(1) บางคนบอกว่านี่คือการตีรวน บางคนพูดว่า นี่คือการพลิกยื้อ และบางคนก็พูดว่า เพิ่งเคยเห็นวิปรัฐบาลที่มีหมากเกมต่อญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคร่วมฝ่ายค้านแบบที่น่าสนใจและติดตามเป็นอย่างยิ่ง!?!
(2) 31 ม.ค.63 สมพงษ์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ยื่นเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล
(3) สมาชิกสภาฯท้ายญัตติไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ขอเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 151
(4) ตามรายชื่อมี6คน แต่ที่ถูกวิพากษ์ว่าเป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงทั้งยังอาจเป็นเท็จก็คือกรณี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(5) โดยข้อกล่าวหาหลักก็คือ พลเอกประยุทธ์ไม่ยึดมั่นและศรัทธาต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(5.1) ล้มล้างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
(5.2) กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(6) ต่อมา 3 ก.พ.63 ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ เลขาฯวิปรัฐ จะยื่นชวน หลีกภัย ประธานสภาฯตรวจสอบญัตติฝ่ายค้านประเด็นของพล.อ.ประยุทธ์เป็นญัตติเท็จ
(7) โดยวิปรัฐบาลเห็นข้อความอันเป็นเท็จขัดต่อข้อบังคับการประชุมสภาหรือเป็นญัตติที่ ต้องแก้ไขปรับปรุง ประเด็นกล่าวหา พล.อ.ประยุทธ์ มีพฤติการณ์ไม่ยึดมั่น และศรัทธาต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(7.1) ล้มล้างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
(7.2) กระทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยมีพฤติการณ์ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(8) ซึ่งตรงนี้เป็นข้อความอันเป็นเท็จอย่างชัดเจน เพราะตั้งแต่พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรียังไม่เคยมีการฉีกรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ก็ยังใช้อยู่
(9) พล.อ.ประยุทธ์ มาจากการเลือกตั้งตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ จึงชัดแจ้งว่าเป็นญัตติที่เป็นเท็จ
(10) นั่นคือสิ่งที่ฝ่ายรัฐได้ออกมาพูดไว้ ซึ่งญัตติดังกล่าวของฝ่ายค้านจะเป็นเท็จจริงหรือไม่ ก็คงขึ้นอยู่กับประธานสภาฯที่จะเป็นผู้พิจารณา
(11) ที่น่าสนใจก็คือ หากเป็นเท็จจริง ทางฝ่ายค้านจะต้องยื่นญัตติใหม่หรือไม่ และจะกระทบหรือส่งผลใดต่อการยื่นญัตติทั้งหมดของฝ่ายค้าน
(12) และที่น่าสืบค้นต่อก็คือที่ฝ่ายค้านเขียนญัตติออกเช่นนั้น มาจากหลักคิดและสาเหตุใด??? ซึ่งก็พบว่า
(12.1) การทำรัฐประหารเมื่อ 22 พ.ค.2557 ที่ผ่านมา
(12.2) การถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบ
(13) ที่ต้องพิจารณาก็คือการทำรัฐประหารคือล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือไม่ ซึ่งในเชิงวิชาการตรรกะพื้นๆก็คงจะตอบว่าใช่!?!
(14) แต่การรัฐประหารของพลเอกประยุทธ์ คือการล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งประเทศไทยก็ยังคงใช้รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเช่นเดิม
(15) แม้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยจะพยายามสร้างวาทกรรมประทับให้ติดตัวพลเอกประยุทธ์ ว่าเป็นระบอบเผด็จการ แต่ในทางกฏหมายจะเห็นว่า ประเทศไทยยังคงเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(16) ส่วนประเด็นถวายสัตย์ปฏิญาณตนไม่ครบนั้น ต้องไม่ลืมว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเรื่องนี้ไปแล้วหลังมีคนไปร้อง ซึ่งศาลก็ชี้ว่า เป็นการกระทำระหว่างรัฐบาลกับพระมหากษัตริย์
(17) ดังนั้นจึงจะเห็นว่า ญัตติ2ประเด็นนี้ของฝ่ายค้านดูจะเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่สมเหตุสมผลนัก ส่วนจะเป็นเท็จหรือไม่ต้องอยู่ที่การวินิจฉัยของประธานสภาฯ
(18) เพราะในขณะเดียวกันในพรรคร่วมฝ่ายค้านเอง ก็ปรากฏบางคนที่มีพฤติกรรมลบหลู่สถาบันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นคดีความอยู่ด้วยซ้ำ!!! ทั้ง Portrait ธนาธร ที่เจ้าตัวพูดไว้ชัดแจ้ง ต้องการมีอำนาจที่จะไปต่อรอง……..???
#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง