“สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม” ประธานกรรมการสถาบันทิศทางไทย ได้กล่าวถึงมาตรการรับมือกับผลกระทบไวรัสCOVID-19 จะทำอย่างไรที่จะฝ่าวิกฤตนี้ได้อย่างยั้งยืน ในงานโซเชียลเสวนา ทิศทางไทย เกาะติด สถานการณ์ COVID-19 หลัง Lock down ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22มี.ค.ที่ผ่านมา
“สนธิญาณ ” กล่าว่า สภาพการณ์ในขณะนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินปี 2548 ย้ำกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายของฝ่ายประชาธิปไตยผู้ที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้คือนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นเพื่อที่จะทำให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำของประเทศสามารถที่จะบริหารจัดการสถานการณ์ตามที่ประเทศเกิดวิกฤต
ความหมายคือสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปรกติสุขของประชาชน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน”
“สนธิญาณ” กล่าวย้ำว่าที่ต้องพูดเรื่องสถานการณ์ฉุกเฉิน ยกตัวอย่างวันนี้อ.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เสนอให้ใช้กฎอัยการศึก ซึ่งกฎอัยการศึกแรงกว่าสถานการณ์ฉุกเฉินและเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก จะอยู่ภายใต้อำนาจของผบ.ทบ. จะอยู่ในมือของฝ่ายทหาร ซึ่งหากกองทัพกับรัฐบาลไม่ค่อยลงรอยจะมีการช่วงชิงในการใช้กฎอัยการศึกหรือพ.ร.ก. การบริหาราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน วันนี้รัฐบาลและกองทัพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังนั้นการประกาศใช้พ.ร.ก. ฉุกเฉินจะดีกว่า
เหตุผลที่ตนและสถาบันทิศทางไทยพยายามที่จะเรียนให้ดำเนินการเรื่องนี้ว่า เวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะใช้ระยะเวลาไม่เกินสามเดือน และเป็นการประกาศโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการโอนอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้กระทรวง ทบวง กรมใดหรือภายใต้กฎหมายฉบับใด ให้อำนาจสั่งการนั้นโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวตามมาตรา7 วรรคหนึ่ง
“สนธิญาณ”ย้ำต่ออีกว่า ขณะนี้มีกฎหมายโรคระบาด กฎหมายสินค้าควบคุม เป็นต้น กฎหมายมีมากมายแต่ถ้าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จะใช้กฎหมายฉบับเดียว ซึ่งที่ผ่านมาแต่ละคนก็จะใช้กฎหมายของแต่ละฉบับ เปรียบเทียบให้เห็นกรณี กทม.สั่งปิดเมือง ไม่ได้วางแผน คนก็ทะลักกลับต่างจังหวัด ซึ่งกทม.จะไปสั่งหน่วยงานอื่นก็ไม่ได้ ดังนั้นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึงมีความจำเป็น อีกทั้งสหรัฐอเมริกาก็ประกาศแล้ว
ทั้งนี้สิ่งที่ประชาชนต้องทำความเข้าใจ สังเกตประเทศประชาธิปไตยเอาแต่ใจตัวเอง พังพินาศหมดในยุโรป หรือแม้แต่คนไทยบางส่วน ที่บอกว่าอย่าทำ ส่งปิดผับปิดบาร์ กลับไปนั่งกินเหล้า ชุมนุมกันที่อื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น น่าเป็นห่วงคนรุ่นใหม่ที่ไม่มีจิตสำนึกและประเด็นFake news ก็กรณีที่บอกว่ามีผู้เดินทางกลับมาจากประเทศสเปน บอกว่าสนามบินสุวรรณภูมิไม่มีการคัดกรอง ซึ่งทั้งนายจาตุรงค์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีเป้าหมายโจมตีเผด็จการ ต้องการโค่นล้มพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กระโดดงับ รวมทั้งคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์กระโดดงับเช่นกัน ตนมองว่าคนแบบนี้จะเสนอตัวมาบริหารราชการบ้านเมืองไม่ได้ ถ้ามีข่าวสารขึ้นมาและคิดว่าจะสามารถเล่นงานทางการเมืองได้ กระโดดงับเลย ถือเป็นการกระทำที่แย่มาก ไม่มีวุฒิภาวะพอที่จะบริหารราชการบ้านเมือง ดังนั้นนายกอย่าไปฟัง หากประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเรื่องของเผด็จการ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องนำเอาอำนาจมาอยู่ที่นายกคนเดียว
“สนธิญาณ” กล่าวถึงข้อเสนอของสถาบันทิศทางไทยว่า ต้องจัดการบริหารไปใน 3 เรื่องพร้อมๆกัน
เรื่องแรก คือ การรักษาและป้องกันที่กับโรคและความเจ็บปวด
เรื่องสอง คือ การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
เรื่องสาม คือ การเตรียมการที่จะฟื้นฟู หากว่าเราคาดว่าจะได้รับผลกระทบภายใน1-2ปี หลังจากผ่านวิกฤตนั้นเราจะฟื้นฟู
ภาวะที่เกิดขึ้นขณะนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะประเทศไทยแต่เกิดขึ้นทั่วโลก ใครที่เตรียมการตั้งรับไว้ดีกว่าถึงเวลาจะพุ่งตรงไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแรงและรวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ
สิ่งแรกที่ต้องทำคือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เอาอำนาจมาอยู่ที่นายกอย่างเต็มสมบรูณ์แบบ จากนั้นเสนอให้พิจารณาทบทวนงบประมาณแผ่นดินปี 2563 จำนวน3.2ล้านล้านบาท ซึ่งจะต้องจัดการงบประมาณ วางแผนใหม่ เพราะงบประมาณนี้ใช้ในเรื่องประจำที่วางแผนต่อเนื่อง ไม่มีสถานการณ์วิกฤตเพราะฉะนั้นเงินที่มีจะนำมาใช้ตามปกติเดิม กระทรวง ทบวง กรม เดิมไม่ได้ เช่น กระทรวงกลาโหม 124,400,250,000 บาท กระทรวงคมนาคม 54,211,333,000 บาท กระทรวงการอุดมศึกษาฯ 47,890,344,600 บาทกระทรวงมหาดไทย
288,459,142,400 บาท กระทรวงแรงงาน 67,735,532,200 บาท กระทรวงศึกษาธิการ 132,834,254,500 บาท เป็นต้น
เนื่องจากสถานการณ์ไม่ปกติ จึงควรนำเงินที่มี ที่วางแผนไว้ มาจัดเพื่อใช้ดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์ส 3 ข้อข้างต้น งบกระทรวงสาธารณสุข มีถึง 26,730,737,500 บาท ยังไม่พอ แต่ไม่ใช่นำบัตรให้กระทรวงสาธารณสุขใช้ การนำงบมาให้หลังจากประกาศสภาวะฉุกเฉินแล้ว จะมีคณะทำงานเปิดขึ้น 3 ชุด ซึ่งต้องมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานทั้ง 3 ชุด
ชุดที่1 คือ คณะกรรมการดูแลรักษาป้องกันเรื่องของการแพร่ระบาดไวรัส ซึ่งอาจมีกระทรวงสาธารสุข เป็นรองประธาน แต่จะต้องประกอบไปด้วยคณะแพทย์ รวมทั้งกระทรวงมหาดไทยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงผู้คน และอื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันรักษา และต้องกำหนดด้วยว่าจะใช้งบเท่าไหร่ ถึงจะจัดการงบได้ถูกต้อง
ชุดที่2 คือ คณะกรรมการดูแลเรื่องเยียวยา ว่าจะรักษาองค์กรธุรกิจและผู้ประกอบอาชีพอิสระให้สามารถเคลื่อนตัวอย่างช้าๆไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ปล่อยให้พวกเขาตาย โดยบริษัทต่างๆที่ได้รับผลกระทบ จะต้องนำเสนอผลกระทบต่อคณะกรรมการชุดนี้ โดยแยกเป็นผลกระทบทางธุรกิจและผลกระทบในแง่ของบุคลากร
สำหรับบุคลที่ต้องหยุด ไม่ได้ทำงาน ไม่มีรายได้ คณะกรรมการชุดนี้จะต้องมีการพิจารณาจริงจัง ไม่ได้หมายความว่าคนที่ได้รับเงินเดือนอยู่เท่าไหร่จะได้รับเท่านั้น สมมุติว่าเคยได้รับอยู่ 30,000 บาท อาจจะลง ได้รับ20,000 บาท โดยรัฐเข้ามาช่วย 15,000บาท บริษัทช่วย 5,000 บาท เพื่อให้การเคลื่อนตัวเคลื่อนไปได้ช้าๆ ขณะเดียวกันต้องเชื่อมโยง มีมาตราการสำหรับคนที่กำลังผ่อนบ้าน ผ่อนรถอยู่ หยุดก่อน 3 เดือน จะทำคนที่กินเงินเดือนประจำหรือคนที่มีภาระจะมีกำลัง พอมาอยู่มากิน
ที่สำคัญต้องปิดตลาดหุ้นก่อน คนที่ซื้อหุ้นตอนนี้ต้องการมูลค่า ส่วนต่างหุ้นทั้งนั้นไม่ใช่การสร้างสรรค์ หรือการระดมทุนที่จะใช้ในยามวิกฤต
ชุดที่3 คือ คณะกรรมการชุดที่จะทำการฟื้นฟู ต้องมีผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการ อาจจะเป็นเอกชนและคนนอกที่เกี่ยวข้องที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งต้องประเมินหลังจากนี้อีก 6เดือน เพราะวิกฤต ไม่ได้เกิดที่ประเทศไทยเป็นประเทศเดียว แต่เกิดขึ้นทั่วโลก วันนี้ธุรกิจขนานใหญ่ทั่วโลก เช่น ธุรกิจการบินเจ๊งหมด สนามบินปิด สายการบินต่างๆปิด โรงแรมปิด แต่หลังจากความพยายามดูแล วันหนึ่งจะต้องฟื้นฟูขึ้น เมื่อนั้นการที่เราวางแผนเชิงรุกที่จะตั้งรับในการฟื้นฟูจะสอดรับได้ทันที
ยกตัวอย่าง ถ้ารัฐได้พูดชัดว่าสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวจะเตรียมแผนในการเยียวยาไว้แบบนี้และเตรียมแผนฟื้นฟูแบบนี้ เรียกผู้เกี่ยวข้องมาประชุมเตรียมการอย่างไร เมื่อมีความพร้อม ทั้งสายการบินโรงแรมกลุ่มมัคคุเทศก์แต่ละจะทำอย่างไร ในการเตรียมความพร้อม หากถามว่าทำไมให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวเป็นอำดับแรกของการฟื้นฟูก็เพราะว่าเงินสดจะเข้ามา
ต่อมาคือภาคเกษตร ก่อนหน้านี้ได้กล่าวไปแล้วว่าจากเกิดภัยแล้ง ที่ผ่านมาในปี62 ผลกระทบถึง 30–40% ของพืชเกษตร ทั้งนี้ในอนาคตอาหารจะเป็นความจำเป็นสำคัญ ดังนั้นการฟื้นฟูจะต้องดูว่าจะเกิดผลกระทบขนาดไหน พ่อค้าในประเทศจะมีการกักตุนสินค้าที่ต่างชาติต้องการหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องดูแล ให้เรียบร้อย
การที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาหาร ยกตัวอย่าง พืชที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง อ้อย ข้าว จะเพิ่มอย่างไร จะจัดงบประมาณไปส่งเสริมเรื่องน้ำ ส่งเสริมเรื่องการดูแลรักษาเพื่อที่จะให้เกษตรกรเหล่านี้สร้างความแข็งแรงรอไว้เมื่อถึงเวลาได้ใช้ทันที
ถัดมาเป็น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ SME เตรียมการตลาด เตรียมการต่างๆ ไม่ใช่แค่นำเงินไปเยียวยา และสุดท้ายคือกลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ๆ หลังจากนั้นจึงค่อยมาสัมพันธ์กับตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหุ้น ทั้งนี้โดยหลักการตลาดหุ้น เพื่อไว้ใช้ในการระดมทุนในการสร้างระบบเศรษฐกิจให้แข็งแรงแต่ส่วนใหญ่มักกลายเป็นบ่อนการพนัน
ข้อเสนอดังกล่าวแยกเป็น 3 ส่วน โดยต้องนำงบประมาณ 3.2ล้านล้านบาท มาจัดการ มาเขย่าใหม่ ว่าทั้ง3ส่วนนั้นจะใช้งบเท่าไหร่ และจัดสรรงบที่เหลือให้กับกระทรวงต่างๆในการที่จะใช้รักษาการทำงานในภาวะปกติอย่างไร