องถือว่าชัดเจนว่า ประชาชนคนไทยให้บทเรียนกับธนาธร
แต่ในระหว่างที่สังคมไทยกำลังจับจ้องไปที่ผลการเลือกตั้ง ความพ่ายแพ้ของคณะก้าวหน้าและทอน บุด ช่อ ปรากฎว่า พรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่ง ซึ่งต้องถือว่าแตกยับไปเหมือนกันในครั้งนี้ นั่นก็คือ พรรคเพื่อไทย บอกได้เลยว่า พรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งนายกฯอบจ.ในครั้งนี้ ล้มเหลว ความล้มเหลวที่ว่า ก็มาจากเรื่องเดียวกันกับเรื่องของธนาธร เพราะคนไทยทนไม่ไหว ออกมาหนุนม็อบล้มเจ้าอย่างเต็มที่ โดยไม่มีเหตุไม่มีผล นับตั้งแต่ม็อบปลดแอก ออกมาเคลื่อนไหว พรรคเพื่อไทยอ้าแขนรับ ขยายผลทั้งในแง่ความหมายของคำว่าคุกคามประชาชน ทั้งๆที่เด็กเหล่านี้กระทำผิดกฎหมาย และการทำผิดกฎหมายนั้น ส่วนหนึ่งรุนแรง ถึงขั้นจาบจ้วง ล่วงละเมิดสถาบัน ซึ่งผิดมาตรา 112 แต่พรรคเพื่อไทยไม่สนใจ
เริ่มจากที่สนับสนุนมาตอนยุคแรกๆ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ออกมาโหนม็อบ 10 สิงหาคม ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต ซึ่งเป้นวันแรกในการเสนอ 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน และแกนนำม็อบได้ออกมายอมรับว่า 10 ข้อเสนอนั้น ได้โพยมาจากสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ยัดใส่มือก่อนขึ้นเวที หลังจากนั้น ก็นำพาไปสู่การชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 19 กันยายน พรรคเพื่อไทยไปตั้งเต้นท์บอกว่าจะสังเกตการณ์ แต่ในความหมายก็เพื่อที่จะไปขยายผล ปรากฎว่าวันนั้น ม็อบก็เจ๊งไม่เป็นท่า มีคนมาชุมนุม 20,000 กว่าคน พรรคเพื่อไทยรีบเก็บเต้นท์กลับทันที
หลังจากนั้น อีก 5 วันถัดมา เมื่อมีกรณีกราบสะท้านแผ่นดินของ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร และเกิดการเปลี่ยนแปลงในพรรคเพื่อไทย ผู้คนก็พากันดีอกดีใจว่า กราบของคุณหญิงพจมาน เป็นกราบสะท้านแผ่นดิน เป็นการกราบที่จะทำให้พรรคเพื่อไทย หยุดบทบาทที่จะไปสนับสนุนม็อบ แต่กลับยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น แม้ขนาดที่ม็อบไปปิดล้อมขบวนเสด็จของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในวันที่ 14 ตุลาคม ด้วยความจงใจ พรคคเพื่อไทยก็ยังไปสนับสนุน จนมาถึงปัจจุบัน แม้จะยิ่งรุนแรง ข้อเสนอ หรือการกระทำที่ม็อบกระทำโดยการพ่นสี ด้วยการกระทำเลวร้ายต่างๆ พรรคเพื่อไทยไม่แยแสในพฤติกรรมดังกล่าว ยังเดินหน้าสนับสนุนม็อบ
ผลการเลือกตั้งเจ๊งไม่เป็นท่า สำหรับพรรคเพื่อไทย ส่งทั้งสิ้น 25 จังหวัด เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ภาคเหนือ 6 จังหวัด และภาคกลาง 9 จังหวัด เน้นให้เห็นว่า นี่เป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทย ไม่ส่งภาคใต้ เพราะรู้อยู่แล้วว่า ล้มเหลว สส. ก็ล้มเหลว คนใต้เขาไม่เอา มาดูกันว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีจังหวัด 20 จังหวัด เราต้องยอมรับว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ของพรรคเพื่อไทย กวาดเรียบมาตลอด สส.กวาดมาเป็นร้อย การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ไป 84 ที่นั่ง มี 20 จังหวัด เพื่อไทยส่ง 10 จังหวัด ได้ 3 จังหวัด ได้ที่ อุดรธานี อุบลราชธานี มุกดาหาร อีก 7 จัวหวัด เจ๊งไม่เป็นท่า ประกอบไปด้วย ชัยภูมิ มหาสารคาม หนองคาย หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ นครพนม ยโสธร ส่ง 10 จังหวัดได้แค่ 3 จังหวัด ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด ส่ง 6 จังหวัด พื้นที่ของทักษิณ ได้ไป 5 จังหวัด คนอาจจะจับตากันที่เชียงใหม่ แต่ 5 จังหวัดที่ได้ ถ้าดูรายชื่อแล้วจะเห็นว่า เชียงใหม่ สว.ก๊อง ต้องมาออกแรงทั้งพี่ทั้งน้อง อดีตนายกฯ คนหนีคดี ลำพูน อนุสรณ์ วงศ์วรรณ ไม่ได้เป็นเรื่องแปลก น่าน นพรัตน์ ถาวงค์ นี่ก็ชัดเจน ลำปาง นส.ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นามสกุลนี้รับประกันว่ายังไงต้องได้ แพร่ อนุวัธ วงศ์วรรณ ก็ต้องได้ ตระกูลวงศ์วรรณ ในภาคเหนือไม่ธรรมดา แต่อีกจังหวัดที่ไม่ได้ก็ต้องถือว่า หน้าแหกเหมือนกัน ก็คือจ.เชียงราย นส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ ตระกูลที่คุมอำนาจทางการเมืองในเชียงรายมาโดยตลอด ไม่ได้ อีกภาคหนึ่งก็คือ ภาคกลาง ส่งทั้งสิ้น 9 คน ปรากฏว่าไม่ได้เลยสักจังหวัด จะบอกว่าภาคกลางเพื่อไทยไม่มีอิทธิพล ไม่มีสส. ภาคกลางพรรคเพื่อไทยมีสส.อยู่ 17 ที่นั่ง ไม่ธรรมดา ในพื้นที่ทั้งหมด พิจารณาในภาพรวมแล้ว ก็ถือว่าล้มเหลว ถือว่าเจ๊งไม่เป็นท่า
ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรค ที่ว่ากันว่า คุณหญิงพจมานเลือกมาเองกับมือ แถลงบอกว่า การเลือกตั้งในวันนี้ ส่ง 25 จังหวัด ชนะ 9 จังหวัด ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่ายิ่ง เพราะได้ถึง 40% เป็นคำปลอบใจ อยากจะฝากไปถึงพรรคเพื่อไทยว่า วันนี้จงยอมรับเถอะว่า กำลังเดินเข้าสู่จุดตกอับ การลาออกไปของสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และพรรคพวก อย่าคิดว่าไม่กระเทือน ผลการเลือกตั้งนายกฯอบจ.จะต้องสรุปเป็นบทเรียน ว่าถ้ายังเดินเส้นทางการสนับสนุนม็อบที่ต้องการล้มสถาบันต่อไป พรรคเพื่อไทยจะถูกกวาดไปจากเวทีการเมืองอย่างแน่นอน