(1) การหันหลังให้ประชาธิปัตย์ของนายกรณ์ ไม่เพียงสะท้อนบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคแล้ว ยังสะเทือนมาถึงสังคมการเมืองภายนอกพรรคด้วย?!?
(2) การยึดมั่นถือมั่นในคำว่าประชาธิปไตยของประชาธิปัตย์ เป็นส่วนหนึ่งของความถดถอยของพรรคที่กำลังย่างเข้าปีที่ 74หรือไม่???
(3) เพราะความพ่ายแพ้ของประชาธิปัตย์ ไม่ได้มีแค่ช่วงเวลาไม่นานมานี้ หากแต่การดำรงความแพ้แบบซ้ำซากนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว
(4) ก่อนนี้ 13 พ.ย.2561ประชาธิปัตย์ เปิดตัวกลุ่มนิวเดม (New Dem) ที่ย่อมาจากคำว่า นิวเดโมเครต หรือ ประชาธิปัตย์ใหม่ จำนวน 21 คน มี “ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นแกนหลัก ก่อนจะแตกกระสานซ่านเซ็นกันไป???
(5) ข้อดีประการหนึ่งของพรรคเก่าแก่แห่งนี้คือ ไม่มีความเป็นเจ้าของพรรค ภายในประกอบด้วยกลุ่มก้อน กระนั้นในความเป็นจริงที่ยากจะปฏิเสธก็คือ มีกลุ่มคนที่ยึดพรรคด้วยบารมีที่อยู่มายาวนาน
(6) ชวน หลีกภัย , บัญญัติ บรรทัดฐาน คือสองคนเก่า-คนแก่ที่คล้ายว่าเป็นเงาทาบทับพรรคแห่งนี้ ด้วยบารมีทางการเมือง เช่นนี้หรือไม่ที่ภาพที่คนนอกมองเข้ามาจึงคล้ายจะเห็นการเมืองแบบเก่าผ่านสองนักการเมือง ดังที่มีเสียงเล็ดลอดออกมาจากพรรค???
(7) การเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ครั้งล่าสุดก็ว่ากันว่า พลังบารมีของนายหัวชวนและนายหัวบัญญัติ ช่วยผลักดันให้จุรินทร์ ขึ้นนั่งหัวหน้าพรรคสำเร็จ โดยมีจำนวนส.ส.ในกลุ่มของทั้งสองช่วยลงคะแนนโหวตให้!?!
(8) หากเป็นเช่นนั้น จะมองโดยตั้งข้อสังเกตไว้ได้หรือไม่ว่า จุรินทร์ คือตัวแทนของสองผู้มีบารมีของพรรค อันหมายรวมถึงการเป็นตัวแทนของการเมืองแบบเก่า ที่จะทำให้พอมองเห็นอนาคตของพรรคว่าจะอยู่แบบเก่าต่อไปหรือไม่???
(9) การขับเคลื่อนของพรรคประชาธิปัตย์ในห้วงยามนี้ และอาจรวมไปถึงข้างหน้านั้น มีจุรินทร์และนิพนธ์เป็นแกนขับเคลื่อนหลัก โดยมีอภิสิทธิ์ เป็นพันมิตรเฉพาะช่วงใด-งานหนึ่งหรือไม่??? เรื่องนี้ก็ควรตั้งเป็นข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง!!!
(10) ต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้านี้หมอวรงค์ก็ลาออกไปแล้ว ตามมาด้วยพีระพันธุ์ ล่าสุดก็นายกรณ์ ซึ่งแน่นอนอย่างที่สุดว่า ไม่ใช่รายสุดท้ายที่จะเดินออกมาจากหลังคาประชาธิปัตย์???
(11) ประชาธิปัตย์ต้องยอมรับว่า การออกมาของบุคคลสำคัญ ยกเว้นนายอภิสิทธิ์ มีการสะท้อนถึงปัญหาภายในพรรคซึ่งมีข้อเท็จจริงประกอบอยู่ และเชื่อว่าประชาชนก็ย่อมเห็นเช่นกัน!?!
(12) การลาออกมาไม่ว่าจะเป็นหมอวรงค์ พีระพันธุ์ ที่ปัจจุบันไปปรากฏตัวทำงานอยู่ทั้งในพรรคการเมืองใหม่และบทบาทของที่ปรึกษานายกฯ ดังนั้นสำหรับนายกรณ์ ที่จะไปตั้งพรรคใหม่นั้นจึงเป็นเรื่องที่น่าจับตาชวนสนใจเป็นอย่างยิ่ง!!!
(13) แน่นอนว่าย่อมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตั้งความหวังกับพรรคใหม่ของนายกรณ์ ที่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร และจะฝากความหวังไว้หรือไม่??? แต่อย่างน้อยการได้ไปทำการเมืองใหม่ๆแบบที่ตนเองต้องการ ไม่ต้องอยู่ภายใต้เงาของใครอีกต่อไป!?! นั่นก็นับว่า คุ้มค่าแล้วมิใช่หรือ???
#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง