อ.ศาสตรา โตอ่อน นักวิชาการสถาบันทิศทางไทย ได้วิเคราะห์การคลังไทย และผลการทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤต COVID-19 ระบุว่าสำหรับประเด็นที่เกี่ยวกับการเงินการคลังของประเทศ เวลานี้จะเห็นว่ามีโครงการออกมาช่วยเหลือประชาชนเดือนละ 5,000บาท เป็นเวลา 3เดือน สำหรับผู้ที่ตกงาน อาชีพอิสระต่างๆ ที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ส่วนคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมก็สามารถรับเงินได้ ที่ประกันสังคม
สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในประกันสังคม ถ้ามีคนว่างงาน ประมาณการตัวเลขสมมุติว่าอยู่ที่ประมาณ 2-2.5ล้านคน 3เดือน คนละ 15,000บาท จะใช้งบประมาณราวๆ 5หมื่นล้านปัญหาเราจะอยู่ในภาวะแบบนี้ไปได้อีกนานแค่ไหน
งบประมาณของภาครัฐ เวลานี้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 จำนวน3.2ล้านล้านบาท เป็นงบประจำ 2.6ล้านล้านบาท ซึ่งก็คงจะนำมาช่วยประชาชนตรงนี้ไม่ได้ ถ้ามีโอกาสจะใช้ได้ก็โดยการไปเกลี่ยนงบ ต่างๆที่ไม่มีความจำเป็น แล้วถ้าใช้งบนั้นกลับทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัส เช่น งบสัมนา ส่วนงบลงทุน 6 แสนล้าน รัฐบาลก็อาจชะลอการลงทุ่น ทำให้อาจจะมีเงินเข้ามาดูแลประชาชนตรงนี้
ในส่วนของเงินที่ไม่ใช่เงินงบประมาณ จะมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 7.2ล้านล้าน ซึ่งขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานว่าภายในไม่กี่สัปดาห์บดลงไปแล้วเกือบ 2 แสนล้าน มีเงินคงคลังเหลืออีก3.8 แสนล้าน มีเงินนอกงบประมาณตามรัฐวิสาหกิจ ตามจุดต่างๆ เช่น กองสลาก อีก8.5 ล้านล้าน ดูเหมือนว่ามีเงินเยอะ แต่ต้องคิดต่อ อย่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ชื่อก็บอกว่าเป็น “รายจ่าย” ซึ่งเรากำลังพูดถึงรายรับเงินที่รัฐมีทั้งหมดเงินคงคลังเงินทุนสำรองระหว่างประเทศก็คงจะนำมาใช้หมดไม่ได้ทั้งที่อยู่ในรูปเงินดอลลาร์และทองคำ
แต่ส่วนที่น่ากังวลที่สุด คือเมื่อระบบเศรษฐกิจชัตดาวน์ลงไปมากขึ้นๆแบบนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือความเสียหายภาคเอกชน SME เสียหายไปแล้วกว่าครึ่ง ภาคบริการ ภาคท่องเที่ยว ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยปรับประมาณการ GDP ประเทศไทยเติบโตติดลบ 5.8% ดังนั้นจะเห็นได้เลยว่าเศรษฐกิจภาคเอกชนนั้นชะลอตัวแน่นอน
เมื่อเศรษฐกิจภาคเอกชนชะลอตัวลง ภาครัฐที่เคยมีรายได้จากภาษีซึ่งรัฐอยู่ได้ด้วยภาษี จะเก็บภาษีได้ในระดับเดิมคงเป็นไปได้ยาก นั่นคือปัญหา ในขณะที่การนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้ไม่ทั้งหมดอยู่แล้ว อาจจะนำมาใช้ไ้เพียง 20-30% เงินคงคลัง เงินนอกงบประมาณ ต้องนำมากองรวมกัน และดูว่าจะใช้ได้เท่าไหร่ ซึ่ง เวลานี้อำนาจก็มาอยู่ในมือนายกรัฐมนตรี ต้องมานั่งดีดตัวเลข
แต่ปัญหาที่อ.ศาสตราเป็นห่วงมากที่สุด คือลองนึกถึงภาพการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปี2564 ซึ่งปีนี้เราอยู่ที่ 3.2ล้านล้าน คือรายจ่ายแน่นอนว่าจะมีการตัดลดลง ถ้าอยู่ที่3ล้านล้านขึ้นมา ถามว่าจะเอาเงินตรงไหนมาใช้จ่ายในงบปร64 ซึ่งอาจจะมีก็ได้ แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย เวลานี้เอกชนก็ลำบาก ระบบการผลิต ระบบต่างๆ ก็ลำบาก ภาคเอกชนฟุบจะส่งผลกระทบลูกโซ่ภาครัฐฟุบด้วย อาจจะมีการลดเงินเดือนข้าราชการลงชั่วคราวก็เป็นได้
ดังนั้นในวิกฤตนี้ รัฐต้องมองไปถึงงบประมาณรายจ่ายประจำปี 64 ในภาวะที่เอกชนเองก็เริ่มแย่ รัฐต้องเข้าไปอุ้ม แต่อย่าลืมว่า “รัฐอยู่ได้ด้วยเอกชน” ตนจึงแน่ย้ำตลอด ต้องรีบปรับปรุงภาคเอกชนให้ดี กลับมาหารากฐานที่ดี อย่างน้อยที่สุดเรายังมีเงินหล่อเลี้ยงระบบ ประเทศ สังคม ได้ หล่อเลี้ยงแม้กระทั้งภารรัฐเอง ระบบราชการ ง่ายๆ ถ้าประชาชนไม่เงินรัฐก็ไม่มีเงิน เพราะรัฐอยู่ได้ด้วยภาษีของประชาชน