ในโลกออนไลน์มีการแชร์เรื่องราวของ นพ.ธวัชชัย กลิ่นสุคนธ์ ซึ่งเป็นศัลยแพทย์หลอดเลือดและปลูกถ่ายไต โรงพยาบาลพระรามเก้า ขณะที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยัง จ.สุรินทร์
โดยเฟซบุ๊กชื่อ “Tawatchai Klinsukon” ของ นพ.ธวัชชัย โพสต์เล่าว่า เดินทางอย่างยากลำบาก นั่งรถตู้ฝ่าสายฝน ไป-กลับ กทม-สุรินทร์ นับสิบชั่วโมง เพื่อการผ่าตัดรับไตบริจาคเพียง 55 นาทีนี้เอง ผ่าตัดบ่อยจนชำนาญ สามารถผ่าตัดรับไตบริจาค (Kidney procurement) เสร็จโดยใช้หมอเพียงคนเดียว (ที่เหลือเป็นพยาบาลช่วยผ่าตัด) ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงแล้ว
การผ่าตัดอวัยวะเพื่อนำไปปลูกถ่ายต่อ (Kidney procurement) นั้น ควรใช้เวลาน้อยที่สุดให้มีช่วงเวลาที่อวัยวะขาดเลือด (ischemic time) สั้นที่สุด เพื่อผลการปลูกถ่ายที่ดี นอกจากความเร็วแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือความแม่นยำ ทำผ่าตัดโดยไม่ให้อวัยวะนั้น บาดเจ็บหรือฉีกขาด จึงต้องฝึกฝนให้ชำนาญทั้งความเร็วและความแม่นยำ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดของการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
ปัจจุบันการผ่าตัดรับไตบริจาคทั้งหมด รวมถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในประเทศไทย จะได้รับการจัดสรรจากสภากาชาดไทยทั้งหมด เพื่อความยุติธรรมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รอคอย อวัยวะอยู่ทั้งใน รพ.รัฐฯ และ เอกชน
โดยทางกาชาดจะจัดสรรอวัยวะ (ไต) ที่เหมาะสม และมีผลการตรวจเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วยแต่ละราย โดยทีมส่วนกลางจะมีทั้งหมด 16 รพ. ทั้งภาครัฐฯ และเอกชน ที่จะออกเดินทางไปผ่าตัด รับไตบริจาคในนามของสภากาชาด โดยจัดลำดับตามคิวหมุนเวียนกันไป
แต่หากรพ.ไหนไม่พร้อมออกด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ก็จะเลื่อนคิวถัด ๆ ไป ออกเดินทางแทน เพื่อที่จะได้ไม่เสียโอกาสในการได้มาซึ่งอวัยวะ (ไต) และ ไม่เสียความตั้งใจอันแน่วแน่ของผู้บริจาคอวัยวะ ที่ได้ตั้งใจมอบอวัยวะ (หัวใจ ไต ตับ ดวงตา) ให้แก่ผู้อื่นในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต นับเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ที่หาสิ่งใดเปรียบไม่ได้
ผมในฐานะศัลยแพทย์ปลูกถ่ายไต จึงตั้งใจที่จะออกเดินทางไปผ่าตัดรับไตบริจาคทุกครั้งที่ทำได้ ไม่ว่าหนทางการเดินทางจะยากลำบากเพียงใด หากสามารถออกเดินทางได้ ก็จะไม่ปฏิเสธเลย เพราะรู้ดีว่ามีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากมายที่รอคอย โอกาสที่จะได้รับการปลูกถ่ายไตนี้อยู่
เดินทางอย่างยากลำบาก นั่งรถตู้ฝ่าสายฝนไป-กลับ กทม-สุรินทร์ นับสิบชั่วโมง เพื่อการผ่าตัดรับไตบริจาค เพียง 55…
Posted by Tawatchai Klinsukon on Monday, June 15, 2020
ที่มา : Tawatchai Klinsukon