สถาบันทิศทางไทยจัดกิจกรรมโซเชียลเสวนา “เสวนาพิเศษทิศทางไทย หลังนายกรัฐมนตรีแถลงการณ์ประกาศ
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” เมื่อวันที่24 มี.ค.ที่ผ่านมา
อ.ศาตรา โตอ่อน นักวิชาการสถาบันทิศทางไทย ได้เสนอมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 ระบุว่า เรื่อง #COVID19 ตอนนี้มีคนตกงานแล้วจากภาคบริการจำนวนมาก ทั้งพนักงานบริษัท คนหาเช้ากินค่ำ คนที่ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ รวมทั้งภาคธุรกิจได้รับผลกระทบ แรงงานต่าง ๆที่ตอนนี้ตกงานกลายเป็นแรงงานส่วนเกินก็ต้องมีการบริหารจัดการในระยะยาวว่าจะทำอย่างไรต่อ ซึ่งไม่ใช่แค่ระยะสั้น ต้องมองระยะกลาง ระยะยาวไปพร้อมกัน เมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว กระบวนการธุรกิจ ธุรกรรมต่าง ๆ หยุดนิ่ง อาจจะตามมาด้วยปัญหาทุพภิกขภัย ความอดยาก ขาดแคลน ซึ่งหากไม่สามารถแก้ปัญหาทุพภิกขภัยได้ แน่นอนว่าอาจจะเกิดการปล้นสะดม โจรผู้ร้าย ดังนั้นเสนอออกมาเป็นมาตรการดังต่อไปนี้
– คนตกงานจากภาคบริการได้รับทันทีเงินช่วยเหลือ 3เดือน
– ห้ามยกเลิกสัญญาเช่าห้องที่พักอาศัยของคนตกงาน ในระยะเวลา 3เดือน และรัฐบาลต้องจ่ายเงินสนับสนุนให้กับเจ้าของอพาร์ตเมนต์ ห้องเช่า โดยมีการคำนวณตามขนาด
-ห้ามยกเลิกจ้างพนักงานบริษัทและรัฐบาลต้องจ่ายเงินสนับสนุนให้รายละ9,000บาท ในช่วงเวลา 3 เดือน
– .ธุรกิจ SME มี 3ล้านราย เบื้องต้นรัฐควรสนับสนุนรายละ 100,000บาท ใช้งบประมาณ 3 แสนล้านบาท
-คนที่ตกงาน ถ้าสมัครใจเข้าสู่ภาคเกษตร รัฐควรสนับสนุนรายละ 5,000 บาท( ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการความมั่นคงทางอาหารโลกประชุมกันแล้วว่าอาจะเกิดการคาดแคลนอาหาร)
– ผันน้ำเข้าภาคเกษตร รับมือภัยแล้ง เพราะขณะนี้ภาคบริการไม่มีการใช้น้ำแล้ว
– รัฐต้องสนับสนุนทุนในการทำการเกษตร ทำนา ทำไร่ ไร่ละ500บาท ประมาณ2ล้านไร่
– ชดเชยรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ไร่ละ500บาท ประมาณ1ล้านไร่
ในหลักการดังกล่าว อ.ศาสตรามองว่าเป็นการยิงเงินเข้าที่ภาคการผลิตจริง เข้าไปที่ Real Sector และประคับประคองเครื่องจักรในการผลิตของประเทศ อะไรที่ล้มไปแล้วอย่างภาคท่องเที่ยว ภาคบริการก็ต้องพักไว้ก่อน แล้วก็ต้องมีเงินเข้าไปสนับสนุนคนที่ตกงาน พนักงานบริษัท SME รัฐจะต้องเข้าไปอุ้ม โดยมาตราแบบนี้จะทำให้สามารถรักษาพลังการผลิตของประเทศไทยไว้ได้
อ.ศาสตรากล่าวต่อว่าก่อนหน้ามีการเข้าไปซื้อพันธบัตรใช้งบประมาณถึง 1ล้านล้านบาท มีการพยายามจะตั้งกองทุนตลาดหุ้น ซึ่งคิดว่าเอาไม่อยู่วิกฤตมีอีกเยอะ เงินมีจำนวนจำกัด ต้องใช้ให้ถูกเป้าถูกประเด็น และจัดงบประมาณให้แพทย์พยาบาลให้ชัดเจน คนที่ตกงานไปแล้วคนที่ทำงานอิสระหาเช้ากินค่ำ พนักงานบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งบริษัทโดยเฉพาะ SME เพราะว่าทุนใหญ่อย่างไรก็อยู่รอดอยู่แล้วในภาวะแบบนี้และก็เห็นด้วยว่าควรจะลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคลงบ้าง เพื่อทำให้คนทั้งสังคมอยู่ได้