ปธน.ดูเตอร์เต แห่งฟิลิปปินส์ ลงนาม“กฎหมายต่อต้านก่อการร้าย” (The Anti-Terrorism Act) และมีผลบังคับใช้ ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานทูตฟิลิปปินส์ประจำสหรัฐอเมริกา ส่งหนังสือถึงสมาชิกสภาสหรัฐ 50 คนชี้แจง กรณีการประกาศบังคับใช้ที่มีผลในวันเสาร์(18 ก.ค.2563) ว่า จะปกป้องเสรีภาพทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนในประเทศ ในขณะที่กลุ่มสิทธิมนุษย์ชนฟิลิปปินส์ ประณามว่า กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือเล่นงานฝ่ายตรงข้ามและจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก
เอกสารชี้แจงว่า ฟิลิปปินส์ยังคงยึดมั่นต่อการปกป้องเสรีภาพพลเมืองและเสรีภาพทางการเมือง กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายบัญญัติไว้อย่างหนักแน่นว่า สิทธิมนุษยชนจะต้องสมบูรณ์ครบถ้วนและได้รับความคุ้มครองตลอดเวลา กฎหมายฉบับนี้เป็นเครื่องแสดงว่า
รัฐบาลฟิลิปปินส์มีความแน่วแน่อย่างยิ่งที่จะต่อต้านการก่อการร้าย จะใช้วิธีการที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมในการจัดการกับภัยก่อการร้ายที่ไร้พรมแดน หนังสือของสถานทูตฟิลิปปินส์ระบุด้วยว่า กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับก่อนหน้านี้ที่ลงนามไปเมื่อปี 2550 มีผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดเพียงคนเดียวเท่านั้น
กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้ จะมีสภาที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต มีหน้าที่กำหนดให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องสงสัยเป็นผู้ก่อการร้าย และสามารถจับกุมคุมขังโดยไม่ตั้งข้อหาได้สูงสุด 24 วัน นอกจากนี้ยังมีอำนาจอนุญาตให้สอดแนม ดักฟัง ลงโทษผู้ก่อการร้าย ซึ่งรวมถึงโทษจำคุกตลอดชีวิตโดยไม่มีทัณฑ์บนด้วย
กลุ่มทนายความยื่นเรื่องร้องต่อศาลฎีกาว่า กฎหมายนี้อาจถูกนำไปในทางมิชอบเพื่อเล่นงานฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล และกดขี่การแสดงความเห็นต่างอย่างสันติ
ขณะที่ประธานาธิบดี ดูเตอร์เต ซึ่งลงนามกฎหมายเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมายืนยันว่า ประชาชนที่เคารพกฎหมายไม่จำเป็นต้องกลัว เพราะกฎหมายนี้มุ่งจัดการผู้ก่อการร้ายและกลุ่มก่อความไม่สงบที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์เท่านั้น
ฟิลิปปินส์เพิ่งเปลี่ยนท่าทีต่อสหรัฐ จากที่ประกาศเลิกสัมพันธ์กับสหรัฐต้นปี แล้วกลับลำมาขอคืนดี จะทบทวนสัญญากระชับสัมพันธไมตรีใหม่อีกครั้ง เมื่อเกิดกรณีพิพาท ในทะเลจีนใต้กับจีน เมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้งนี้ต้องรีบส่งหนังสือชี้แจงกฎหมายสำคัญของตนเองที่ผ่านสภาฯ แล้ว ประกาศบังคับใข้ไปตามขั้นตอนตามกฎหมายแล้ว
หลังจากนี้ท่าทีของสหรัฐฯ ทั้งสภาผุ้แทนราษฏร, วุฒิสภา และผู้บริหารรัฐบาลปธน.โดนัลด์ ทรัมป์จะมีท่าทีตอบรับอย่างไร จะแข็งกร้าว หรือวางเฉย เพราะสหรัฐอ้างเหตุผลล่วงล้ำประเทศอื่นด้วย ข้ออ้างประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ท่ามกลางกระแสตึงเครียดในน่านน้ำทะเลจีนใต้ คงจะได้คำตอบว่า ระหว่างอุดมการณ์กับผลประโยชน์สหรัฐเลือกอย่างไหน?
………………………………………….