โฆษกกองทัพเรือ ชี้ ยุทธพงศ์ ให้เข้าใจปม G To G เรือดำน้ำในศาล

0

พล.ร.ท.ประชาชาติ ศรีสวัสดิ์ โฆษกกองทัพเรือ ชี้ ยุทธพงศ์ จะได้เข้าใจปม G To G เรือดำน้ำในศาล

จากกรณีที่ พล.ร.ท.ประชาชาติ ศรีสวัสดิ์ โฆษกกองทัพเรือ (ทร.) ได้เปิดเผยว่า พล.ร.อ.ชาติชาย ศรีวรขาร ผช.ผบ.ทร. มอบหมายกรมพระธรรมนูญ กองทัพเรือ แจ้งความดำเนินคดีต่อนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคราม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

กรณีให้ข้อมูลบิดเบือน การจัดทำสัญญาจีทูจีซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ จนทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย ต่อการปฏิบัติงานของกองทัพเรือ จึงส่งเจ้าหน้าที่ไปร้องทุกข์กล่าวโทษในข้อหาหมิ่นประมาท

พลเรือโท ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสธ.ทร. และ โฆษกกองทัพเรือ กล่าวถึงการที่ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร สส.เพื่อไทย ยังยืนยันว่า สัญญาซื้อเรือดำน้ำลำแรก กับ CSOC จีน เป็น G to G เก๊ และจะฟ้อง ปปช. ทั้ง ผบ.ทร. พลเอกประวิตร และ พลเอกประยุทธ์ ตอบโต้ ที่ ผบ.ทร.สั่งฟ้องหมิ้นประมาท ว่า คนเขาไม่รู้ เรื่องนี้ ไม่สามารถนำมาเทียบกับ การซื้อเรือดับเพลิง ของ กทม. ที่ นายยุทธพงศ์ ระบุถึงได้ เพราะนี่เป็นการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ อาวุธเชิงยุทธศาสตร์ ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ที่มีกฏระเบียบทางราชการของ กระทรวงการต่างประเทศ และ สำนักอัยการสูงสุด และ กลาโหม ต้องผ่านหลายขั้นตอน กว่าเขาจะอนุมัติให้ ทร. ไป ดำเนินการเซ็นสัญญาได้
“นั่นเป็น ความเข้าใจไปเอง ของเขา คือ ปัญหาของเขาเอง เพราะ นี่มันเป็นการ ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ มันมีขั้นตอนของมัน ไม่ใช่ซื้อของปกติ การจัดซื้อจ้างยุทโธปกรณ์ มีข้อกำหนดกฏหมายนานาชาติ ด้วย ให้เขาไปรู้ในศาล แล้วกัน” โฆษกกองทัพเรือ.ระบุ
ทั้งนี้ กองทัพเรือได้แถลงชี้แจง ไปเมื่อ 24 สิงหาคมที่ผ่านมาแล้ว เริ่อง บริษัท CSOC ที่เป็นคู่สัญญาต่อเรือลำน้ำS26T ลำแรก ให้กองทัพเรือ ว่า เป็น บริษัท ที่อยู่ในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกลาโหมจีน
และเป็นการต่อเรือดำน้ำ ซึ่งเป็น อาวุธทางยุทธศาสตร์ ความมั่นคง ที่ต้องเป็นของกลาโหมจีน โดยรัฐบาลไทยได้ มอบอำนาจในการลงนามในข้อตกลงของรัฐบาลไทย ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2560 โดยอนุมัติให้ ผบ.ทร.ในขณะนั้น เป็นผู้แทนไปลงนามระหว่างรัฐบาล
หลังจากนั้น ผบ.ทร. ได้มอบอำนาจให้ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะประธานกรรมการโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ในขณะนั้น เป็นผู้แทน ผบ.ทร.ไปลงนามในข้อตกลงบริษัทที่ต่อเรือCSOC ได้รับมอบอำนาจจากหน่วยงานของรัฐบาล ด้านการบริหารงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและส่งออกอาวุธ (SASTIND) เป็นผู้แทนรัฐบาลมาลงนามในสัญญากับไทย เพราะเป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกลาโหมจีน คนที่มาลงนามในนามของ CSOC ได้รับมอบอำนาจอย่างชัดเจน จากจีน
ขอบคุณข้อมูลจาก : Wassana Nanuam