สื่อทั่วโลก เปิดความจริง คนฝรั่งเศส กำลังโหยหาต้องการ สถาบันกษัตริย์

0

สื่อทั่วโลก ต่างมองว่า คนฝรั่งเศสในยุคนี้ส่วนใหญ่แล้วมีความรักต่อ ควีนอลิซาเบธ ราชินีอังกฤษ เนื่องจากว่าพวกเขากำลังต้องการอยากที่จะกลับมามีสถาบันกษัตริย์อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 8 ส.ค.63 ทางด้านสมาชิกเฟสบุ๊คชื่อ LVanicha Liz ได้รวบรวมบทความต่างประเทศที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความโหยหาอาวรณ์ต่อสถาบันกษัตริย์ของคนฝรั่งเศส ที่คนไทยเยาวชนรุ่นใหม่อาจจะไม่เคยทราบ ว่าหลังจากที่ประเทศฝรั่งเศสไม่มีสถาบันกษัตริย์ พวกเขาโหยหามากมายขนาดไหน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

#ฝรั่งเศสกับความโหยหาอาวรณ์ต่อสถาบันกษัตริย์

สำหรับกลุ่มผู้คนที่อ้างอยากได้ประชาธิปไตยแบบตะวันตก ซึ่งมีหัวโจกพยายามชูฝรั่งเศสโบราณเป็นต้นแบบ แล้วก็พยายามสอดแทรกเรื่องของการยกเลิกกษัตริย์และการกำจัดกษัตริย์ให้เข้าไปฝังในสมองของประชาชนไทยเป็นระยะๆ ตามมาด้วยการแทรกประสานของพวกจ้องล้มฯในโซเชียลทำนองเกลียดธงชาติไทย อยากจะเอาบางแถบสีออก

ควรรับทราบก่อนว่าสำหรับประเทศฝรั่งเศสที่กำลังถูกชูเป็นต้นแบบอยู่นั้น ในธงชาติ 3 แถบสีของเขา สีขาวที่อยู่ตรงกลางแสดงถึงกษัตริย์ !!

และสำหรับพวกที่พยายามล้างสมองประชาชนเพื่อให้ต่างจังหวัดแตกแยกกับกรุงเทพ โดยชูประเด็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญแก่เมืองหลวงเป็นใหญ่ ควรรับทราบว่า ธงชาติไทยมีแถบสีแสดงถึงความเป็นชาติอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียว ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสที่บางคนชูเป็นต้นแบบอยู่นั้น ในธงชาติ 3 แถบสีของเขา สองสีแสดงถึงปารีส !!

อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงยุโรปและการต่างประเทศของฝรั่งเศส

https://www.diplomatie.gouv.fr/en/coming-to-france/france-facts/symbols-of-the-republic/article/the-french-flag

อีกด้านหนึ่ง นักปลุกปั่นได้ยุยงคนไทยว่า อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังนั้น เราจะหันไปวิเคราะห์ความรู้สึกของประชาชนดู โดยลองมองไปยังประชาชนในประเทศประชาธิปไตยที่ไม่มีกษัตริย์แล้ว

ใน thediplomat.com มีบทความเขียนโดย contributing editor กล่าวว่า
“เมื่อพิจารณาถึงข้อดีทั้งหมดของสถาบันกษัตริย์ จึงเป็นที่ชัดเจนว่าเหตุใดประชาชนในระบอบประชาธิปไตยจำนวนมากในปัจจุบัน จึงยังคงมีความโหยหาอาวรณ์ต่อสถาบันกษัตริย์อย่างเป็นที่เข้าใจได้ สถาบันกษัตริย์จะยังคงพิสูจน์ตัวว่าเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญและเป็นประโยชน์ ในทุกที่ที่สถาบันกษัตริย์ยังคงดำรงอยู่ เช่นเดียวกับในศตวรรษก่อนๆ”

(จะแสดงลิงค์ในโพสต์เฉพาะบทความนี้ ที่จะเขียนภายหลัง)

ตรงคำว่า “ความโหยหาอาลัยอาวรณ์” เขาได้แนบลิงค์ไปยังข่าวของ The Economist เรื่องทำไมคนฝรั่งเศสรักพระราชินีอังกฤษ “Why the French love Britain’s queen”

พร้อมกับเนื้อข่าวที่แสดงถึงความตื่นเต้นและชื่นชมยินดีต่อการเสด็จประเทศฝรั่งเศสครั้งที่ 5 ของพระราชินีอังกฤษ และกระแสความนิยมในหมู่ประชาชนฝรั่งเศสต่อข่าวของพระราชวงศ์อังกฤษรวมถึงราชวงศ์โมนาโคด้วย ข่าวระบุต่อไปว่าบางทีเหตุผลที่ซ่อนอยู่สำหรับความศรัทธาแรงกล้าของชาวฝรั่งเศสต่อสถาบันกษัตริย์อาจเป็นความอิจฉาลับๆผสมกับความเสียใจ

โดยอ้างถึงผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนว่าพวกเขาคิดอย่างไรในวันนี้เกี่ยวกับการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในปี 1793 ชาวฝรั่งเศสจำนวนมาก (29%) ให้ความเห็นว่า “ไม่ยุติธรรม” มากกว่า “เข้าใจได้” (23%)

https://www.economist.com/europe/2014/06/14/vive-la-reine

ในสื่อของฝรั่งเศสก็กล่าวถึงการที่ประชาชนฝรั่งเศสไปถวายการต้อนรับพระราชินีอังกฤษในลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นฟีเวอร์ “The French capital had a touch of royal fever” และมีการนำท่านไปเยี่ยมชมตลาดดอกไม้ที่ตั้งชื่อตามพระนามของท่าน

ข่าวกล่าวถึงคนรุ่นใหม่ที่บอกความในใจถึงท่านด้วยความชื่นชมว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเห็นท่านให้ได้สักครั้งในชีวิต ท่านเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของยุโรปที่เหลืออยู่ ในฝรั่งเศสนั้น เราเลือกประธานาธิบดีที่มาแล้วก็ไปทุก 5 ปี แต่พระราชินีทรงอยู่ตลอดเป็นสัญลักษณ์ของประเทศของท่านในทุกๆที่ๆท่านไป

Marie admitted to a bit of royal envy. “… Here in France, we elect presidents that come and go every five years, but the Queen remains the symbol of her country no matter where she goes.”

https://www.france24.com/en/20140607-paris-queen-elizabeth-ii-flower-market

ส่วนสำนักข่าวบีบีซี ซึ่งคนไทยจำนวนไม่น้อยอาจจะสงสัยว่าแอนตี้สถาบันกษัตริย์หรือเปล่า แต่สำหรับสถาบันกษัตริย์ของเขาเอง เขานำเสนออย่างภาคภูมิใจ
ปี 2012 ภายใต้หัวข้อข่าว “Are the French secretly in love with Britain’s royals?” เนื้อหาระบุว่าชาวฝรั่งเศสมีความหลงใหลต่อราชวงศ์อังกฤษอย่างน่าประหลาดใจ

ในเนื้อข่าวกล่าวถึงความตื่นเต้นสนใจของผู้คน นักจัดรายการทีวีของฝรั่งเศสกล่าวเองว่าได้เรตติ้งดีเสมอ เมื่อไรก็ตามที่นำเสนอเกี่ยวกับ royal event มันเป็นความรู้สึกเหมือนเทพนิยายที่เป็นจริง และมันเป็นความเคารพยกย่องต่อพระราชินี เขากล่าวว่าชาวฝรั่งเศสจำนวนมากมองสถาบันกษัตริย์เป็นความมั่นคงอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้อุ่นใจในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่หลายๆส่วนของโลกมีความยากลำบาก พระราชินีทรงมีพระชนมชีพยาวตลอดเส้นทางประวัติศาสตร์ ในขณะที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีอังกฤษหลายๆคนก็เปลี่ยนหน้ากันมารับตำแหน่งแล้วก็พ้นตำแหน่งไป

Many French people also see it as a reassuring constant in a changing world, said Mr Letranchant.

“Times are hard in many parts of the world and it’s a means of escape,” he said. “The Queen has lived through history, while French presidents and British prime ministers have come and gone.”

https://www.bbc.com/news/world-europe-18329050

The Telegraph พาดหัวว่า “Why are the French so obsessed with our Royal Family? และลงรายละเอียดว่าทำไมชาวฝรั่งเศสช่างหลงใหลกับสถาบันกษัตริย์นัก และที่เด่นชัดที่สุดคือของเรา … the French are obsessed with royalty – and, most notably, ours”

https://www.telegraph.co.uk/travel/destinations/europe/france/articles/Why-are-the-French-so-obsessed-with-our-Royal-Family/

ย้อนกลับมาที่ประเทศไทย ซึ่งมีพวกยุยงให้แบ่งแยกอำนาจการปกครองให้ประเทศไทยอ่อนแอลง เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆของโลก การยุยงนี้สวนกระแสการรวมตัวของยุโรปให้แข็งแกร่งขึ้น อันที่จริงเคยมีความพยายามด้วยซ้ำที่จะรวมฝรั่งเศสเข้ากับอังกฤษ ให้อยู่ภายใต้การปกครองของพระราชินีอังกฤษ

ในปี 2007 The Telegraph พาดหัวว่า “Queen Elizabeth II of France? Mais non” … impossible, n’est ce pas? Not entirely, …
The note of Sept 10, 1956, states: “When the French prime minister, Monsieur Mollet, was recently in London he raised with the Prime Minister the possibility of a union between the United Kingdom and France.”

ข่าวระบุว่าในปี 1956 นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเคยหารือถึงความเป็นไปได้ในการรวมสองประเทศเข้าด้วยกัน แต่แม้จะไม่เป็นที่ตกลงกัน ก็เป็นที่เชื่อกันว่าลึกลงไปในจิตใต้สำนึกของชาวฝรั่งเศส มันมีปมความเสียใจที่จะไม่มีวันหายไป ชาวฝรั่งเศสมีการอ่านเรื่องราวของราชวงศ์อังกฤษอย่างหิวกระหาย ภาพยนตร์เรื่องพระราชินีก็เป็นที่นิยมอย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นสรุปได้ว่า มันเป็นลักษณะของความโหยหาต่อความมั่นคงและความต่อเนื่องที่สถาบันกษัตริย์ทรงมีให้พวกเรา ซึ่งชาวฝรั่งเศสไม่มี

Sir John Holmes, Britain’s Ambassador to Paris, believes that deep in the French psyche there is a little knot of regret that it never came to pass.

“Stories about the British Royal Family are avidly read in France,” he said. “The film The Queen is incredibly popular.

“So there’s a sort of hankering after the stability and continuity which the monarch represents for us and the French don’t have.”

https://www.telegraph.co.uk/news/uknews/1539608/Queen-Elizabeth-II-of-France-Mais-non.html

คงเป็นที่เข้าใจกันแล้วว่า #ทำไมพวกจ้องล้มฯจึงอ้างฝรั่งเศสได้แค่บางช่วงเวลาเท่านั้น

#ฝรั่งเศสกับความโหยหาอาวรณ์ต่อสถาบันกษัตริย์สำหรับกลุ่มผู้คนที่อ้างอยากได้ประชาธิปไตยแบบตะวันตก…

Posted by LVanicha Liz on Saturday, August 8, 2020