Atradius บริษัทวิจัยให้การประกันสินเชื่อการค้าและการเรียกเก็บเงินทั่วโลกผ่านตัวแทนในกว่า 54 ประเทศทั่วโลก ส่งสัญญาณเตือนแนวโน้มเบี้ยวหนี้การค้า โดยเฉพาะผลการศึกษาชี้ อินเดียอันดับหนึ่งถูกเบี้ยวหนี้ 69% และจีน 37% ซึ่งตลาดSME ขยายตัวมากมีแนวโน้มเผชิญผลกระทบทั้งการระบาดโควิด-19 และลูกค้าตปท.เบี้ยวชำระหนี้ อ้างผลกระทบโควิด-19 และเศรษฐกิจโลกหดตัว ทั้งๆที่มีอินวอยซ์แต่เบิกเงินไม่ได้ อาจเป็นเหตุให้ขาดสภาพคล่อง ทำล้มละลายเป็นโดมิโนได้ในที่สุด
วิกฤติโควิด-19 ทำผู้ส่งออกทั่วโลกหยุดชะงัก ห่วงโซ่อุปทานการค้าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเป็นอัมพาต ไม่อาจดำเนินธุรกิจต่อเนื่องได้ เมื่อแนวโน้มเปิดเมืองทั่วโลกคาดหวังการค้าขายส่งออกจะกลับมา แต่แนวโน้มเบี้ยวหนี้ชำระสินค้าตัวเลขพุ่งอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ส่งสัญญาณเตือน SME ไทยระมัดระวังเลือกคู่ค้า แม้แต่อินเดีย, จีนที่ขนาดเศรษฐกิจใหญ่ยังต้องเผชิญคลื่นลูกนี้ หากไม่ระมัดระวัง อาจเกิดการขาดสภาพคล่องและล้มลายได้
องค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่า การชำระเงินการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่เป็นลักษณะ “เครดิตการค้า” ระยะเวลาราว 30-120 วัน ซึ่งวิธีการดังกล่าวผู้ส่งออกสินค้าจะต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการได้รับชำระเงินล่าช้า หรืออาจไม่ได้รับชำระเงินเลย สถานการณ์ระบาดของไวรัสได้สร้างผลกระทบต่อผู้นำเข้าสินค้าที่ไม่สามารถขายสินค้าออกไปส่งผลต่อความสามารถในการชำระเงิน รวมทั้งผู้นำเข้าบางแห่งก็ฉวยโอกาสอ้างโควิด-19 จ่ายเงินล่าช้า
ผลสำรวจของ “แอทเรเดียส” (Atradius) บริษัทผู้ให้บริการประกันสินเชื่อการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยผลสำรวจบริษัทส่งออกกว่า 1,400 แห่ง ใน 6 ประเทศเอเชีย ได้แก่ จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ไต้หวัน, ฮ่องกง และสิงคโปร์ พบว่าบริษัทเหล่านี้เผชิญกับปัญหาที่ได้รับเงินล่าช้ากว่ากำหนดมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยพบว่าขณะนี้มีใบแจ้งหนี้ (อินวอยซ์) มูลค่ากว่า 52% เลยกำหนดชำระเงินไปแล้ว ซึ่งตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปี 2019 ซึ่งอยู่ที่ 29.8%
ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับประเทศไทย แต่ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยได้รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การส่งออกทั้งของประเทศไทยและทั่วโลกยังคงหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับ IMF ที่คาดการณ์มูลค่าเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2020 นี้ ติดลบ -5.2% ของ GDP โลก ถือเป็นหดตัวมากที่สุดในรอบ 80 ปี และเสียหายมากที่สุดในรอบ 150 ปี
ผู้ส่งออกที่เผชิญกับการถูกเบี้ยวชำระเงินมากที่สุดคือ “อินเดีย” พบปัญหาการชำระเงินล่าช้ากว่ากำหนดเพิ่มขึ้น 69% ขณะที่ไต้หวัน, อินโดนีเซีย, ฮ่องกง, จีน และสิงคโปร์ เผชิญกับความเสี่ยงการเบี้ยวชำระเงินเพิ่มขึ้น 67%, 47%, 37% และ 29% ตามลำดับ
…………………………………………..
Cr: reuters, zeebusiness