มาดามเดียร์ ชี้ปชช.มีสิทธิ์เข้าถึงรับข่าวจริง เผยรัฐต้องจับกุมมือปล่อย Fake news ระวังเป็นอาวุธทิมแทงทิ่มแทงไทย

0

 

จากกรณีของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าที่คาดว่าจะเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน  ซึ่งได้สร้างซึ่งได้สร้างความตระหนกให้กับประชาชนโดยเฉพาะการเกิด ข่าวปลอมหรือ Fake News ที่แชร์ผ่าน Social Network อย่างรวดเร็ว เกิดเป็นความเข้าใจผิด และอาจสร้างความเสียหายได้ ล่าสุดทางด้าน น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้กล่าวถึงประเด็นดังกล่าว…จะเห็นได้ว่า ในส่วนของไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่คลิปวีดีโอ ร่วมไปถึงเนื้อข่าวบางเรื่องไม่เชิงว่าเป็น Fake news โดยตรง แต่เป็นการนำข้อมูลข่าวมาพาดหัว ก็อาจเป็นข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนแต่ว่าด้วยความไม่ครบถ้วนหลายๆครั้ง ในแง่ของผลลัพธ์ก็ไม่ต่างจาก Fake news ก็ให้เกิดความเข้าใจผิดต่อประชาชน ที่ได้อ่านสาร หรือผู้รับสาร หรือผู้เสพสื่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของตัวคลิปวีดีโอหลายๆเรื่อง ในแง่ของผู้ผลิดตที่ตั้งใจจะกระทั่งปล่อยเพื่อเป็น Fake news ในการที่ลงไปเผยแพร่ให้กับประชาชนโดยทั่วไปเกิดความตื่นตระหนก

 

เรื่องนี้จริง ๆแล้วทั้งหมดเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง ไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่เราเกิดวิกฤตอย่างกรณีของไวรัสโคโรน่าเพียงอย่างเดียว  แต่ในข้อเท็จจริงไม่ว่าจะช่วงไหน ๆ ทั้งที่มีวิกฤต หรือไม่มีวิกฤต ด้วยข้อมูลเหล่านี้ แม้จะเป็นความจริงเพียงครึ่งเดียว ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจที่บิดเบือน หรือกระทั่งที่จงใจตั้งนำเผยแพร่ข้อมูล ที่ไม่มีความจริงพูดง่ายๆว่าเป็นเท็จตั้งแต่ต้นลงไปเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำโดยตลอด

 

ในช่วงที่ผ่านมาไวรัสโคโรน่าเอง โทษของการเผยแพร่ในเรื่องของ Fake news มีหลาย ๆ อย่าง ไม่ได้พูดถึงในแง่โทษของผู้กระทำ แต่หมายถึงโทษเมื่อเวลาใส่ข้อมูลเหล่านี้ลงไปในสิ่งที่สังคมออนไลน์ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดทำให้วันนี้เราจะเห็นได้ว่าคนไทยมีความตื่นตระหนกโดยการที่รับข้อมูลที่ผิด ๆ แล้วจะเห็นได้ว่าความตื่นตระหนกก็กลับกลายมาเป็นอาวุธที่ทิ่มแทงประเทศเราเอง  ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ความเข้าใจผิดในเรื่องของความร้ายแรงของตัวไวรัสโคโรน่าตั้งแต่แค่มองตาก็อาจจะแค่ระบาดสู่กันได้ หรือกรณีที่มีข้อมูลว่า นักท่องเที่ยวที่เป็นคนอู่ฮั่นที่มีสื่อบางสำนักไปพาดว่าเข้ามาใช้ประเทศไทยถึง 5ล้านคน สุดท้ายแล้วข้อมูลเหล่านี้ ล้วนทำให้คนไทยเกิดความตื่นตระหนก แน่นอนว่าในตอนนี้เกิดผลเสียกับการท่องเที่ยวอยู่แล้วแต่ว่าข้อมูลหลายอย่างที่เป็นเท็จยิ่งทำให้ผลเสียที่เกิดขึ้นทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

โดยเฉพาะอย่างข้อมูลที่เป็นเรื่องเท็จ ทำให้ประชาชนหนึ่งคน ที่อยากจะได้ข้อมูลจริงเพื่อที่จะนำมาป้องกันตัวเอง ป้องกันคนที่รักหรือครอบครัว เกิดความสับสนในส่วนของข้อมูลนั้น ในส่วนตัวและในฐานะประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันเพราะฉะนั้นประชาชนเองก็ควรจะมีสิทธิ์ในการที่จะเข้าถึงข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้ ได้อย่างเท่าเทียมกันเช่นกัน การกระทำของคนบางคนที่ไม่ได้คิดว่ากำลังเบียดเบียนในเรื่องของสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นอยู่หรือไม่

 

อย่างไรก็ตามในการนำเสนอของสื่อหรือรัฐบาลก็ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสื่อสารยุคนี้  ก็คือการสื่อสารแบบtransference ต้องเป็นการสื่อสารข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา  ซึ่งตนก็ไม่เห็นด้วยว่าหน่วยงานหรือรัฐบาลมีการปกปิดข้อมูล แต่การให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย และต้องไม่นำมาซึ่งความตระหนกจนเกินเหตุ แต่ต้องการให้ข้อมูลเพื่อให้คนไทยมีข้อมูลที่เพียงพอ ที่จะสามารถตระหนัก และ ตั้งรับโดยไม่ประมาณ  ซึ่งไม่ได้ต้องการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและสุดท้ายจะกลายเป็นอาวุธทิมแทงตัวเราเอง คนที่เรารักหรือแม้แต่ประเทศของเราเอง

 

ท้ายที่สุดคุณวทันยังกล่าวอีกว่า เรื่องของ Fake news เป็นเรื่องที่ต้องทำในทุกภาคส่วน ในเรื่องของภาครัฐเองก็อยากเห็นการดำเนินคดีกับคนที่ปล่อย Fake news ลงบนโซเชียลแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย ให้กลุ่มคนดังกล่าวได้รับโทษและต้องมีมาตรการลงโทษที่ชัดเจนเพราะว่าสิ่งเหล่านี้ ถือว่าเป็นการควบคุมการกระทำผิดโดยใช้เครื่องมือกฎหมายแต่แน่นอนว่ากฎหมายแม้จะมีการบังคับใช้อย่างไร หรือโทษกฎหมายร้ายแรง อย่างไรสุดท้ายกฎหมายยังวิ่งไล่ตามการกระทำส่วนบุคคล เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คงจะดีไม่พ้นในเรื่องของการปลูกฝังในแง่ของจิตสำนึกที่ดี ตั้งแต่การเป็นประชาชนหน้าที่ของพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบสังคม และไม่ใช่แค่ตระหนักที่จะไม่ปล่อยFake news แต่ว่าในฐานะผู้รับสาร ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดีพอที่จะรู้ได้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือข้อมูลที่เป็นเท็จหรือไม่  ที่สำคัญที่สุดและจะยิ่งดี หากเรารู้ว่าการเผยแพร่ข้อมูลบางครั้ง แนะนำหรือแอบแฝงมาด้วยเจตนาไม่ดี  ในเรื่องการเผยแพร่Fake news ในสากลหรือทั่วโลก ได้ให้ความสำคัญและความตระหนัก ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอย่าง face book  หรือองค์กร นาๆชาติ เช่น IFCN  องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องการการตรวจสอบเรื่อง Fake news เป็นองค์กรที่มีเครือข่ายความร่วมมือทั่วโลก ดังนั้นจะเห็นว่าหลายประเทศทั่วโลกให้ความตนักและตื่นตัวกับปัญหาดังกล่าว

 

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดีที่สุดก็ต้องเริ่มที่ตัวเราเองในฐานะประชาชนต้องรู้และแยกแยะได้ว่าอะไรคือFake news และต้องรู้เท่าทันเจตนาที่แอบแฝงมา ซึ่งก่อนที่จะแชร์ หรือส่งต่อให้ผู้อื่น ข้อความเหล่านั้นเป็นประโยชน์หรือไม่  นอกเหนือจากไม่มีประโยชน์ มิหน้ำซ้ำข้อความเหล่านั้นจะเป็นเหมือนอาวุธให้บุคคลอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย ต่อให้เป็นข้อเท็จจริงก็ไม่สมควรที่จะส่งต่อด้วยซ้ำ