(1) 12 มี.ค.63 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามคําสั่งตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19
(2) พร้อมแต่งตั้ง “คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 มี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอีก 23 คน
(3) มีอำนาจ คือ (3.1) กําหนดนโยบายและมาตรการเร่งด่วนตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 พรบ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 และพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534
(3.2) สั่งการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐปฏิบัติภายในขอบเขต หน้าที่และอํานาจตามกฎหมาย รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชนเพื่อให้ดําเนินการเป็นไปตามนโยบายและ มาตรการเร่งด่วนที่กําหนด
(3.3) กํากับดูแล ควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดําเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ
(4.4) บริหารจัดการข้อมูลที่ได้รับรายงานจากศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสเพื่อการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
(4.5) ชี้แจงประชาสัมพันธ์ประชาชนสร้างความรู้เท่าทันและความเข้าใจ ที่ตรงกันในสถานการณ์ ประธานกรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการชี้แจงก็ได้
(4.6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทํางาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่
(4.7) เชิญบุคคลเข้าร่วมประชุม หรือขอเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานหรือบุคคลใด ที่เกี่ยวข้อง
(5) ภารกิจ 6 มาตรการ ที่มีแต่ละหน่วยงานรับผิดชอบแต่ละมาตรการ
(5.1) ด้านการสาธารณสุข หน่วยงานที่รับผิดชอบ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และกระทรวงมหาดไทย
(5.2) ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม
(5.3) ด้านข้อมูลการชี้แจงและการรับเรื่องร้องเรียน สํานักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(5.4) ด้านการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงคมนาคม กระทรวงแรงงาน
(5.5) ด้านมาตรการป้องกัน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(6.6) ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยา กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมฯกระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน
(7) นั่นคือศูนย์ใหญ่สู้โควิด-19 รวมทั้งกรรมการชุดใหญ่ ที่นายกฯตั้งขึ้นมา ซึ่งต้องติดตามพร้อมข้อสังเกตว่าดีแล้วหรือยัง และมาตรการที่ออกมาช่วยชาวบ้านได้ตรงเป้าหรือไม่???
(8) 10 มี.ค. 63 คณะรัฐมนตรีอนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในระยะที่ 1 เช่น
(8.1) มาตรการพักเงินต้น, มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้, มาตรการคืนสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ, มาตรการลดภาระดอกเบี้ยของผู้ประกอบการ รวมถึงมาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำค่าไฟ,
(8.2) มาตรการสิทธิลดหย่อนภาษีชั่วคราวจากการซื้อกองทุน SSF ซึ่งมาตรการเหล่านี้เป็นเรื่องดีแต่มุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ เป็นสำคัญ
(8.3) ไม่ได้คำนึงถึง ชาวบ้านที่ “หาเช้ากินค่ำ” มีรายได้แบบวันต่อวัน ที่จะได้รับผลกระทบในทันที 2.1 ล้านคนโดยเฉพาะ
(8.4) คนขับแท็กซี่ 80,138 คน
(8.5) คนขับรถสี่ล้อเล็ก และรถกะป๊อ 5,276 คน
(8.6) คนขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง 89,292 คน
(8.7) ผู้ค้า-แผงค้าในตลาด 1,286,618 คน
(8.8) หาบเร่หรือแผงลอย 564,039 คน
(8.9) รถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่ + รถพุ่มพวง 90,437 คน
(9) ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ได้รับผลกระทบในกลุ่มนี้จะมีรายได้แบบวันต่อวัน และอาจเป็นผู้ที่มีหนี้นอกระบบอยู่แล้วถึง 1.26 ล้านคน (ข้อมูลบัตรคนจน ปี 2560)
(9.1) …เพราะมีรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกวันตั้งแต่อาหารประทังชีวิต ไปจนถึง การผ่อนอุปกรณ์ที่ใช้ทำมาหากิน รวมทั้งหนี้นอกระบบที่ต้องจ่ายอยู่แล้วเป็นรายวันสำหรับบางราย
(9.2) คนกลุ่มนี้คือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนที่จะประคับประคองให้กลุ่มที่มีรายได้วันต่อวันสามารถดำเนินผ่านช่วงวิกฤตไปได้เหมือนกับประชาชนกลุ่มอื่นๆ เช่น….
(9.3) กลุ่มผู้มีงานประจำ กลุ่มผู้ประกอบการ อันอาจช่วยยับยั้งภาวะความโกลาหล การแย่งชิงอาหาร และปัญหาอาชญากรรมที่อาจเกิดตามมาได้หากไม่มีการดำเนินการใดๆ
(10) สุดท้ายต้องย้ำว่าการที่นายกฯตั้งกรรมการชุดใหญ่ขึ้นมาดูแลนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องคอยดูกันว่า ดีพอและทันสถานการณ์หรือไม่ โดยเฉพาะการช่วยเหลือตรงเป้าของผู้กระทบโดยตรงหรือไม่???
#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง