จากที่มีกระแสในโลกโซเชียลฯได้มีการวิพากษ์วิจารณ์แชร์ต่อกันถึงบางประโยคที่ดูไม่เหมาะสม แม้จะเป็นการตั้งคำถามซึ่งระบุว่า ทุนพระราชทาน เงินใคร ใช้เงินภาษีประชาชนหรือไม่???
ล่าสุดวันนี้(27มิ.ย.63) ม.จ. จุลเจิม ยุคล หรือ ท่านใหม่ ได้แชร์ข้อความถึงการตั้งคำถามเรื่องทุนพระราชทานมาโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก พร้อมมีการอธิบายถึงที่มาของเงินที่ใช้พระราชทานว่า
น้องๆควรรู้ และศึกษาให้รู้จริงกันไว้บ้างว่า ทุนการศึกษาพระราชทาน เป็นทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ (ภาษาชาวบ้านเรียกว่าเงินส่วนตัว) ไม่ใช่เอาเงินจากภาษีชาวบ้าน ถ้าไม่เชื่อลองถามคนชื่อ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ผู้ซึ่งได้รับทุนมูลนิธิอานันทมหิดลไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต
หรือ นพดล ปัทมะ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล พ.ศ. 2531 ต่อมาใน พ.ศ. 2533 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
โดยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล อีกนั่นแหละ และเรียนต่อ เนติบัณฑิตอังกฤษแห่งสำนักลินคอร์นอินน์ (Lincoln’s lnn) โดยทุนมูลนิธิอานันทมหิดล อีก เรียนกันจนจบ หาได้สำนึกกัน จบเป็นผู้คนได้ก็เพราะได้รับทุนอานันทมหิดลเรียนจนจบ ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ ไม่ใช่มาจากภาษีราษฎร ตามที่น้องๆเข้าใจกัน
างคนรับทุนไปแล้วเรียนจนจบออกมา แทนที่จะกลับมาช่วยประเทศชาติ ตามความมุ่งหวังขององค์เจ้าของทุน แต่กลับเนรคุณไปรับใช้ นักโทษหนีคดีเพื่อโคนล้มเจ้าของทุนอานันทมหิดล
นอกจากนี้เมื่อข้อความจากโพสต์ดังกล่าวของท่านใหม่ ได้เผยแพร่ออกไปก็มีคนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก และมีบางข้อความที่เป็นสาระสำคัญที่ช่วยอธิบายถึงทุนดังกล่าวด้วยเช่น
ขออนุญาต กล่าวถึงโครงการกองทุนการศึกษา ค่ะ รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดตั้งโครงการนี้ขึ้นมา พระองค์ท่าน หวังที่จะสร้างคนดีคืนแผ่นดิน โดยไม่มีข้อผูกมัด จากโครงการนี้ ทำให้ นักเรียนที่บ้านยากจน ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและกลับมาพัฒนาบ้านเกิด ของตนเอง คุณครูที่ได้สอนในโรงเรียนนั้นก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นค่ะ
หลานสาวของหนู ก็ได้รับพระราชทานทุนจากล้นเกล้ารัชกาลที่๑๐ ขอรับ ตอนนี้เตรียมตัวจะเข้าเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ รู้สึกปลาบปลื้มมาก เพียรสอนหลานเสมอว่าต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง
ที่มา : เฟซบุ๊กจุลเจิม ยุคล