จับตาปลุกนศ. สู่14ตุลาโมเดล!?! กับเครือข่ายนักวิชาการปฏิกษัตริย์นิยมแฝงตัวมหาลัย?!?

0

21 ก.พ.63 ทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่พร้อมทั้งตัดสิทธิ์การเมือง11กรรมการบริหารพรรคเนื่องจากความผิดคดีธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ปล่อยเงินกู้ 191.2 ล้านให้พรรคอนาคตใหม่

21 ก.พ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชาชนและนักศึกษากว่า 30 คน รวมตัวชูป้ายแสดงความคิดเห็น และจุดเทียนเป็นรูปตราชั่งบนพื้นถนน อ่านบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการชักชวนมวลชนต่อสู้ความอยุติธรรม จากนั้นได้แยกย้ายกัน

21 ก.พ.63 นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประมาณ 300 คน รวมตัว ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี แสดงจุดยืนจุดเทียนไว้อาลัยประชาธิปไตยโดยบอกว่า การแสดงออกนี้มิใช่เพื่ออนาคตของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เพื่ออนาคตของเราทุกคน

21 ก.พ.63 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สหภาพนักเรียน นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ติดป้ายข้อความ “ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม หมดเวลาทำใจและได้เวลาต่อสู้” ต่อมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค เตรียมจัด Flash Mob 22 ก.พ. เวลา 17.30ณ ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และร่วมกันจุดเทียนทวงคืนความยุติธรรม

22 ก.พ. เวลา 17.30 น. ที่ลานปรีดีฯ ม.ธรรมศาสตร์ สหภาพนักเรียนนิสิตนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมแฟลชม็อบในหัวข้อ “ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม” ขึ้น หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่

23 ก.พ.63 บริเวณลานหน้าอาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช กลุ่มนักศึกษาจำนวนหนึ่งออกมา “จุดเทียนสันติภาพ” ไว้อาลัยให้แก่ความยุติธรรม พร้อมเก็บภาพกิจกรรมนำไปลงเผยแพร่ในเพจ มวล.เสรี มีผู้เข้ามาติดตามและร่วมกัน

24 ก.พ.63 เพจ “จุฬาฯรวมพล”  (CU Assemble)โพสต์ข้อความ ร่วมแสดงพลังของนิสิตจุฬาฯและทวงคืนเสียงที่หายไป

ความอยุติธรรมจากศาล/ผู้มีอำนาจ จากกรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่ นำไปสู่ 6.3 ล้านเสียงที่หายไป ทำให้นิสิตนักศึกษาต้องออกมาแสดงออกว่าอำนาจอยู่ที่พวกเรา ประชาชน  ณ ลานข้างหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563  เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป

24 ก.พ.63 เพจ มอกะเสด (KU Daily) โพสต์ เรียนผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน โดยระบุจะจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย สนับสนุนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกทางการเมือง และเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิเสรีภาพให้กับสังคม ในวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ตั้งแต่เวลา 17:30 น. เป็นต้นไป จะใช้พื้นที่บริเวณหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ประตูพหลโยธิน)

25 ก.พ.63 เพจภาคีนักศึกษาศาลายา – Coalition of Salaya Students โพสต์ออกมาแสดงสิทธิของทุกคนได้แล้ว! Flash Mob ที่มหิดล ศาลายา!  ถึงเวลาของนักศึกษามหิดลแล้วที่จะมาแสดงความอัดอั้นใจต่อความอยุติธรรม มาร่วมเปล่งเสียงแห่งความทุกข์ทรมานจากการกดขี่ได้แล้ว วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563  ที่ลานบริเวณอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล

26 ก.พ.63 เพจ ศิลปากรเสรีเพื่อประชาธิปไตย โพสต์#ศิลปากรขอมีซีน “หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกถึงความอยุติธรรม แต่ไม่มีพื้นที่ ไม่กล้าและไม่มีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ในการแสดงออก ถึงเวลาแล้วที่พวกเราที่รักในความยุติธรรมและประชาธิปไตย “พุธที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ 18.00 น.”  ณ สะพานสระแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร

นั่นคือความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากนักศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ ในขณะที่เพจมอกะเสด (KU Daily) ระบุ 3 มหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งใน พ.ศ.2486 ออกโรงพร้อมกันแล้ว ล่าสุดคือมหิดล นอกจากนี้ที่จัดไปแล้วทั้ง ม.ธรรมศาสตร์ ม.มหาสารคาม ม.เชียงใหม่ มอ.ปัตตานี จ.อุบล และจุฬาที่จะจัดพร้อมเกษตร

ถามว่ามีการปลุกระดมผ่านเครือข่ายทั่วประเทศอย่างเหตุการณ์ในอดีตหรือไม่ โดยยึดเอาโมเดล 14 ตุลา ที่หวังให้พวกนักศึกษาลุกฮือ แม้ว่าการนัดรวมตัวที่ผ่านๆมายังมีนักศึกษามาร่วมมากนัก กระนั้นจะประมาทหรือไม่สนใจเลยก็คงไม่ได้แน่นอน นั่นเพราะต้องไม่ลืมตามมหาวิทยาลัยต่างๆนั้น มีเครือข่ายนักวิชาการปฏิกษัตริย์นิยม​ที่แฝงตัวอยู่ด้วย เช่นนี้พอจะมองเห็นภาพหญ่ใช่หรือไม่ว่า เหตุการณ์นี้จะนำพาไปสู่อะไร???

ก่อนหน้านี้ได้เกิดกรณี “ช่อ” พรรณนิการ์ ที่มีการตั้งข้อสงสัยไม่ได้มีความคิด​ “ไม่ล้ม​ แต่ไม่รักเจ้า” เอง​ แต่ส่วนหนึ่งความคิดนี้ได้รับมาจากการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย

พรรคอนาคตใหม่รับ​ “ช่อ” เข้าเป็นสมาชิก..อุดมการณ์ของพรรคอนาคตใหม่เป็นไปในทิศทาง​ “ปฏิกษัตริย์นิยม”  เดือนเม.ย.62​ มี​ 69 นักวิชาการออกแถลงการณ์ปกป้องพรรคอนาคตใหม่​ ตอนที่​ ธนาธร-ปิยบุตร​ ถูกโจมตีว่ามีความคิดล้มล้างสถาบัน

ซึ่งไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตาม​ การออกมาปกป้องพรรคอนาคตใหม่ของนักวิชาการกลุ่มนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการรับรู้และยอมรับความคิดแบบปฏิกษัตริย์นิยมของคนในพรรคไปด้วย ซึ่งที่น่าสนใจคือ​ นักวิชาการทั้ง​ 69​ คน​ มาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศจากทุกภาค​ (และมีต่างประเทศส่วนหนึ่ง)​

สิ่งบ่งชี้ที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ​ พรรคอนาคตใหม่สามารถเข้าไปยึดฐานมวลชนรุ่นใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างประสบความสำเร็จ​ และ​ความคิดแบบ​ ปฏิกษัตริย์นิยม​ มีการจัดวางและซึมซับกันอย่างเป็นระบบ​ ผ่านการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ​มาเป็นเวลาหนึ่งแล้ว

มหาวิทยาลัยที่มีชื่ออาจารย์สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่​ มี

1.​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ 3​ คน

2.​ มหาวิทยาลัยสารคาม​ 4​ คน

3.​ มหาวิทยาลัยบูรพา​ 5​ คน

4.​ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่​ 20​ คน

5.​ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​ 10​ คน

6.​ มหาวิทยาลัยศิลปากร​ 3​ คน

7.​ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์​ 3​ คน

8.​ มหาวิทยาลัย​ขอนแก่น​ 2​ คน

9.​ มหาวิทยาลัยนเรศวร​ 2​ คน

10.​ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์​ 2​ คน

11.​ อื่นๆ

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี​ 1​ คน, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์​ 1​ คน, มหาวิทยาลัยพะเยา​ 1​ คน, มหาวิทยาลัยทักษิณ​ 1​ คน, มหาวิทยาลัยต่างประเทศ​ 2​ คน ,นักวิชาการอิสระ​ 8​ คน และ นิสิตปริญญาเอก​ 1​ คน

ชัดเจนหรือไม่ว่า นิสิตนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนพรรคอนาคตใหม่หลังถูกคำสั่งยุบพรรคนั้น มีข้อสังเกตคือ มาจากมหาวิทยาลัย ที่ระบุไว้ข้างต้นแทบทั้งสิ้น และเช่นนี้เองที่จะมองไปได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดนั้น อาจจะเดินไปสู่14ตุลา 16 จริงๆอย่างน้อยก็คงมีใครบางคนคิดและหวังไว้เช่นนั้น???

 

#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง