(1) 11 มี.ค. 63 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 พบผู้ป่วยใหม่ 6 ราย โดย2รายเป็นเจ้าหน้าที่ทำงานสนามบิน
- รายที่ 1 ชายไทย อายุ 21 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสนามบินสุวรรณภูมิ เข้าตรวจที่โรงพยาบาล 8 มี.ค.63
- ทย อายุ 40 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจค้นสนามบินสุวรรณภูมิ เริ่มป่วยวันที่ 7 เข้าตรวจโรงพยาบาล 9 มี.ค.63
(2) 12 มี.ค. 63 นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย เผย น.ท.สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ ยื่นหนังสือลาออก มีผลบังคับ 16 เมษายน 2563 โดยเหตุผลที่ลาออก ขอแสดงความรับผิดชอบที่บริหารจัดการศูนย์ EOC ไม่ดีจนมีกรณีผีน้อยหลุดออกไปจากการคัดกรอง
(3) 12 มี.ค. 63 วันเดียวกัน ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับรายงานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย ว่า สุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ยื่นหนังสือลาออกมีผลในวันที่1เม.ย.
(4) ต่อมาปรากฏในโลกโซเชียลฯมีการพูดถึงข้อความของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ระบุชื่อว่า Nitikarn Suwanawat ซึ่งอ้างกันว่าเป็นเฟซบุ๊คของลูกสาว ผอ.สนามบินสุวรรณภูมิ โพสต์ความรู้สึกถึงสาเหตุที่พ่อลาออก 4 ข้อ บางส่วนระบุว่า….
(4.1) เนื่องจากเป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงออกทางการเมืองเท่าไหร่ แต่รอบนี้ไม่ไหวจริง พ่อจะลาออกจริง
(4.2) ไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นจริง ในเมื่อขอความร่วมมือการท่าปฏิบัติทุกอย่าง แต่เมื่ออยากขอรวามร่วมมือบ้าง อาทิ เช่นเรื่อง กักตัวผีน้อย อยากด่าแทนพ่อสั้นๆว่า ….
(4.3) เรื่องหน้ากาก เนื่องจากเจ้าหน้าที่สนามบินสัมผัสทั้งทางตรงกับทางอ้อมของผู้โดยสารที่เข้า-ออกประเทศเป็นประจำทุกวัน การท่าทำเรื่องเพื่อขอซื้อ แต่ไม่ได้รับโควตา…..
(4.4) ยังมีอีกหลายเรื่องรวมกัน สรุปได้สั้นๆ เหตุเกิดมาจาก รัฐบาล….
(5) ก่อนที่เฟซบุ๊ก Nitikarn Suwanawat จะระบุช่วงจบว่า สุดท้ายลงท้ายด้วยคำพูดของพ่อ…
(5.1) “ในเมื่อทุกคนไม่ได้มีแนวคิดว่าขณะนี้เรามีวิกฤตของประเทศ ถ้าข้าราชการทุกหน่วยที่ต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายต่างคนต่างตั้งคอก ไม่คิดจับมือประสานงานไม่สามัคคี
(5.2) ต่างหน่วยต่างเกี่ยงให้ สธ.ต้องรับผิดชอบ และเผอิญคนที่ สธ.ส่งมาไม่มีบุคลิกความเป็นผู้นำ เหตุการเลยร้ายแรงกว่าที่ท่านทราบกัน”
(6) นั่นเองที่ตามมาด้วยรายงานว่า หลังเกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 พนักงานทอท.ระดับผู้ปฏิบัติงานที่สนามบินทั้ง 6 แห่ง โดยเฉพาะสุวรรณภูมิและดอนเมือง ซึ่งเป็นประตูหลักในการเดินทางเข้าออกประเทศ ต้องทำงานหนัก แบกรับความเสี่ยงในการคัดกรองผู้โดยสาร
(7) ถามว่า ทอท. มีจุดคัดกรองผู้โดยสาร 6 แห่ง เข้า-ออกสนามบิน ที่ไหนบ้าง และมีมาตรการอย่างไร???
(7.1) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) มีจุดตรวจคัดกรอง 3 จุด แบ่งเป็น อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 1 จุด บริเวณจุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสารหลัง Row B, C และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 2 จุด บริเวณจุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสาร โซน 3 Row L และบริเวณช่องทางเดินของบุคลากรทางการบิน
(7.2) ท่าอากาศยานดอนเมือง (ทดม.) มีจุดคัดกรอง 6 จุด แบ่งเป็น อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 3 จุด บริเวณช่องทางขาออกภายในประเทศ ช่องทางเปลี่ยนเครื่องภายในประเทศ และช่องทางเปลี่ยนเครื่องภายในประเทศไปยังต่างประเทศ และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 3 จุด บริเวณช่องทางขาออกระหว่างประเทศ
(7.3) ท่าอากาศยานภูเก็ต (ทภก.) มีจุดคัดกรอง 2 จุด แบ่งเป็น อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 1 จุด บริเวณช่องทางขาออกภายในประเทศ และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 1 จุด บริเวณจุดตรวจลงตราหนังสือเดินทาง ชั้น 3
(7.4) ท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ทชม.) มีจุดคัดกรอง 2 จุด แบ่งเป็น อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 1 จุด บริเวณชั้น 2 ก่อนถึงจุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสารขาออก และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 1 จุด บริเวณชั้น 2 ก่อนถึงจุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสารขาออก
(7.5) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ทหญ.) มีจุดคัดกรอง 2 จุด แบ่งเป็น อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 1 จุด บริเวณชั้น 2 ก่อนถึงจุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสารขาออก และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 1 จุด บริเวณชั้น 2 ก่อนถึงจุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสารขาออก
(7.6) ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย (ทชร.) มีจุดคัดกรอง 2 จุด แบ่งเป็น อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ 1 จุด บริเวณประตูก่อนถึงจุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสารขาออก ชั้น 1 และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 1 จุด บริเวณประตูก่อนถึงจุดตรวจค้นร่างกายและสัมภาระผู้โดยสารขาออก ชั้น 2
(8) นิตินัย กล่าวด้วยว่า สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2563 ต่อไป
(9) 13 มี.ค.63 คอลัมนิสต์ เปลว สีเงิน แห่งหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ได้เขียนบทความถึงเรื่องราวดังกล่าว โดยไทยโพสต์ออนไลน์ได้นำมาเผยแพร่เอาไว้ (https://www.thaipost.net/main/detail/59624)
(9.1) ซึ่งมีบางช่วงที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นการลาออกของบุคคลที่ทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจว่า…
(9.2) หน่วยรัฐวิสาหกิจ อย่างการท่าอากาศยาน อย่างบริษัทการบิน ยามบ้านเมืองไม่มีปัญหา ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในสนามบิน-ในการบิน มีเงินไหลนอง มีทองไหลมา
(9.3) ยิ่งใหญ่ และใหญ่โตกันเหลือเกิน เงินรัฐ-เงินหลวง-เงินภาษีประชาชนลงทุนแท้ๆ แต่พอมีกำไร เอาไปแบ่งโบนัสกันคน ๗ เดือน ๘ เดือน แต่พอโควิดมา คนไม่มา “เงินหาย” เหลือแต่ปัญหาที่ผู้บริหารต้องแก้ แทนที่จะอยู่แก้ปัญหา
(9.4) กูไม่…..ยื่นใบลา ถลกตูดหนี เอาตัวรอด! อย่างนี้ เขาไม่เรียกนักบริหารมืออาชีพ เขาเรียก “ไอ้ห่ว…แตก” หรือนักฉกฉวยมืออาชีพ
(10) นั่นคือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ผลกระทบที่สะเทือนจากการระบาดของไวรัส ที่นอกจากทำให้คนป่วย-คนตายแล้ว ยังทำให้มีคนลาออกจากงานหน้าที่ความรับผิดชอบด้วย???