ไม่ล้มกษัตริย์​แต่​​มีพฤติการณ์​ ล้มล้างประชาธิปไตย?

0

ไม่ล้มกษัตริย์แต่​​มีพฤติการณ์ล้มล้างประชาธิปไตย?

ดร.เวทินชาติกุลสถาบันทิศทางไทย

สรุปประเด็น: พิเคราะห์เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่คิดพูดทำ ไม่ใช่แค่ปฏิกษัตริย์นิยม​ (anti-royalism)​ แต่อาจเป็นปฏิประชาธิปไตยนิยม​ (anti-democratism)​ ด้วย

ผมและนักวิชาการทิศทางไทยย้ำมาตลอดว่า​ “ปฏิกษัตริย์นิยมไม่ใช่​ “ล้มเจ้า

ใครบอกว่า​ “ปฏิกษัตริย์นิยม” = “ล้มเจ้า” = “ล้มล้างการปกครองแสดงว่ากำลังมั่วหรือสับสนในตัวเอง

รวมถึง ทั้งผู้ถูกร้องดร.ปิยบุตรแสงกนกกุล  และผู้ร้อง ดร.ณฐพร โตประยูร ด้วย

เหตุผลเพราะ​ “ปฏิกษัตริย์นิยมหมายถึงความคิดว่าระบบกษัตริย์​ (monarchy)​ ไปด้วยกันไม่ได้กับเสรีประชาธิปไตยแบบตะวันตก​ (western  liberal-democracy)​ (และไม่สนับสนุนการปรับระบอบประชาธิปไตยตะวันตกตามบริบทสังคมตะวันออกหรือสังคมเดิม)​

อุดมการณ์แบบอนาคตใหม่ต้องการประชาธิปไตยแบบตะวันตกประชาธิปไตยบริสุทธิ์แน่นอนว่าโดยหลักการของพวกเขาย่อมเป็นขั้วตรงข้าม​ (ปฏิ)​ กับระบบกษัตริย์อยู่แล้ว

แต่เป็น​ “ปฏิก็ไม่ได้แปลว่าต้อง​ “ล้มล้าง” (overthrown)​ หรือ​ “รื้อทิ้ง” (abolitionism)​ หรือ​ “ทำให้สูญสิ้น” (annihilationism)​ เสมอไป

ใช่ครับอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิมก็เป็นปฏิกษัตริย์นิยมแต่เป็นแบบ​ “สุดโต่ง” (extreme-anti royalist) (ที่เป็นขั้วตรงข้ามกับ​ “กษัตริย์นิยมล้นเกิน” (hyper-royalism)​ ที่ปิยบุตรพูดถึงในงานแถลงปิดคดีที่มธ.รังสิต​ (18​ ..2563) และเคยสุดโต่งกันทั้งสองฝ่ายจนเกิดเหตุโศกนาฏกรรม​ 6​ ตุลาฯขึ้น)​

แต่ต่อสาธารณะธนาธรจึงรุ่งเรืองกิจ  ปิยบุตรพรรคอนาคตใหม่ยังไม่ได้แสดงความสุดโต่งแบบนั้นออกมาอย่างประจักษ์ชัด​​ ด้วยเหตุผลที่มิอาจคาดหยั่งเช่นไม่ได้คิดสุดโต่งจริงๆหรืออาจรู้ช่องว่างของกฏหมายใช้การตีความวิชาการทำให้เกิดความคลุมเครือเลี่ยงบาลีเป็นไปได้ทั้งนั้น

ดังที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย

ไม่ยุบไม่ได้แปลว่าไม่ได้ทำผิด

กรณีการกระทำอื่นใด ของผู้ถูกร้องทั้ง ๔ จะเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นหรือไม่ จะต้องไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป” (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ  ยกคำร้องคดีพรรคอนาคตใหม่ล้มล้างการปกครอง​ 21​ ..​2563)​

ทัศนะการพูดแสดงความเห็นของธนาธรปิยบุตรพรรณิการ์  วานิช และพรรคอนาคตใหม่ใช่ว่าจะไม่ผิดแต่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายข้ออื่นได้ (เช่น.112)​ แต่ไม่ใช่กฎหมายข้อล้มล้างการปกครอง

ชัดเจนว่าสิ่งที่พรรคอนาคตใหม่ต้องการจะทำและจะดึงดันทำเอาให้ได้คือการทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ในรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง​ (เช่นพระมหากษัตริย์ต้องสาบานตนต่อรัฐสภาไม่ใช่รัฐสภาต้องสาบานตนต่อพระมหากษัตริย์หรือพระมหากษัตริย์ต้องพิทักษ์ไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ​ (เพื่อไม่ให้เกิดรัฐประหาร))​

ในทางประจักษ์พรรคอนาคตใหม่ต้องการ​ “กำกับ” “ควบคุมหรือกระทั่ง​ “ลดทอนให้​ “พระราชอำนาจอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ​ (เช่นยกมือไม่เห็นชอบ...โอนกำลัง​ (แม้จะอ้างเหตุผลย้อนแย้งว่าเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ตาม))​ ซึ่งเท่ากับพรรคอนาคตใหม่เห็นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ยังไปด้วยกันไม่ได้กับระบบประชาธิปไตยที่ถือรัฐธรรมนูญเป็นใหญ่

ตัดภาพกลับมาที่รากฐานความคิดของธนาธรในหนังสือ​ Portrait​ ธนาธร

“…เราคิดว่า วิธีการของเราคือต้องมีอำนาจและต่อรอง (กับ)××××

นี่ต่างหากคือเป้าหมาย ถ้าจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ เอาทหารออกจากการเมืองไม่ได้หรอก

จัดการเรื่องนี้ไม่ได้ จัดการเรื่องศาลไม่ได้หรอก

จัดการเหี้ยห่าอะไรไม่ได้…”

ธนาธรจึงรุ่งเรืองกิจหนังสือ​ Portrait​ ธนาธร(2561)

ซึ่งก็คือความคิดหรืออุดมการณ์แบบปฏิกษัตริย์นิยมนั่นเอง

ส่วนจะเรียกว่าเป็น​ mild anti-royalism​ ก็ตามใจแต่เป็นแน่ๆ

ดังนั้นที่ศาลตัดสินที่ปิยบุตรพูดก็ถูกแล้วคือศาลบอกว่ายังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่เพียงพอว่าพรรคอนาคตใหม่มีพฤติการณ์ที่ล้มล้างและในทางเผยแจ้งปิยบุตรก็ยืนยันมาตลอดว่าไม่ได้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างน้อยก็เหมือน​ “จะยอมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 2​ “ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

แต่ถ้าไปดูในมาตรา 3 “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญอันนี้ไม่รู้

เพราะปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ กล่าวชัดเจนในการแถลงปิดคดียุบพรรคอนาคตใหม่ว่าพี่น้องประชาชนผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศไทย

ชัดเจนว่านี่คือ​ ​”ความคลุมเครือ“​ ที่พรรคอนาคตใหม่จงใจให้เกิดขึ้นตั้งแต่นโยบายของพรรคที่ระบุไว้แค่​ “ประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญและศาลสั่งให้ไปแก้ไขไม่ให้คลุมเครือ

ถึงได้บอกว่าพรรคอนาคตใหม่ยังยืนกรานในหลักการ​ประชาธิปไตยตะวันตกบริสุทธิ์​ (pure western liberal-democracy)อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง

 

เรื่อง​ “ล้มล้างสถาบันฯแสดงออกแบบคลุมๆเครือๆไม่มีหลักฐานแบบ​ “คาหนังคาเขาก็ต้องดูกันต่อไปแต่เรื่องที่มีหลักฐานตำหูตำปากตำจมูกตำปากก็คือเรื่องคำโกหกคำโตของปิยบุตรแสงกนกกุล

อันนี้เข้าข่ายเป็น​ “ปฏิปักษ์กับหลักประชาธิปไตยเลยทีเดียว

เปลวสีเงินเขียนไว้ในบทความ​ “ปิยบุตรยังเป็นคนอยู่หรือไม่?” รายละเอียดอยู่ในนั้นผมขอเอามาเล่าบางส่วนที่สำคัญและจะชี้ให้เห็นว่าเรื่องนี้มีนัยสำคัญยิ่ง

ซึ่งยังไม่มีใครชี้

ปิยบุตรบอกว่า​ “…มีการข้อสังเกตว่า พรรคอนาคตใหม่จงใจให้ 4 ..มีชื่อใน 2 พรรคการเมือง เพื่อให้ขาดคุณสมบัติ ส..หรือไม่นั้นยืนยันว่า พรรคไม่ได้กลั่นแกล้ง 4 .. เพราะไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร เรื่องนี้พรรคมีหน้าที่ส่งเอกสารให้ กกต. แต่ไม่มีหน้าที่ไปรับผิดชอบว่า 4 ..จะได้พรรคสังกัดใหม่หรือไม่ และกลับกลายเป็นพรรคอนาคตใหม่ที่ต้องชี้แจงให้สังคมเข้าใจ ทั้งที่ 4 ..โหวตสวนมติพรรคหลายครั้ง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ 4 ..ที่ต้องรับผิดชอบตัวเอง…” และ​ ​”จะต้องไปตรวจสอบความถูกต้องเรื่ององค์ประชุมในวันที่ 16 ..62 ก่อน ดังนั้นในขณะนี้จึงยังไม่สามารถให้ความชัดเจนได้ว่า มติขับ 4 ..ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่” (ปิยบุตรแสงกนกกุล​ 15​ ..2563​)​

แต่กวินนาถ ตาคีย์ หนึ่งใน..ที่ถูกขับออกจากพรรคได้เปิดคลิปเป็นหลักฐานว่าในวันที่​ 16​ ..​2562​ นั้นปิยบุตรเป็นประธานได้นับองค์ประชุมระบุว่าครบด้วยตัวเอง

“…เรามาร่วมประชุมกันวันนี้ คู่กรณี คือทั้ง 4 ท่าน ส.. ถูกเสนอให้ขับออกจากพรรค ก็จะไม่ได้เข้าร่วมประชุมในวันนี้

เพราะว่า เป็นเรื่องที่เขามีส่วนได้เสียโดยตรง ฉะนั้น เราก็มีองค์ประชุมเท่าที่ปรากฏทั้ง ส..และกรรมการบริหาร

ขออนุญาตเช็กองค์ประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอนาคตใหม่ครับ….ขออนุญาตเช็กนะครับ..กรรมการบริหารพรรคครับ….ครบนะครับ

เพราะฉะนั้น ตอนนี้มีองค์ประชุมทั้งสิ้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบเขตทั้งหมด 21 ท่าน กรรมการบริการพรรค 12 ท่าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ 45 ท่าน

รวมเป็นองค์ประชุมในวันนี้ ทั้งสิ้น 78 ท่าน ครับองค์ประชุมเราครบถ้วนนะครับ…”

“…มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คุณกวินนาถ ตาคีย์ คุณฐนภัทร กิตติวงศา คุณจารึก ศรีอ่อน และคุณศรีนวล บุญลือ พ้นจากสมาชิกภาพของพรรคอนาคตใหม่ ขอบคุณครับ ปิดประชุมครับ…”

(ปิยบุตรแสงกนกกุล​ 16​ ..​2562)

ไม่เชื่อว่าจะเห็นนักการเมืองที่เรียกตัวเองว่าเป็นคนรุ่นใหม่อ้างตนเป็นความหวังของประเทศจะกล้าโกหกต่อประชาชนซึ่งๆหน้าได้ขนาดนี้

เปลวสีเงินถึงกับตบะแตกต้องถามว่า​”ยังเป็นคนอยู่หรือเปล่า?”

แต่สิ่งที่ปรากฏนี้น่าจะเป็น​ “หลักฐานที่เพียงพอ“​ ที่จะบอกว่าปิยบุตรเป็นปฏิปักษ์และต้องการล้มล้างประชาธิปไตย

เพราะอะไร? เชิญสดับ

ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ต้องการเปลี่ยนย้ายถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองจาก​ “อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสต์จักรและ​ “สิทธิอันศักดิ์สิทธิ์ของชนชั้นปกครองในยุโรปในยุคกลางใหม่มาเป็นอำนาจของประชาชนคนธรรมดาทั่วๆไป

การทำให้ประชาชนมีอำนาจจำเป็นต้องสร้างสถานะศักดิ์สิทธิ์(แบบใหม่)​ให้กับอำนาจของปวงชนเพื่อทดแทนอำนาจศักดิ์สิทธิ์จาก​ “สิ่งอื่นที่มีมาแต่เดิม​ (ไม่ว่าจะในนาม​ “พระเจ้าหรือ​ “กษัตริย์” )

ประเด็นก็คือความศักดิ์สิทธิ์ใหม่ที่จะถูกสถาปนาขึ้นมานั้นคืออะไร?

คำตอบที่มีให้ก็คือ​ “สถานะพิเศษของมนุษย์” (Human​ Exceptionism)

ปรัชญาและวรรณกรรมตะวันตกสมัยใหม่ในยุโรปสร้าง​ “เรื่องเล่าว่า​”มนุษย์มีสถานะพิเศษหรือเป็น​ “อารยะกว่า​ “ธรรมชาติ” (หมายถึงสิ่งธรรมชาติรวมถึงสัตว์)​

โดยรวมๆความพิเศษของมนุษย์นั้นเชื่อว่ามี

1.​ ความมีเหตุผล

2.​ ความสามารถรู้และกำหนด(ตัวเอง)ทางศีลธรรม

3.​  มีสังคม​ (อารยะ)

4.​  เจตจำนงค์เสรี

หลักการแบบนี้มาจากรากฐานความคิดตะวันตกสมัยใหม่แบบ​ “มนุษย์นิยม” (humanism)​ ที่มองคนทุกคนในฐานะ​ “องค์ประธานหรือ​ “ศูนย์กลางของจักรวาลอย่างมีความเท่าเทียมและเสมอกัน  มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มีสิทธิ  มีเสรีภาพมีความเสมิภาคเหมือนกัน

รากฐานคิดแบบนี้มี​ “สมมุติฐานว่า

1.​ มนุษย์มีสถานะพิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

2.​ สถานะพิเศษของมนุษย์ที่สำคัญที่สุดก็คือ มีเหตุผล

3.​ เหตุผลทำให้มนุษย์เข้าถึง​ “ความจริงได้โดยไม่ต้องพึ่งพิง​ “สิ่งอื่น” (พระเจ้า, อำนาจศักดิ์สิทธิ์)​

4.​ เหตุผลทำให้มนุษย์เข้าถึง​ “ความดีงามได้โดยไม่ต้องพึ่งพิง​ “สิ่งอื่น” (พระเจ้า, อำนาจศักดิ์สิทธิ์)​

5.​ เหตุผลเป็นสิ่งสากล​ (ทุกคนไม่ว่าจะมีชาติกำเนิดหรือชนชั้นสถานะทางสังคมแบบไหนก็สามารถมีได้เหมือนกัน)​

6.​ เพราะฉะนั้นโดยหลักการทุกคนที่  เท่ากัน” “เสมอกันในสถานะความเป็นมนุษย์และศักดิ์ศรีความเป็นคน

ด้วยสถานะพิเศษเหล่านี้ประชาชนปวงชนหรือพลเมืองจึงอยู่ในฐานะผู้ครอบครอง, เจ้าของอำนาจ, เป็นผู้มีสิทธิอันชอบธรรมทางการเมืองในตัวเองได้

และในทางตรงกันข้ามถ้ามนุษย์ไม่ได้ดำรงอยู่ในสถานะพิเศษที่ว่ามานี้เช่นไร้เหตุผลไร้ศีลธรรมโกหกหลอกลวงกันไร้อารยะสภาพสังคมมนุษย์ก็จะไม่ต่างอะไรจาก​ “สภาพตามธรรมชาติดั้งเดิม” (State​ of​ Nature)​ หรือสังคมดิบเถื่อนของสัตว์

นัยสำคัญตรงนี้ก็คือประชาธิปไตยหรือการให้อำนาจปกครองเป็นของประชาชนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผูกโยงหลักการประชาธิปไตยเข้ากับความชอบธรรมอื่นๆเช่นมีเหตุมีผลมีศีลธรรมเป็นอารยชน

ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ผู้ที่ต้องการสังคมประชาธิปไตยและเรียกร้องประชาธิปไตยจะต้องยืนหยัดในหลักการเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด​ (เหมือนพระเอกที่ต้องเล่น​ “บทพระ“)​

หรือในทางกลับกันต้องไม่ละเมิดหลักการที่สำคัญเหล่านี้

การโกหกคือการละเมิดหลักศีลธรรมของระบอบประชาธิปไตยที่เลวร้ายที่สุดเพราะ

1.​ ล่วงละเมิดต่อกฎสากล(ตามเหตุผล)​ทางศีลธรรม

2.​ ละเมิดต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น

3.​ เห็นบุคคลอื่นเป็นเครื่องมือเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายของตน

(ใครสนใจศึกษาเพิ่มเติมในหลักวิชาการเรื่องนี้คือหลักจริยศาสตร์ตะวันตกแบบ​ Deontology ของนักปรัชญาเยอรมัน​ Kant ซึ่งจะไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้เวทิน)​

เรื่องนับองค์ประชุมยังกล้าโกหกซึ่งหน้านั้นเป็น​ “โกหกแรก” ​ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเรื่องที่พร่ำพูดว่าคนเท่าเทียมกันจะไม่ใช่เรื่อง​ “โกหกซ้ำสอง

ถ้าจำกันได้พล..สุจินดาคราประยูรแห่งคณะรสช.​โกหกคนทั้งประเทศ​ “เสียสัตย์เพื่อชาติและผลที่ตามออกมาคือเหตุการณ์พฤษภา​ 2535​

ตรงนี้แหละที่น่าสงสัยว่าปิยบุตรกำลังทำลายหรือล้มล้างประชาธิปไตยอยู่หรือไม่?

แม้อาจมีความผิดตามข้อกฏหมายหรือตามรัฐธรรมนูญเรื่องส่งเอกสารเท็จ​​ แต่ความผิดที่ร้ายแรงกว่านั้นก็คือการโกหกนั้นละเมิดหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยเลวร้ายพอๆกันหรือมากกว่าเผด็จการที่ทำรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญเสียด้วยซ้ำ

ประชาธิปไตยเคารพคุณค่าความเป็นคนเสมอเหมือนกัน

เผด็จการที่ดีๆ​(ถ้ามี)​ก็อาจเคารพคุณค่าความเป็นคนบ้าง

การโกหกคือการละเมิดคุณค่าความเป็นคนของผู้อื่นอย่างร้ายแรง

เปลวสีเงินไม่ผิดหรอกที่ถามว่า​​ “ปิยบุตรยังเป็นคนอยู่หรือไม่?”

คนที่ถูกถามว่า​ “ยังเป็นคนอยู่หรือไม่?” ถูกจับได้ถ้ายังกล้าพูดต่อสาธารณชนเรื่องประชาธิปไตยอำนาจประชาชนคนเท่าเทียมกันถ้าไม่เรียกว่ากำลัง  ล้มล้าง” (overthrown)​ หรือ​ “รื้อทิ้ง” (abolitionism)​ หรือ​ “ทำให้สูญสิ้น” (annihilationism)​ ไปซึ่งรากฐานหลักของประชาธิปไตยแล้วจะให้เรียกว่าอะไร?