ถือเป็นอีกย่างก้าวสำคัญสำหรับอนาคตประเทศ ล่าสุด คนไทยทั้งประเทศได้มีโอกาสสัมผัสงาน “FIRST MOVE ทิศทางไทย” ซึ่งเป็นการเปิดตัวสถาบันทิศทางไทย โดยมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลก” จาก“ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา” ฐานะนายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ดร.จิรายุ กล่าวปาฐกถาระบุว่า สิ่งแรกที่จะของพูดถึงคือ การพัฒนาประเทศไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลก สิ่งที่สองเริ่มต้นจากหัวแรกคือภูมิรัฐศาสตร์ประเทศไทยหลังจากนั้นจะพูดถึงการพัฒนาประเทศไทย หัวข้ออดีต อนาคต ปัจจุบัน
เรื่องภูมิรัฐศาสตร์เราจะเห็นได้ว่าประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศขนาดกลาง แต่เราต้องอยู่ในโลก เผชิญปัญหาที่มาของโลก และเราต้องสามารถทำในสิ่งที่เป็นวิสัยที่เราสามารถทำได้ ภายใต้ปัญหาที่มากับโลก หรือศักยภาพที่โลกให้กับเรา ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้ว่าสถานฐานะเราเป็นอย่างไร และเราจำเป็นต้องรู้ว่าศักยภาพของตัวเราเองเมื่อเทียบกับคนอื่นใน สังคมโลก เปรียบเทียบง่ายๆ ในเรื่องขนาด เราเปรียบเทียบตัวเราเองกับ รัสเซีย จีน แคนาดา สหรัฐอเมริกา คือประเทศที่ใหญ่ รัสเซียใหญ่ที่สุด ประมาณ 17ล้านตรารางกิโลเมตร รองลงมาก็เป็นแคนาดา เล็กลงมาเกือบครึ่ง9,985,000 ตารางกิโลเมตร สหรัฐอเมริกา 9,834,000 ตารางกิโลเมตร จีน 9,597,000ตารางกิโลเมตร ของไทยเพียง 513,120ตารางกิโลเมตร ทำให้เป็นประเทศขนาดกลางในแง่ของพื้นที่ แต่เราก็ไม่ใช่ประเทศที่เล็กที่สุด ฮังการีเล็กกว่าเราตั้งเกือบ5เท่า แต่เป็นประเทศที่มีความสำคัญในยุโรป สามารถพัฒนาต่อสู้มา ซึ่งในประวัติศาสตร์เคยถูกมองโกล รุกราน ฆ่าประชาชนตายไปหลายแสนคน แต่ก็ฟื้นขึ้นมา และตอนนี้ก็มีบทบาทค่อนข้างสำคัญ พอมาใกล้ๆตัวอย่างสิงคโปร์ ซึ่งเล็กกว่าฮังการี แต่เราก็ให้บทบาทของสิงคโปร์เขาสูง ว่าเขามั่งคั่ง ประสบความสำเร็จในการพัฒนา จะเห็นได้ว่าเราต้องดูสถานะฐานของเรา มองในแง่ขนาดของประเทศ เพราะฉะนั้นเริ่มต้นในแง่ ภูมิรัฐศาสตร์เราก็จะเห็นได้ว่าประเทศเรามีเท่านี้ เมื่อเทียบกับอีกร้อยกว่าประเทศทั่วโลก
ในแง่ของประชากรของไทยตอนนี้ 69ล้านคน แต่ถ้าไปเทียบของจีน ประชากรของประเทศไทย เท่ากับหนึ่งมณฑล ของจีนเท่านั้นเอง ซึ่งพลเมืองมากเขามากกว่าเรา และยังขยายตัวต่อไปอีก แต่เราเริ่มจะเป็นสังคมสูงอายุและเริ่มจะหดตัวลงแล้ว จาก69ล้านคน จะเหลือ62ล้านคน ซึ่งเป็น62ล้านคนที่มีคนแก่มากขึ้น ตามสัดส่วน นี่เป็นสถานการณ์ของภูมิรัฐศาสตร์ของไทย แต่โชคดีที่เชิญมาวันนี้(4พ.ย.62) ตรงกับวันประชุมอาเซียนที่เราเป็นประธาน เราได้ ร่วมเข้ากลุ่มอาเซียน กลายเป็นประเทศที่มีความสำคัญ เชิญมหาอำนาจของโลกมาร่วมการประชุมได้ เป็นบรรยากาศสดๆร้อนๆที่เรามีอยู่ ณ ขณะนี้ เพราะฉะนั้นนี่คือสภาพที่ตนได้ชักชวนให้ผู้มีเกียรติทั้งหลายเข้ามาร่วมกัน มีความรู้สึกอันหนึ่งเดียวกัน เราอยู่ในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นเช่นนี้ ขนาดประเทศไทยเป็นอย่างนี้ เทียบกับมหาอำนาจของโลกและสังคมโลกเป็นอย่างนี้
สิ่งที่ตนได้ประโยชน์จากความเป็นปัจจุบัน ขณะนี้ ตนจะชอบอ่านบทความในไทยรัฐหน้า3 ทุกวันอาทิตย์ เพราะตนจะได้รับการวิเคราะห์ที่ดี ว่าเหตุการณ์ประเทศไทยเป็นอย่างไรในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา และสิ่งที่เป็นอยู่ เป็นอย่างไร ตนขอนำเอาบางส่วนของบทความดังกล่าว มาเป็นอารัมภบทในสิ่งที่จะพูด เขาบอกว่า “จุดที่เป็นมุมบวกของประเทศไทยเต็มๆ อยู่ในวิสัยที่จะต้องเดินหมากประคองเกมถ่วงดุลมหาอำนาจโลก เลือกจุดที่ส่งผลดีต่อประเทศไทยให้ได้มากที่สุด เงื่อนไขการเมืองโลกได้ผูกโยงกับการเมืองในประเทศไทยอย่างที่แยกไม่ออก ข้างนอกกระแทกข้างใน ข้างในกระชอกออกไปข้างนอก ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยหืดขึ้นคอ จากสงครามการค้า บวกกับภาวะเทคโนโลยีดิสรัปชั่น โหลดน้ำหนัก เพิ่มความยากในการแก้โจทย์ ให้หนักไปกันใหญ่ มันจึงอยู่ที่จิตใต้สำนึกของนักการเมืองไทย ในสถานการณ์แหลมคมในโลกใน ขณะนี้ มันอันตรายเกินกว่าจะลากเอาปัญหาต่าง ๆ มาเป็นประเด็นของการเมืองป่วนดีกรี ระอุในประเทศ” นี่คือสิ่งที่ปรากฏอยู่ในบทความ ซึ่งตนคิดว่าให้สติกับเรา ซึ่งกำลังอยู่ในสภาวะต่าง ๆ นาๆ ต้องรวมใจกัน เอาจุดบวกที่สุดมาใช้สำหรับประเทศไทย สำหรับจุดบวกที่ให้สติกับเรา จะเข้ามาสู่หัวข้อ “ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลก”
สำหรับหัวข้อที่สองขอเริ่มตั้งสติ โดย ส.ค.ส.พระราชทานในปีพ.ศ.2535 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ท่านได้เล่น “พรุ่งของวาน วานของพรุ่ง พรุ่งทั้งวาน ” และมีข้อความว่า พรุ่งของวานก็ทำให้ดี วานของพรุ่งก็ทำให้ดี ทั้งพรุ่งทั้งวานทำให้ดีหมด แต่พรุ่งของวานก็คือวานนี้ วานของพรุ่งก็คือวานนี้ ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ทั้งพรุ่งทั้งวาน ก็ทำให้ดี คือต้องอยู่ในปัจจุบัน แต่ไม่ลืมอดีต และไม่ต้องไม่ลืมนึกถึงอนาคตด้วย ก็เป็นเรื่องต้องดู เราต้องอยู่ในปัจจุบัน จะไปอยู่ในอดีตก็ไม่ได้ จะไปอยู่ในอนาคตตลอดเวลาก็ไม่ได้
เริ่มต้นดูอดีต ความโดดเด่นของรัฐไทยใน800ปีที่ผ่านมา
1 บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์
2 ความเป็นเอกราชจากเมืองขึ้น
2สิ่งนี้คือความโดดเด่นที่สุด หากจะพูดเรื่องนี้ก็คงไม่จบ แต่ขอแนะนำหนังสือดีเล่มหนึ่งออกมา เป็นหนังสือที่ต้องอ่าน นั้นก็คือ “หนังสือวิวัฒน์รัตนโกสินทร์” ของพลโท นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ถ้าอยากจะรู้เกี่ยวกับเรื่องอดีตของไทยในช่วงที่มีความสำคัญและความเข้มข้นต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ ตนอยากจะยืนยันการที่เราจะสามารถหาคำตอบที่ถูกต้องในโจทย์อันท้าทายทั้งหลายเราต้องหาความจริงออกมาให้ได้ และความจริงต้องอ้างอิงได้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่คนเขียนรวบร่วมมาได้อย่างดีจริง ๆ และสมควรที่จะเป็นหนังสืออ้างอิงเล่มหนึ่งที่วางไว้บนโต๊ะอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ไทย จะทำให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง
เรื่องของอนาคต สิ่งที่อยากจะนำเสนอ ในเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทย ขออ้างอิงถึงยุทธศาสตร์ 20ปี และเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ซึ่ง20ปี หลายคนเริ่มบ่นและวิพากษ์วิจารณ์กันว่า ใครจะเก่งพอ ที่จะไปคาดคะเน 20 ปีในอนาคตได้ พูดอะไรไปก็ผิดทั้งนั้น เพราะการเปลี่ยนแปลงมันมากมายเกินกว่าที่ใครจะมองเห็น แต่ว่าถ้าเราไม่พยายามทำ การพัฒนาก็จะสะเปะสะปะ เพราะฉะนั้นการมียุทธศาสตร์เป็นหลักกว้างๆ คิดว่าโดยส่วนใหญ่จะเห็นด้วยในหลักการใหญ่ๆ แต่อย่าไปยึดมั่นในรายละเอียนจะต้องถูก เพราะมันจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการดูอนาคตตลอดเวลา แต่ในยุทธศาสตร์20ปี หลักการใหญ่ๆ คือ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ยั่งยืน นี่คือหลักใหญ่ๆของวิสัยทัศน์20ปี ที่เราควรจะมีความคิดเห็นร่วมกันในการที่จะนำไปสู่จุด หรือเป้าหมายเหล่านี้ พร้อม ๆ กัน
ดร.จิรายุ กล่าวถึงสิ่งที่ตนมีความยินดี ที่ดีเห็นพาดหัวข่าวว่า เลขาธิการสหประชาชาติพบกับนายกรัฐมนตรี เลขายูเอ็นชมประเทศไทย ในเรื่องที่ประเทศไทยเอาจริงเอาจังในเรื่องที่จะทำให้ประเทศไทยก้าวหน้า พัฒนาอย่างยั่งยืนโดยยึดหัวข้อ 17 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือที่เรียกว่า SDGs ซึ่งสหประชาชาติต้องถือว่านี่คือโลก เราไปรับเอาเป้าหมาย17เป้าหมายมา และผนวกเข้าสิ่งที่เป็นเป้าหมายของเราทีเป็นวิสัยทัศน์ 20ปียุทธศาสตร์ชาติ สอดคล้องกับเป้าหมายโลก เลขายูเอ็นรับรู้ ซึ่งเราไม่ได้ก้มหน้าก้มตา พัฒนา หรือมียุทธศาสตร์ชาติ 20ปีของเราโดยหลับหูหลับตาไม่มองโลก ซึ่งเป็นมิติ4มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม 17เป้าหมายและเขาจะดูไปทุก ๆ ปี ซึ่งล่าสุดประเทศไทย ในร้อยกว่าประเทศทั่วโลก อยู่ในอันดับที่ 40 ของผู้ซึ่งเข้าไปพยายามบรรลุ17เป้าหมาย นั้นก็หมายความว่า หากเรามุ่งมั่นที่จะก้าวหน้าต่อไปพอไปสิ้นสุดของระยะเวลา11ปีต่อจากนี้ หรือค.ศ. 2030 สหประชาชาติจะดำเนินต่อเนื่องไปเลื่อยๆ โลกทั้งโลกจะมุ่งไปบรรลุเป้าหมายทั้ง 17 เราอาจจะขึ้นติดอันดับ Top ten ก็เป็นไปได้ การที่เรามีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมาย ก็จะทำให้เราดีขึ้นไปเลื่อยๆ ซึ่งตนอยากเสนอสถาบันทิศทางไทย ขอให้เอาเรื่องนี้ไปดูกันอย่างจริงจังด้วยว่า เราจะบรรลุเป้าหมายของประเทศไทยเอง ซึ่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในขณะเดียวกันก็ไปพร้อมกับโลกด้วยในเป้าหมายเหล่านี้
สำหรับเรื่องปัจจุบัน การพัฒนาประเทศไทยเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนตัวค่อนข้างยินดีการนำเสนอของสถาบันทิศทางไทย สอดคล้องกับสิ่งที่เตรียมมาพูด ประการแรกว่า การบริหารปกครองของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจะใช้เอกลักษณ์ของรัฐไทย ก็คือการปกครองที่มีบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ นี้คือสิ่งที่เป็นปัจจุบัน เป็นการปกครองที่แบ่งเป็นสามด้าน คือการบริหารภายใต้รัฐบาล ส่วนหนึ่งเป็นทางด้านของรัฐบาลที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาประเทศให้ได้ ในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ต้องอาศัยเรื่องของการออกกฎหมายและการควบคุมการบริหารผ่านรัฐสภา ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนที่สอง คือรัฐสภา และส่วนที่สามคือการให้เกิดความเป็นธรรมโดยกฎหมาย การทำให้เกิดความยุติธรรมโดยผ่านศาล ทั้งสามด้าน เราก็ควรยึดมั่น ในปัจจุบันของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่อยู่สุงสุดแต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ใช้อำนาจโดยที่ประชาชนมีบทบาทผ่านการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งได้มาภายใต้รัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายในสภาอย่างเหมาะสม และเราจะเห็นว่ามีคดีความมากมาย ซึ่งเราให้ความเคารพกับระบบของศาล ก็ควรจะสนับสนุน เราไม่ได้บอกว่าทั้งสามส่วนทำงานอย่างดีเลิศร้อยเปอร์เซ็นแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ต้องไปช่วยกันปรับปรุงให้ดีขึ้นมา แต่ไม่ใช่โดยการทำลายองค์กรหนึ่งองค์กรใดให้เปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน วิธีก็คือใช้ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบันปรับปรุงให้ดีขึ้น และยอมรับและเคารพในองค์กรแต่ละองค์กรให้ทำหน้าที่ และบทบาท
ถ้าไปดูในบริบทของโลกในปัจจุบัน และยิ่งมีการประชุมอาเซียนที่เราได้สัมผัสได้จากเหตุการณ์ตอนนี้ เราก็จะเห็นได้ว่าสำหรับอนาคต มีสิ่งที่น่าสนใจในแง่ของภูมิศาสตร์ เราอยู่ในฐานะที่ดีมาก ถ้าเราเทียบกับประเทศหลายๆประเทศๆ ทั้งในกลุ่มอาเซียน หรือที่ไหนก็ตาม เราเป็นประเทศที่มีสถานะที่ตั้งที่เหมาะสมที่จะพัฒนาสิ่งที่เรียกว่าเป็น North-South Corridor , East-West Corridor , Southern Corridor มีโครงการหลายโครงการโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับคมนาคม ที่จะทำให้เราได้รับประโยชน์การพัฒนาในอนาคต ในฐานะที่เราเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมทางบก เราได้เห็นว่าเรามีศักยภาพตรงนี้ และการที่เราไปรวมกลุ่มอยู่ในอาเซียน การที่เราไปรวมกลุ่มอยู่ในสหประชาชาติ เราได้มีบทบาทเคยไปเป็นประธานของกลุ่ม77ในสหประชาชาติ กำลังจะสร้างกลุ่มที่เรียกว่า RCEP กลุ่มความร่วมมือทางแม่น้ำโขง หลายๆกลุ่มที่เราเข้าไปรวมกลุ่ม แสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้เป็นประเทศที่รู้สึกว่าเราเป็นเอกราช เพราะฉะนั้นจะเดินหน้าไปคนเดียว เราร่วมกลุ่มเพื่อสร้างพลังสู้กับประเทศใหญ่อื่น ๆ ในโลก การที่เขามาประชุมกับเราที่นี่ เพราะว่าเขาเห็นว่าเราร่วมกลุ่ม เขาถึงได้เชื่อว่าเราจะสามารถเป็นผู้นำหรือว่ามีบทบาทสำคัญได้ เพราะฉะนั้นการ่วมกลุ่มของเราเหมาะสมแล้วที่เราจะเดินหน้าในทิศทางนี้
แต่ทั้งหมดเหมือนกับว่าตนมามองในแง่บวก และเสนอแนะว่าสถาบันทิศทางไทยก็ควรจะมองในแง่บวกด้วย ว่าถ้าเราแก้ปัญหาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้พลเมืองของเราได้รวมตัวกันมีพลังที่จะเดินหน้าในทิศทางที่ถูกต้อง เรามีศักยภาพที่จะทำอะไรดี ๆ ให้กับประเทศเราได้แน่นอน ซึ่งตนได้เคยมีโอกาสในอดีตลงมาวิเคราะห์ มีข้อสรุปที่ตรงกันกับสถาบันทิศทางไทย ก็คือประเทศได้ก้าวหน้ามาเยอะ ตนเคยได้เข้าไปศึกษาปัญหาและทิศทางของประเทศไทยในปัจจุบัน มาจบลงเมื่อ4-5ปีที่แล้ว ซึ่งยังพอใช้ได้ในปัจจุบัน ก็คือว่าได้เคยไปศึกษาว่าธนาคารโลก เขาบอกว่ามี13ประเทศในโลกเท่านั้นที่ได้ก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ถ้าดูตามGDP จะมีชาวงที่ตกต่ำไป เมื่อปี2540 วิกฤตต้มยำกุ้ง แต่นอกนั้นGDPก้าวหน้ามาด้วยดีตลอด ธนาคารโลกเขาศึกษามี13ประเทศเท่านั้นที่มีความเจริญก้าวหน้า มองในแง่ของการเจริญเติบโตจ้อง GDP นี่คือข่าวดี แต่ข่าวร้ายก็มีเหมือนกัน ทั้ง ๆที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ แต่เรามีปัญหาใหญ่ ซึ่งทั้งปัญหานี้ก็ยังอยู่กับเราอยู่ 1ปัญหาความเหลื่อมล้ำ 2ปัญหาสิ่งแวดล้อม 3ปัญหาความเสื่อมทางจริยธรรมของผู้คน ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ได้ค้นพบไป4-5ปีที่แล้ว ในขณะนี้ ตนก็คิดว่าเรายังไม่ได้แก้ปัญหาเหล่านี้อย่างแท้จริงเพราะฉะนั้นจะมองแต่ด้านดีไม่ได้ เราต้องแก้ปัญหาที่เป็นปัญหาจะทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของสังคมที่ดีได้
พื้นที่ประเทศในปีในค.ศ.1945 ยังมีพื้นที่สีเขียวอยู่เป็นจำนวนมาก พอค.ศ.2014 ช่วงนั้นGDPเพิ่มขึ้นมา แต่ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมลงไปเป็นจำนวนมาก พร้อม ๆกับความเสื่อมทางจริยธรรม คนก็อยากรวยมาก เพราะเกิดนิสัยที่คุ้นเคยกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ทางใจไม่ได้เจริญเติบโตด้วย จึงเป็นปัญหาที่น่ากลัวอยู่ เพราะฉะนั้นนึกกลับไป แล้วจะทำอย่างไรในปัญหานี้
ประเด็นคงคล้ายกับสถาบันทิศทางไทย อย่างที่คุณสนธิญาณ และคณะ คิดว่ามีปัญหาแล้วจะทำอย่างไร เกิดเป็นองค์กรขึ้นมา คือสถาบันทิศทางไทย เพื่อที่จะไปให้ความรู้ รณรงค์ ให้คนอย่าไปเผลอเรอ อยู่สุขสบาย ไม่คิดแก้ปัญหา เมื่อ4-5ปีที่แล้ว ตนคิดแบบนี้เช่นกัน แต่ได้ไปพึงสถาบันและองค์กรหนึ่ง ซึ่งหวังอย่างยิ่งว่าในที่สุดเราจะเป็นพันธมิตรกันได้ สิ่งที่ตนนึกถึง ไปพึงและปัจจุบันยังผูกพันอยู่ คือที่นิด้า สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ต้องมีองค์กรที่จะมาคิด มาดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา ถามว่า สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จึงมีบทบาทเรื่องนี้ได้
นึกกลับไปถึงว่า สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ท่านเป็นผู้ทรงก่อตั้ง (ตนยังยินดีว่ามาเยี่ยมที่นี่ คุณสนธิญาณยังไม่ลืม ที่นี่พระบรมรูปรัชกาลที่9 ตั้งอยู่) เมื่อท่านตั้งสำเร็จเมื่อ50ปีที่ผ่านมา ท่านเสด็จไปพระราชทานปริญญาบัตร บัณฑิตรุ่นแรกเพียงหนเดียว คือเมื่อปี พ.ศ. 2513 แล้วท่านรับสั่งไว้ กับบัณฑิตขณะนั้น สรุปที่สำคัญ ท่านตั้งสถาบันแห่งนี้ขึ้นมาด้วยความคิด ว่าจะให้สถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้ความรู้ และผลิตคนเพื่อไปพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้นคนที่ออกมาจากสถาบันนี้ ท่านบอกว่าเป็นความหวังของคนไทยทั้งชาติและของข้าพเจ้าด้วย ในคำว่า ของข้าพเจ้าด้วย ซึ่งตนยังไม่เคยเห็นที่อื่นนอกจากที่นี่เท่านั้น ดังนั้นคนที่ไปเรียน และจบที่นิด้า ต้องนึกถึงเรื่องนี้ไว้ “เป็นความหวังของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9”
นำมาเล่าให้ฟังด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าเราคิดให้เรื่องของการพัฒนาประเทศ ต้องมีองค์กร คนหนึ่งคนใดทำไม่ได้ องค์กรจะมีความต่อเนื่อง จะมีการระดมมาทำงานและจะสามารถผลิตบทบาทตรงนี้ได้มาก และก็ต้องนึกถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ผู้ทรงก่อตั้งนิด้า ขึ้นมา นอกเหนือจากนี้ตนมีความเชื่อมั่นสูงในปัจจุบัน นิด้าจะต้องทำสิ่งนี้ให้ได้ และขอกล่าวถึงพระปฐมบรม ราชโองการ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่10
รัชกาลที่ 9ทรงมีพระราชดำรัส ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เราได้เห็นแล้วว่าสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทที่โดดเด่นมาตลอด ในประวัติศาสตร์ของเรา และนี่คือ พระปฐมบรม ราชโองการ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ท่านทำมาตลอดรัชกาลของท่าน และในรัชกาลที่10 เมื่อวันที่4 พฤษภาคม 2562 ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการท่านก็ต่อเนื่อง “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม ” ซึ่งหมายความจะทำตามพระมหากษัตริย์ อื่น ๆ ที่ได้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศมา และของรัชกาลที่9ด้วย “เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ต้องยึดเอาไว้ว่าเป็นหลักชัยสำหรับที่ทำงานต่อไป
นอกเหนือจากนั้น ณ ปัจจุบัน นิด้าได้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการบูรณาการของ ศูนย์อาเซียนและศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไว้ด้วยกัน คือต้องมีองค์กรและต้องถือเป็น special live หมายความว่าเป็นศูนย์ที่จะมาทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ
1 วิจัย สิ่งที่น่าเป็นห่วงใน ความสำคัญของโซเชียลมีเดียตอนนี้ เรายอมรับโซเชียลมีเดียมีความสำคัญแต่โซเชียลมีเดียมีจุดอ่อนคือความเร็ว หมายความว่าใครมโนอะไรก็สามารถใส่เข้าไปได้เลย คนมีความรู้เก่งที่สุดใส่เข้าไปมันก็ดี ถ้าใครไม่ค่อยเก่ง มีมโนใส่อะไรเข้าไปก็ไม่รู้ คนก็เชื่อ ถ้าพูดเก่งเสียอย่าง ก็อันตรายเหมือนกัน ตรงนี้ไม่ได้บอกว่าจะมาแก้ปัญหานี้ได้หมดแต่ว่าวิจัยนั้นสำคัญมาก วิจัยคือการให้ผู้มีความรู้ ได้ลงไปศึกษาอย่างค่อนข้างถ่องแท้มาก ๆก่อนที่จะเอามาเผยแพร่เพราะฉะนั้นทำอย่างไรจะเชื่อมวิจัยที่ดีเข้าไปสู่การเอาความรู้นี้ไปแผ่ให้กับพลังที่จะมาเคลื่อนทำให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศให้ได้มากที่สุด
2 การฝึกอบรม แต่สิ่งที่จะมาถ่ายทอดมันต้องของจริงต้องไม่เร็วจนกระทั่งมันฉาบฉวย
3 network ปัญหาทั้งหลายมันเยอะแยะ จนกระทั่งไม่มีใครคนหนึ่งคนใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใดที่จะทำได้หมด มันต้องสามารถสร้างเครือข่าย ในส่วนDisruptive technology ซึ่งเป็นบวกเหมือนกัน เทคโนโลยีพวกนี้ทำให้เครือข่ายเชื่อมโยงกันได้อย่างรวดเร็ว เดี๋ยวนี้ชาวนาใช้มือถือทำอะไรต่าง ๆ เยอะแยะ ผู้นำชุมชนใช้มือถือติดต่อถึงกันและกันได้หมดแล้ว ตรงนี้ต้องใช้ห้เป็นประโยชน์. และอย่าไปคิดว่าตัวเราเองจะสามารถทำอะไรทุกสิ่งทุกอย่างได้เองต้องสร้างเครือข่ายขึ้นมารวมพลังกันให้ได้
4 Gateway สร้างเวทีที่จะสามารถเดินหน้าและผนึกพลังสติปัญญาความคิดของผู้มีความสามารถให้ทำไปร่วมกันให้ได้
นี่คือวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯที่นิด้าจะต้องทำให้ได้ ซึ่งอยากจะเรียนว่า เนื่องจากทำมาหลายปีแล้วคงไม่ได้เริ่มต้นที่ศูนย์ แต่เราก็ไม่ได้อยู่ที่ ร้อยเหมือนกัน. อยู่ที่ราว ๆ 20 หากร่วมกับสถาบันทิศทางไทยอาจจะขึ้นมาเป็น30 ถ้าร่วมมือกับทางคุณสมชายอาจจะขึ้นมาเป็น 40 คือถ้าเราได้รวมตัวกันมากจะยิ่งเพิ่มได้มากและต่อไปในอนาคตความรู้จะยิ่งมากขึ้น กิจกรรมอะไรต่าง ๆ จะยิ่งมากขึ้น ถ้าได้ร่วมกันทำด้วยใจที่เปิดกว้างแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น เถียงกันบ้าง อะไรกันบ้าง แต่ว่าในขณะเดียวกันเดินหน้าไปได้ ทางของเส้นกราฟมันสูงขึ้น ไม่ใช่อยู่ในระนาบหรือตกลงด้วยการที่ทะเลาะเบาะแว้งกัน
เพราะฉะนั้นตอนนี้ตนขอปวารณาแทนทางศูนย์ฯพร้อมจะร่วมมือ กับสถาบันทิศทางไทยในการที่จะมาร่วมกันทำงานและแต่ละคนก็มีเครือข่ายของตัวเองที่จะมาร่วมกัน แต่ขอเรียนว่าเรื่องใหญ่ที่สุดที่เราทำขณะนี้ ยังไม่กล้าที่จะบอกว่ามีคำตอบแต่ว่าเป็นปัญหาในเรื่องใหญ่ๆหลายๆเรื่อง ที่เราอาจต้องทำเพื่อตอบคำถาม เราจะต้องมุ่งมั่นในการหาคำตอบ การขับเคลื่อนประเทศที่จะลดความเหลื่อมล้ำเพราะว่าเดี๋ยวนี้วาทกรรมในเรื่องความเหลื่อมล้ำหรือความสำนึกของคนในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทั้ง2อย่างมันแรงมาก
เราจะต้องหาคำตอบที่เหมาะสม ที่ใช้สติปัญญาใช้วิจัย ใช้การฝึกอบรม ใช้เครือข่ายในการมาตอบคำถามนี้ให้ได้ เราเริ่มต้นจาก เราไม่คิดว่าเราจะแก้ไขปัญหาของประเทศไทยทั้งหมดได้ แต่ว่าเกษตรกรประมาณ หนึ่งล้าน ครอบครัว มีพื้นที่ของตัวเองน้อยกว่า 10 ไร่ เราจะต้องหาคำตอบให้เขาให้ได้ เราจะไม่ทิ้งเขาไว้ข้างหลัง ขณะที่EEC กำลังจะเจริญเป็นรถไฟหัวขบวนโลโคโมทิฟ หัวรถจักรที่จะนำประเทศไทยไปสู่ความเจริญ GDPที่ขยายตัวในอนาคต แต่เราจะไม่ทิ้งคนเหล่านี้ไว้ข้างหลังได้อย่างไร
พอเราเริ่มศึกษาเรื่องนี้คำตอบมันไม่ง่ายเหมือนอย่างที่ปรากฏในโซเชียลมีเดียแน่นอน มันเป็นคำตอบที่ยากแต่เป็นคำตอบที่เราเชื่อว่าเป็นไปได้ เหมือนเพลงคุณเก่ง ธชย “ตราบใดที่หัวใจเต้นอยู่เราจะไม่ยอมแพ้” เพราะฉะนั้นมันทำได้แต่ต้องก้มหน้าก้มตาศึกษาวิจัยให้ดี ทางศูนย์ฯปวารณาว่าต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ได้และหาคำตอบให้ได้แล้วจะต้องกระจายคำตอบนี้และแลกเปลี่ยนความรู้กับเรื่องนี้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จไปแล้วเช่นคนที่ทำโครงการคันนาทองคำ คนพวกนี้คือคนที่เสียสละแทนที่จะปลูกข้าวอย่างเดียวหรือพืชอย่างเดียว คันหน้าทองคำปลูกพืชผักสวนครัว ต้นไม้ ที่มีค่าสูง ซึ่งทางสภากับฝ่ายบริหารรวมตัวกันแก้กฎหมายให้สามารถขาย-ตัดต้นไม้มีค่า ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ทำให้ร่ำรวย มีความมั่งคั่งขึ้นมาได้ อันนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบของส่วนผสมของเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระเจ้าอยู่หัว
เกษตรทฤษฎีใหม่ของพระเจ้าอยู่หัว เมื่อออกมานั้นต้องมีการวิเคราะห์วิจัยไปดูว่าจะประยุกต์ใช้ได้อย่างไรในสถานการณ์ในภาคอีสาน ภาคเหนือในที่ต่าง ๆ และทำอย่างไรถึงจะทำให้ได้ผล เกษตรกรที่มีที่ดิน 10 ไร่ จำนวนล้านครอบครัว ถึงจะค่อยๆก้าวหน้าขึ้นมาได้ นี่คือสิ่งที่พยายามแสวงหาคำตอบ. และเริ่มเห็นแสงสว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่จะต้องรวมตัวขึ้นมาให้เป็นกระบวนการที่จะเกิดความสำเร็จโดยเร็ว ก่อนที่คนกลุ่มนี้ หรือคนอื่นจะมาใช้ประโยชน์จากคนกลุ่มนี้ บอกจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังดูสิทิ้งไว้จนลงทุกวัน ,เห็นไหมดูครัวเรือนสิหนี้สินสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ,พูดว่าGDPขยายตัวรวดเร็วแต่ทำไมหนี้สินถึงสูงขึ้น..
เราจะไปแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไรสำหรับคนจำนวนไม่น้อยของประเทศ ต่างคนต่างมีเป้าหมายในการที่จะต้องไป แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ได้ และเป็นรูปธรรมด้วย ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ทฤษฎีใหม่อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่อย่างที่อาจจะมีคนพูดว่าเป็นวาทกรรมเฉยๆ นี่คือคำตอบที่เราพยายามจะแสวงหาร่วมกันภายใต้ความตั้งใจที่ดีและการที่ระลึกว่าประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างไร ภายใต้กระแสความท้าทายของโลกในยุคปัจจุบันแม้จะเป็นปัญหาที่ยากแต่ในที่สุดเราต้องไปช่วยกันสร้างทำองค์กรทำสิ่งเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง แลกเปลี่ยนกันความเห็นความรู้ต่าง ๆ อย่างเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันไปสู่อนาคต และเชื่อว่าด้วยความมุ่งมั่นอันนี้และดีกว่าสิ่งที่นำมาพูด คือต้องเอาคนอย่างคุณเก่ง ไปร้องให้ประชาชนฟังแล้วทุกคนก็จะมีแรงบันดาลใจมาร่วมมือกันทำอย่างที่ว่า
ตนขออนุญาตที่จะจบลงด้วยสิ่งที่คาดว่าตรงกับสถาบันทิศทางไทยต้องการ เป็นประโยคที่มาจากคอลัมน์ในไทยรัฐเมื่อวันที่3 พ.ย.ซึ่งเป็นปัจจุบันเช่น กัน เขาจบลงด้วยการบอกว่า “นี่คือจิตใต้สำนึกที่จะให้ความรู้และแรงบันดาลใจมาแก้ปัญหาของประเทศในปัจจุบันเพื่อเดินไปสู่อนาคตอย่างมั่นคงและยั่งยืน