รายงานพิเศษ Ep.3 อ่านชัด ๆ คำสั่งคสช. ระงับเหมืองทองฯป้องประชาชน ที่แท้โดนการเมืองบิดเบือนโจมตี

0

ต้องยอมรับว่ากรณีข้อพิพาทเรื่องเหมืองแร่ทองคำ ระหว่างรัฐบาลไทยกับ บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เป็นประเด็นปัญหาที่มีขั้นตอนสลับซับซ้อน

ด้วยเพราะการทำหน้าที่ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคสช. ในการปกป้องคุณภาพชีวิตประชาชน ได้กลายเป็นประเด็นขัดแย้งทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย และกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเต็มรูปแบบ

(คลิกอ่านข่าวประกอบ : รายงานพิเศษ Ep.2 เปิดความจริง คุณภาพชีวิตชาวพิจิตร ย้อนถามกลับเพื่อไทย ทำไมต้องค้านนายกฯตู่ปิดเหมืองทองอัคราฯ)

ต่อเนื่องด้วยประเด็นว่าด้วยคำสั่งคสช. ที่วันนี้ถูกบิดเบือนจากข้อเท็จจริงเดิมอย่างสิ้นเชิง และถ้าภาคการเมืองยังไม่หยุดกระสิ่งเหล่านี้ ก็จะยิ่งเข้าทางกลุ่มทุนต่างชาติ ในการเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลไทยอย่างแน่นอน

โดยประเด็นที่ 4.ว่าด้วยข้อเท็จจริง ท่ามกลางปมปัญหาทั้งกระแสคัดค้าน และสนับสนุนเหมืองแร่ทองคำ บริษัทอัคราไมนิ่ง บนภาวะความเสี่ยงต่อสุขภาพประชาชน ส่งผลให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2559 ออกเป็นคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 72/2559 เรื่องการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 กำหนดมาตรการในการป้องกันและระงับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โครงการเหมืองแร่ทองคำ รวมทั้งกำหนดมาตรการฟื้นฟูผลกระทบ

กำหนดสาระสำคัญว่าด้วยการสั่งระงับการอนุญาตให้สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ และการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคำไว้ ส่วนผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่าง ๆ ไปแล้ว ให้ระงับการประกอบกิจการไว้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2560 เป็นต้นไป โดยผู้ประกอบการยังคงมีหน้าที่ในการฟื้นฟูพื้นที่ ตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ทั้งนี้จนกว่าคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติจะมีมติอื่น

นอกจากนี้ สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กำกับดูแลการฟื้นฟูพื้นที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กระทรวงแรงงาน (รง.) ดูแลพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการระงับการประกอบกิจการ โดย อก. ทส. สธ. และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) จะต้องตรวจสอบ วิเคราะห์ และวินิจฉัยข้อเท็จจริงและปัญหา พร้อมทั้งเสนอมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ

ขณะเดียวกันระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ที่กระทำตามอำนาจหน้าที่โดยสุจริต จะได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย แต่ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ และในกรณีเห็นสมควร นายกรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง อาจเสนอให้ คสช.แก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้

5. ถึงแม้จะเป็นคำสั่งว่าด้วยการระงับเพื่อดำเนินการกำหนดมาตรการตรวจสอบ ป้องกัน ผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน แต่สิ่งที่เห็นได้ทางการเมืองปัจจุบัน ก็คือ การนำประเด็นดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือโจมตี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินงบประมาณในปี 2564 ที่ถูกเสนอนำมาใช้วงเงิน 111,115,700 บาท โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อดำเนินการระงับข้อพิพาทระหว่างไทยกับ บริษัท คิงส์เกต คอนโซดิเดเต็ด ลิมิเต็ด เอกชนสัญชาติออสเตรเลีย วงเงิน 111,115,700 บาท และกรรมาธิการพรรคฝ่ายค้าน พยายามทุกวิถีทางในการตัดทิ้งงบประมาณดังกล่าว