จากที่วันนี้(16 มิ.ย.63)ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบให้เพลงสดุดีจอมราชา และเพลงสดุดีพระแม่ไทย เป็นเพลงสำคัญของแผ่นดิน
โดยเพลงสดุดีจอมราชา เป็นเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ในการขับร้องถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ซึ่งได้เปลี่ยนเนื้อ ช่วงหนึ่งจาก “ถวายพระพรจอมราชัน ธ อนันต์ปรีชาชาญ” เป็น “ ถวายพระพรองค์ราชินี คู่บารมีองค์ราชัน”
สำหรับเพลงสดุดีพระแม่ไทย เพื่อใช้ในการขับร้องถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาส
ทั้งนี้ ครม.เคยมีมติให้ เพลงสำคัญของแผ่นดินมี 6 เพลงประกอบด้วย เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาชัย เพลงมหาฤกษ์ เพลงสดุดีมหาราชาและเพลงภูมิแผ่นดิน นวมินทร์มหาราชา
ด้านนางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติ 5 โครงการช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย แก่ประชาชกลุ่มต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 มีรายละเอียด ดังนี้
1.ช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จ่ายให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากโครงการของภาครัฐ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 1,164,222 คน เดือนละ 1,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน (พฤษภาคม –กรกฎาคม 2563) โดยจ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3.49 พันล้านบาท (3,492,666,000 บาท)
2.ช่วยเหลือผู้ที่ลงทะเบียนไม่สำเร็จตามโครงการเราไม่ทิ้งกัน ของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีจำนวน 302,160 คน ที่ตรวจสอบความซ้ำซ้อนแล้ว ยังไม่เคยได้รับความช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย จากโครงการของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 กรอบวงเงินงบประมาณ ไม่เกิน 906 ล้านบาท (906,480,000 บาท) โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังไปพิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายและกลไกการความช่วยเหลือให้ชัดเจน และส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ฯพิจารณาใน 1 เดือน
- ช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบาง ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ กลุ่มเปราะบาง รวมทั้งหมด 6,781,881 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากมาตรการอื่นของรัฐ และไม่ซ้ำซ้อนกับระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการของภาครัฐ ประกอบด้วย
1) เด็กจากครัวเรือนยากจน (ตั้งแต่แรกเกิด – 6 ปี) จำนวน 1,394,756 คน 2) ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 4,056,596 คน 3) ผู้พิการ จำนวน 1,330,529 คน โดยจ่ายเงินเยียวยารายละ 1,000 บาทต่อเดือน เพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงเด็กแรกเกิด เพิ่มเติมจากเบี้ยความพิการ และเพิ่มเติมจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกรฎาคม 2563 กรอบวงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2.03 หมื่นล้านบาท (20,345,643,000 บาท) 4) ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1 เพิ่มกลุ่มเป้าหมายเกษตรกร รวมถึงเกษตรกรที่ด้อยโอกาสและยังไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร จำนวน 137,093 ราย
ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 และผ่านการตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับผู้ได้รับสวัสดิการผ่านระบบข้าราชการของกรมบัญชีกลางและระบบประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคม รวมทั้งมาตรการอื่นใดของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาจากผลกระทบของโรคโควิด-19 แล้ว เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวเป็นไปอย่างเท่าเทียม
การดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบวงเงินและจำนวนเกษตรกลุ่มเป้าหมายไม่เกิน 10 ล้านราย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 มากไปกว่านนั้น ครม.ได้เห็นชอบในหลักการ
4.2 การขยายเวลาการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรได้อย่างสมบูรณ์ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จำนวนประมาณ 120,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรในรอบการผลิตที่ผ่านมาแล้ว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการลงทะเบียนเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563