จากกรณีกระทรวงการคลังเสนอมาตรการชุดที่ 1 ลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญ คือ การให้เงินแก่ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผ่านระบบอีเพย์เมนต์ จำนวนคนละ 2,000 บาท โดยจะให้เป็นเวลา 2 เดือน เดือนละ 1,000 บาท
ล่าสุด (6 มี.ค.63 )ทางด้านดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการของสถาบันทิศทางไทย ได้แสดงความคิดเห็นผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุ ผมเพิ่งปรึกษากับผอ.สถาบันทิศทางไทยเรื่องเตรียมออกแถลงการณ์คัดค้านนโยบายแจกเงินแสนล้านบาทที่สิ้นคิดของกระทรวงการคลัง
****
จากเพจของกระทรวง จารุศิระ
เงิน 100,000 ล้านบาท สามารถทำอะไรได้บ้างนอกจากการแจก
- สามารถสร้างโรงพยาบาลและจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นทุรกันดาร ตีไปซะว่าตกยูนิตละ 500 ล้านบาท สามารถสร้างโรงพยาบาลได้ 200 แห่ง
- สามารถปล่อยกู้วิสาหกิจชุมชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อการกระจายรายได้ไปสู่ผู้ประกอบการรายย่อย ตำบลละ 10 ล้านบาทได้ 10,000 ตำบล ( ประเทศไทยมี 9,652 ตำบล ) และที่สำคัญเงินจะกลับมาพร้อมดอกเบี้ย
- สามารถจัดตั้งกองทุนอาหารเพื่อคนยากไร้และผู้ด้อยโอกาสได้ 5,000 ล้านมื้อ ( เฉลี่ยมื้อละ 20 บาท )
- สามารถจัดสร้างบ้านเอื้ออาทรเพื่อคนไร้บ้านได้ 200,000 หลัง ( หลังละ 500,000 )
- สามารถตั้งโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยได้ 1,000 แห่ง
- สามารถจัดหาหน้ากากอนามัยได้ 100,000 ล้านชิ้นไว้แจก ( ต้นทุนเฉลี่ย 1 บาท )
- สามารถสร้างโรงเรียนในระดับพื้นฐาน ตามชุมชนขนาดย่อม ได้ 10,000 โรงเรียน
- สามารถสร้างสนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกายให้กับประชาชนได้ 10,000 แห่ง
====================================
ประชากรไทย ณ ปัจจุบันมีจำนวน 66,558,935 คน ( กรมการปกครอง วันที่ 31 ธ.ค. 2562 )
ดังนั้นเงิน 100,000,000,000 บาท ถ้านำมาแจกให้ทุกคนเท่า ๆ กัน แต่ละคนจะได้รับเงิน 1,500 บาท
เงิน 1,500 บาท เอาไปทำอะไรได้บ้าง
- ซื้อเหล้าขาวได้ 28 ขวด
- ซื้อเบียร์ได้ 29 ขวด
- ซื้อ Black Label ได้ 1 ขวด
- ช้อปเสื้อผ้าออนไลน์ได้ 2-5 ชุดไม่เกิน
- จ่ายค่าที่จอดรถในห้างได้หนึ่งเดือน แต่ถ้าเป็นออฟฟิศใน prime location จ่ายได้ 15 ชั่วโมง
- ซื้อหวยได้ 18 ใบ ( ราคาต้องไม่เกิน ) ถ้าซื้อปกติได้ 15 ใบ
- เล่นการพนันได้ครั้งเดียว
- ซื้อบุหรี่ได้ 15 ซอง ถ้าเป็นบุหรี่นอกได้ 9 ซอง
- กินข้าวในห้างได้ 3 มื้อ อย่างมากไม่เกิน 8 มื้อ