ดร.เวทิน ชาติกุล ผู้อำนวยการสถาบันทิศทางไทย ชำแหละ 10 ข้อเรียกร้อง ของม็อบ มธ. ที่มีพื้นฐานบนความคิดมาจาก เจียม-ทอน-บุตร
จากกรณีที่ทางด้านของ กลุ่มนักศึกษาหนุ่มสาวชาวธรรมศาสตร์รังสิต ได้จัดกิจกรรมทางการเมือง โดยบนเวทีการปราศัยได้มีการฉายภาพโปรเจคเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นรูป “นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” และ “นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์” ซึ่งเป็น 2 ผู้ต้องหาที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ
พร้อมข้อความและสัญลักษณ์ที่ส่อเสียดในทางดูหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่างชัดเจน อีกทั้งยังได้มีการเรียกร้อง 10 ข้อ เกี่ยวกับให้มีการแก้ไขปัญหาว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ ทำให้ประชาชนชาวไทยผู้จกรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ถึงกับรับไม่ได้ในการชุมนุมครั้งนี้อย่างรุนแรง
ล่าสุดทางด้านของ ดร.เวทิน ชาติกุล ผู้อำนวยการสถาบันทิศทางไทย ได้ออกมาโพสต์ชำแหละถึง 10 ข้อเรียกร้อง ของม็อบ มธ. เพื่อให้คนไทยทั้งชาติเข้าใจความหมายได้ดีมากขึ้น ผ่านเฟสบุ๊ค Wathin Chatkoon โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
10 ข้อเรียกร้อง กับ ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐนิยม/ เวทิน ชาติกุล /////
ข้อเรียกร้อง 10 ข้อจากม็อบ มธ. คือข้อเรียกร้องที่มีพื้นฐานบนความคิดของปิยบุตรที่อภิปรายไว้ในปี 2555 เรื่อง”การปรับตัวของสถาบันกษัตริย์” (ซึ่งมี สมศักดิ์ เจียมฯ ร่วมอภิปรายอยู่ด้วย)
ในตอนนั้นปิยบุตรเสนอว่า การอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์(ทั่วโลก) มีทางเดียว คือ ต้องปรับตัวให้เข้ากับประชาธิปไตย (ซึ่งรูปธรรมที่ออกมาก็คือ ข้อเสนอของสมศักดิ์ เจียมฯ 7 ข้อ (2562) และ ข้อเรียกร้องของม็อบ มธ. 10 ข้อ (2563) ซึ่งมีสาระใกล้เคียงกัน)
ปิยบุตรบอกว่า ถ้าสถาบันกษัตริย์จะดึงดันต่อสู้ คัดง้างกับระบบประชาธิปไตย ก็จะพบกับ 2 ความเป็นไปได้ คือ “แพ้” และถูกบังคับให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญแบบเด็ดขาด หรือไม่ก็ “ถูกล้มเลิก” ทำให้หายไป โดยการโหวตของประชาชน (พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากหลายที่ในยุโรป)
ปิยบุตรบอกว่า ไทย เป็น 1 ใน 2 ประเทศทั่วโลกที่สถาบันกษัตริย์ยังคงยืดเยื้อดึงดันต่อสู้กับระบอบประชาธิปไตย (นับจากหลัง 2475-ปัจจุบัน)
การทำให้แนวคิดทางวิชาการ(สุดโต่ง) ในวงสัมมนาวิชาการที่ไม่มีใครสนใจ กลายมาเป็นรูปธรรมบนเวทีม็อบ มธ. พร้อมแสง สี เสียง ตระการตา มีคนดูนับแสนผ่านโซเซียลมีเดีย และสร้างแรงกระเพื่อม ผลกระทบ แรงกดดันจากสังคมสู่มหาลัยธรรมศาสตร์อย่างหนัก ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่เป็น “ความสำเร็จ” ของ ธนาธร ปิยบุตร และ เครือข่ายอาจารย์ นศ. นักเรียน ในการ address “ประเด็น” ที่ตัวเองหมกหมุ่นให้กลายเป็น issue ทางสังคม (ด้วยทุนรอนอันมหาศาลที่ทุ่มลงไป)
แต่อีกด้านมันก็ชัดว่า ธงที่ปักชู ขับเคลื่อนในครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องอื่นแล้ว นอกจาก สิ่งที่ธนาธรประกาศไว้ใน Portrait ธนาธร ว่า “…ต้องการมีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับสถาบันพระมหากษัตริย์…”
และคำขู่ที่พูดไว้ที่ ธรรมศาสตร์ในปี 2562 ว่า “การแก้ รธน.ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดทางเดียว ระหว่าง ยินยอมพร้อมใจทุกฝ่าย หรือ จะนองเลือด ก็สอดรับกับการยกระดับการแสดงออกในข้อเรียกร้องของเด็กๆ 10 ข้อนั้น ที่กำลังสร้างเงื่อนไขนำพาสังคมไปสู่การนองเลือดและสงครามกลางเมืองตามสูตร” 6 ตุลา” อีกครั้ง (ถ้าไม่แก้ รธน.หมวดพระมหากษัตริย์)
ในวงวิชาการปิยบุตรถามว่า เราจะเลือกอะไร ระหว่างประชาธิปไตยปรับตัวให้เข้ากับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ สถาบันพระมหากษัตริย์ปรับตัวให้เข้ากับประชาธิปไตย
สิ่งที่ปิยบุตรไม่ได้บอกก็คือ ประชาธิปไตยที่ปิยบุตรกำลังหมายถึง คือ ประชาธิปไตยแบบไหน
ซึ่ง แน่นอนว่า มันคงไม่ใช่ที่ พรรคก้าวไกล ออกมาสนับสนุนเด็กมธ.ว่า สิ่งที่พวกเขาทำ ทำเพื่อปกป้องระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(โดยที่ในคำประกาศ 10 ข้อแสดงท่าทีเชิงอำนาจที่ไม่เหมาะควรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน)
แต่ดูจะมีโมเมนตัม ไปสุดทาง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ที่ปิยบุตรฝันถึงเสียมากกว่า
ซึ่งมีก็เข้าใจได้ว่าทำไม พรรคฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ ถึงกระโดดหนีม็อบ มธ.กันหมด และ พรรคก้าวไกล ก็จะเข้าโหมด “ยุบพรรค” เพราะมีพฤติกรรม ทำผิดรัฐธรรมนูญ ล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างชัดเจน