บทวิเคราะห์:Lockdown​ กทม.​อาจยาวถึงสิ้นปี​? ขยายเวลารอบแรกถึง​ 30​ เม.ย.​แต่อย่าคิดว่า​จะ​จบแค่นั้น

0

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ หรือ  COVID-19 ที่กำหลังระบาดอย่างหนักลุกลามทั่งในประเทศไทยและทั่วโลก ยิ่งนานวันตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมและเสียชีวิตจากเพิ่มทุกวัน แน่นอนว่าการระบาดครั้งนี้ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่หยุดชะงัก  จำนวนคนตกงานเพิ่มขึ้น จากภาคบริการจำนวนมาก พนักงานบริษัท คนหาเช้ากินค่ำ คนที่ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ  ซึ่งได้รับผลกระทบไปตามๆกัน พูดง่ายๆการแพร่ระบาดยิ่งนานเท่าไหร่ ยิ่งหายนะมากขึ้นเท่านั้น

 

ตาม​ “แบบจำลองการคาดการณ์สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในประเทศไทยของสมาคมอุรเวชช์

.สิ้นเดือนมีนาคม​ 2563​ จะมีผู้ติดเชื้อ​ 2500​ คน​ (ตัวเลขจริงของสธ.อาจอยู่ที่ประมาณ​ 1,600 คน)

ก่อนสงกรานต์จะมีผู้ติดเชื้อ​ 17,500​ คน​ (ต้องเทียบกับตัวเลขของสธ.ในช่วงนั้น)

.สิ้นเดือนเมษายนจะมีผู้ติดเชื้อ​ 22,500 คน

จำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มมากขึ้นสูงสุดในเดือนพฤษภาคมคือ​ 40,000​ คนแล้วจะค่อยลดลงเป็นลำดับ

.​เดือนธันวาคม​ 2563​ จะมีผู้ติดเชื้อ​ 7,500​ คน

และในเดือนมีนาคมปี​ 2564 จะมีผู้ติดเชื้อ​ 5,000​ คน​ (สูงกว่ามีนาคม​ 2563​ ถึง​ 2​ เท่า)​

จากแบบจำลองนี้บ่งชี้ว่า

1.​ ถ้าการ​ Lockdown​ กทม.ได้ผลสถานการณ์ด้านการแพร่ระบาดของเชื้อโรค​(ระลอกแรก)​จะค่อยคลี่คลายในเดือนมิถุนายน​- กรกฏาคม​ 2563​ (ภายใน 3-4​ เดือน)

2.​ แต่สถานการณ์การเฝ้าระวังการหยุดหรือลดกิจกรรมทางสังคมการ​ Lockdown​ ประเทศการ​ Lockdown​ กทม.​ อาจจะต้องดำเนินไปถึงสิ้นปี หรือยาวไปจนถึงเดือนมีนาคมปีหน้า​ (12​ เดือน)

3.​ มีการคาดการณ์ว่าภาวะ​ “ปกติอาจกลับมาได้อย่างเร็วที่สุดคือ​ 18​-24 เดือน​ (กรณีที่ยังไม่มีวัคซีนและไม่เกิดการระบาดระลอกใหม่ขึ้นอีก)

  1. กทม. ประกาศสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว ฉบับที่เมื่อ27 มี..ที่ผ่านมา ยกเลิกฉบับที่ 2-3 โดยกำหนดให้ปิดสถานที่ในพื้นที่กทม.ชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 28 มี.. – 30 เม..นี้ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับสถานที่ทั้งหมดมี 34 แห่ง

1.ร้านอาหารเครื่องดื่ม ทั้งที่อยู่ในคูหา รถเข็น แผงลอย ให้เปิดขายเฉพาะสั่งกลับบ้านเท่านั้น ส่วนร้านอาหารเครื่องดื่มในโรงแรม ให้บริการเฉพาะผู้ที่พักอาศัยภายในโรงแรมและสั่งกลับบ้านเท่านั้น ยกเว้นร้านอาหารเครื่องบินในสนามบิน และโรงอาหารในโรงพยาบาลที่ให้รับประทานภายในร้านได้ แต่ต้องมีมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด

2.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต ร้านอาหารสำหรับสั่งกลับบ้าน ธนาคาร หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเท่านั้น

3.พื้นที่นั่งยืนรับประทานอาหารในร้านสะดวกซื้อ

4.ตลาดนัดตลาด ให้เปิดขายเฉพาะอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ร้านขายยา ร้านดอกไม้สด เวชภัณฑ์ และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

5.ร้านเสริมสวย แต่งตัดผม

6.ร้านสักผิวหนังหรือเจาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

7.สถานที่เล่นสเต โรลเลอร์เบลด หรือการเล่นแบบอื่นๆในทำนองเดียวกัน

8.สวนสนุก สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง ตู้เกม

9.ร้านเกมอินเทอร์เน็ต

10.สนามกอล์ฟรวมสนามฝึกด้วย

11.สระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน

12.สนามชนไก่ รวมสนามซ้อมด้วย

13.ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา

14.ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมและจัดนิทรรศการ

15.สถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชา

16.สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกเวชกรรมด้านความงาม คลินิกเสริมความงาม และสถานเสริมความงาม

17.สปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพและความงาม

18.สถานที่อาบน้ำ สปา ตัดขน รวมถึงสถานที่รับผากสัตว์เลี้ยง

19.สถานประกอบการอาบ อบ นวด

20.สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร

21.โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ

22.สถานที่ออกกำลังกาย

23.สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ

24.สนามมวย โรงเรียนสอนมวย

25.สนามกีฬา

26.สนามม้า

27.สนามแข่งขันทุกประเภท

28.สนามเด็กเล่น

29.สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ

30.พิพิธภัณฑ์สถาน พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิพิธภัณฑ์ในลักษณะเดียวกัน

31.ห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดเอกชน และบ้านหนังสือ

32.สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน

33.โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียต

34.สถานรับเลี้ยงเด็ก เว้นสถานรับเลี้ยงเด็กในโรงพยาบาล