ลดดอกเบี้ยนโยบาย หายนะที่รออยู่เบื้องหน้า?
ดร.วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล
.
สืบเนื่องจากผลการประชุม คณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้ง ที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 5ก.พ.63 ได้มีมติให้ลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลงจาก ร้อยละ 1.25 เหลือร้อยละ 1.00 ต่อปีโดยให้มีผลทันที จากนั้นในอีก 2 วัน ถัดมาธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่งก็ได้ออกประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย โดยลดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เหลือ 0.5% ฝากประจำ12เดือน 1.0% และ อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่ออ้างอิง 6.00~6.87% (ต่ำสุด-สำหรับ ลูกค้าชั้นดี) และ17.12~21.62% (สูงสุด-กรณีไม่ผิดนัดชำระ) (ข้อมลูจากธปท.ณวันที่17ก.พ.63)
ปรากฎการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยอย่างไรและรัฐบาลมีทางเลือกอื่น ๆ อย่างไร
ดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือที่สำคัญ (ที่มีเพียงหนึ่งเดียว?–น่าเห็นใจมากครับ)ของธปท.ในการบริหารเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ( เพื่อบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ-ตามที่ตกลงกับรัฐบาล ) เพื่อให้มีการขยายตัวอย่างเต็มศักยภาพและยั่งยืนในระยะยาวการลดอัตราดอกบเบี้ยนโยบาย (ซึ่งก็คืออัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคีระยะ1วัน) จะส่งผลโดยตรงให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงตามทั้ง ในส่วนของดอกเบี้ย เงินฝากและเงินกู้ โดยคาดหวัง ผลที่จะตามมาได้แก่ ลดภาระดอกเบี้ยของธุรกิจและจูงใจให้ธุรกิจขยายการลงทนุ ลดต้นทุนของธนาคารพาณิชย์ในการระดมเงินฝากที่มีดอกเบี้ยถูกลง ขณะเดียวกันก็ผลักไสประชาชนมให้หันไปออมเงินในรูปแบบอื่น เช่น ลงทุนในหุ้น พันธบัตร อสัง หาริมทรัพย์ ซึ่งจะทำให้สินทรัพย์เหล่านี้มีราคาสูงขึ้น อีกด้านหนึ่งอัตราดอกเบี้ย ในตลาดเงินของไทยที่ต่ำลง จะผลักดัน ให้เงินทุนไหลออก ลดความต้องการเงินบาทและ ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง ทำให้สินค้านำเข้าแพงขึ้น กดดันให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันส่งออกสินค้าได้มากขึ้น เร่งให้เงินเฟ้อสงูขึ้นสรุปก็คือการลดดอกเบี้ยจะทำให้เกิดเงินเฟ้อตามมา
ผลกระทบที่สำคัญ เกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้ที่พึ่งพารายได้จากดอกเบี้ย เงินฝาก สมมติว่า ครอบครัวหนึ่งซึ่ง เกษียณอายุแล้ว มีเงินเก็บอยู่ 10 ล้านบาท มีรายได้ทางเดียวจากดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 1.0% หรือปีละ 100,000 บาท และสมมติว่าครอบครัวนี้มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 3 หมื่นบาทหรือปีละ 360,000 บาท ซึ่ง ย่อมทำให้เงินเก็บร่อยหรอลงไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจะเพิม่ ขึ้นปีละ 2.5% ตาม “เป้ าหมายเงินเฟ้อ” 2.5±1.5% ของ รัฐบาลปัจจุบันประเมินได้ว่า เมื่อเวลาผ่านไป 23 ปี เงินเก็บที่ครอบครัวนี้มีอยู่ก็จะถูก ใช้หมดไปเมื่อตอนอายุได้ 83ปี
เห็นได้ชัดว่าทิศทางการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลในปัจจุบัน ที่กำหนด“เป้าหมายเงินเฟ้อ”2.5±1.5% และ ซ้ำ เติมด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาต่ำสดุในรอบ 20 ปี ดังในปัจจุบันเป็นนโยบายที่รังแกประชาชนส่วน ใหญ่ของประเทศ ที่พึ่งพารายได้คงที่จากเงินเก็บ จากเงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน ราคาพืชผลทางการเกษตร ที่มีอัตราเพิ่มขึ้นไม่ทันเงินเฟ้อ ซึ่งจะสร้างปัญหาใหญ่ในอนาคตข้างหน้าที่ทุกคนรู้สึกได้ ผลกระทบที่ตามมาคือ ความรู้สึกไม่มั่นคงในการดำรงชีพความต้องการเก็บออมอย่างเต็มที่ไม่มีกะจิตกะใจที่จะจับจ่ายใช้สอย
แนวทางที่ถูกต้องคือ รัฐบาลต้องดูแลประชาชนส่วนใหญ่ให้อยู่รอดได้ จึงจะเป็นหลักประกนั ให้เศรษฐกิจ เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนในระยะยาวด้วยมาตรการที่ขอเสนอดังนี้
1) ลดเป้าหมายเงินเฟ้อให้เหลือ 0.0±1.5% เพื่อรักษาค่าของเงินและสร้างความมั่นใจแก่ผู้มีเงินออม
2) แทนที่การลดอตัราดอกเบี้ยนโยบาย ให้ลดส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับเงินฝาก ซึ่งปัจจุบันมีส่วนต่างกว้างถึง12%โดยเฉลี่ย ให้เหลือเพียง4%ก็มากเกินไปแล้วเช่นเพิ่ม อัตราดอกเบี้ย เงินฝากเป็น 3~4% พร้อมกับลดดอกเบี้ย เงินกู้ (สูงสุด -กรณีไม่ผิดนัดชำระ) ลง มาเหลือ 9~10% แทนที่จะเป็น 17.12~21.62% เช่นในปัจจุบัน
3) พันธบัตรของรัฐบาลปีละ 5~6 แสนล้านบาท ให้กู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แทนที่ในปัจจุบัน รัฐบาลชดเชยงบประมาณขาดดุลด้วยการออก พันธบัตรกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ย ประมาณ 2.5~3.5%
4) ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ่อนค่ามาอยู่ที่ 36.08บาท/US$ ได้ด้วยการเพิ่มอัตรา ปริมาณเงินบาทหมุนเวียนต่อทุนสำรองต่างประเทศ จากปัจจุบันเรามีเงินบาทหมุนเวียน 92.61บาท ต่อทนุ สำรองต่างประเทศ 1US$ ต้องเพิ่มให้เป็น 112.14บาท/1US$ ซึ่ง จะมีผลดี ทั้งช่วยให้การส่งออกเพิ่มขึ้น และ มีเงินบาทหมนุ เวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อีก 4.4 ล้านล้านบาท นำมาลงทุนสร้างสาธารณูปโภคในประเทศหรือนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพ คล่องสูงในต่างประเทศก็ได้
5) ขยายอายุเกษียณ เพื่อเพิ่มสดั ส่วนจำนวนประชากรในวัยทำงานต่อจำนวนประชากรหลังเกษียณเป็น7:1จากปัจจุบันอยู่ที่3.6:1
( โปรดอ่านข้อมูลประกอบเหตุผลของข้อเสนอนี้จากบทความฉบับก่อนหน้านี้ได้ที่ http://www.tqmbest.com/product&service/softwares/km2/paper.php )