เปิดประวัติ “อานนท์ นำภา” ทนายเสื้อแดง ก่อนถูกจับ” ยุยงปลุกปั่น “ผิดอาญา ม.116 เคยเป็นทนายให้บก.ลายจุด-ไผ่ดาวดิน

0

กลายเป็นกระแสร้อนทางการเมืองทันที เมื่อนักเคลื่อนไหวทางการเมือง อย่าง นายอานนท์ นำภา หรือที่หลายคนเรียกว่า “ทนายอานนท์”  ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และหนึ่งในทีมทนายความของนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ได้โพสต์ภาพหมายจับ พร้อมข้อความระบุว่า “ผมโดนจับแล้ว”

ผมโดนจับแล้ว

Posted by อานนท์ นำภา on Friday, August 7, 2020

โดยนายอานนท์ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าควบคุมตัว ตามหมายจับศาลอาญา ในฐานความผิดยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ร่วมกันโฆษณาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาติ ร่วมกันกีดขวางการจราจร

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวนายอานนท์ไปยัง ส.น.สำราญราษฎร เพื่อทำบันทึกการจับกุม และนำตัวไปสอบสวนต่อ ที่ ส.น.บางเขน ตามลำดับ

…สำหรับนายอานนท์ เดิมมีพื้นเพเป็นคนจังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาระดับ ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง เมื่อปี 49 และ เนติบัณฑิตยสภา เมื่อปี 52 เป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะทนายของกลุ่ม“คนเสื้อแดง” ซึ่งในช่วงหลังสลายการชุมนุมปี 2553

ขณะนั้น นายอานนท์ เป็นทนายอาสาช่วยเหลือ “คนเสื้อแดง”  ได้แก่ นายชัชวาล หรือชัช ปราบบำรุง, นายสมศรี มาฤทธิ์, นายสุนทร ผิผ่วนนอก และ นายทวีชัย วิชาคำ ในความผิดต่อชีวิตฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ทำร้ายร่างกาย, พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ  และความผิดตามพ.ร.บ.ฉุกเฉิน

นอกจากนี้ ยังเป็นทนายความให้กับนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ในข้อหายั่วยุปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และ ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคสช. กรณีไม่เข้ารายงานตัว  และยังเคยเป็นทนายความให้กับ “ไผ่ ดาวดินนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา กรณีการแจกเอกสารประชามติที่ตลาดสดภูเขียว ชัยภูมิ ….เป็นต้น

..หลังจากนั้นนายอานนท์ เคลื่อนไหวทางการเมือง โดยมีจุดยืนที่ชัดเจนในการต่อต้านคสช.ต่อเนื่องมายังรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ อย่างเป็นระบบ  กระทั้งไม่นานมานี้ เมื่อ16มิ.ย.63 นายอานนท์ ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวพาดพิงถึงสถาบันเบื้องสูงที่คนไทย ระบุว่า..

“ก่อนจะห้ามไม่ให้พูดถึงสถาบันกษัตริย์ รัฐบาลต้องสอบสวนก่อนว่าทุกข้อกล่าวหานั้นเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์หรือไม่ ไม่ใช่มาห้ามคนพูดถึงเลย ไม่งั้นก็จะกลายเป็นว่าคนในสถาบันกษัตริย์ทำอะไรก็ไม่ผิด ไม่สามารถตรวจสอบได้ คนที่เสียภาษีบำรุงเลี้ยงดูสถาบันกษัตริย์ได้แต่มองตาปริบๆ ทำอะไรไม่ได้เลย ส่วนคนที่ออกมาวิจารณ์ก็ถูกดำเนินคดี ถูกใช้วิธีนอกกฎหมายกันไป แบบนี้ ไม่น่าจะใช่สิ่งที่ประชาชนต้องการแน่นอน และเมื่อถึงขีดสุด อย่ามาโอดโอยถ้าประชาชนจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงการปกครอง แบบที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 88 ปีที่แล้ว ก็แล้วกัน”

สามวันต่อมาเมื่อวันที่19 มิ.ย. นายอานนท์ พร้อมด้วย ชลธิชา แจ้งเร็ว และ โชคชัย ไพบูลย์รัชตะ นักกิจกรรมด้านประชาธิปไตยเข้ายื่นหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและชี้แจงการใช้การใช้งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

และล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ส.ค.63 นายอานนท์ จัดการชุมนุมและปราศรัยที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ซึ่งมีเนื้อหายุยง ปลุกปั่น บิดเบือน และอาจเช้าข่ายล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือไม่ จนเป็นเหตุทำให้ทางด้านนายอภิวัฒน์ ขันทอง ทนายความประจำสำนักกฎหมาย อ.อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ และมี พ.ต.อ.อิทธิพล พงษ์ธร ผู้กำกับการ (ผกก.) สน.สำราญราษฎร์ เป็นผู้รับมอบหนังสือ