(1) ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อ 11 ม.ค.2563 ที่ประชุมสภาฯโหวตเห็นชอบพ.ร.บ.งบฯปี63 ทั้งฉบับในวาระสาม 3.2ล้านล้านบาท ด้วยเสียง 253 ต่อ 0 งดออกเสียง 196 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
(2) มติที่ออกมามีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะปรากฏว่า มีส.ส.ฝ่ายค้านลงคะแนนเห็นด้วยให้กับฝ่ายรัฐบาล 7 คน
(3) พรรคเศรษฐกิจใหม่ 5 คน พรรคเพื่อไทย 1 คน และพรรคประชาชาติ 1 คน
(4) พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ลงมติไม่ลงคะแนนเสียง
(5) ยังพบว่าบรรดาส.ส.เหล่านี้เคยสวนมติฝ่ายค้านลงมติร่วมเป็นองค์ประชุมตั้งกมธ.ศึกษาผลกระทบคำสั่งจากคำสั่งหัวหน้าคสช.ตามมาตรา44
(6) อดีตส.ส.อนาคตใหม่ 4 คนที่ถูกขับออกจากพรรค ศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่ จารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี พ.ต.ท.ฐนภัทร กิตติวงศา และกวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี ซึ่งย้ายซบพรรคร่วมรัฐบาลแล้ว ต่างลงมติเห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว
(7) กระนั้นยังน่าสนใจว่า แม้ฝ่ายค้านทั้งหมดจะไม่ลงคะแนนหนุนพรบ.งบ แต่ก็ไม่ได้ค้าน โดยโหวงดออกเสียงแทน!?!
(8) ดังนั้นจึงน่าแกะรอยว่า ทำไมการโหวตของฝ่ายค้านจึงออกมาแบบนั้น มีการรอมชอม ไกล่เกลี่ยกันระหว่างบิ๊กรัฐบาลกับบิ๊กฝ่ายค้านใช่หรือไม่???
(9) หรืออีกประการสำคัญรัฐธรรมนูญปี2560 มาตรา 144 หลักการที่ว่าด้วยการห้ามไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติเข้าไปมีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่ายไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
(10) ฝ่ายนิติบัญญัติ ก็คือรัฐสภา ผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 750 คน
(11) หากฝ่าฝืน จะเป็นหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งจะมีผลสมาชิกรัฐสภาผู้นั้นต้องพ้นจากการดำรงตำแหน่ง
(12) และหากพบคณะรัฐมนตรีเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือเห็นการกระทำของสมาชิกรัฐสภา แต่ไม่ได้ยับยั้ง คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภา
(13) นอกจากนี้ถ้ารัฐบาลแพ้โหวตในที่ประชุมสภาฯ ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการยุบสภาฯ หรือลาออก
(14) กฎหมายงบประมาณ มีกรอบเวลา 105 วัน เมื่อสภาฯเห็นชอบ ส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อภายใน 20 วันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติส่งมาถึง
(15) ความสำคัญและผลของกม.ดังกล่าวปรากฏมาตั้งแต่ชั้นกรรมการยกร่างฯรัฐธรรมนูญ ที่มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ
(16) จะเห็นว่า ในแง่ของผลกระทบจากพรบ.งบฯนั้น ไม่เพียงส่งต่อรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ยังหมายรวมไปถึงฝ่ายค้านซึ่งเป็นส.ส.อยู่ด้วยนั่นเอง
(17) ไม่ในแง่ไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้งบประมาณ หรือ หากกฎหมายไม่ผ่าน ทางรัฐบาลก็ต้องยุบสภา ???
(18) เช่นนี้หรือไม่??? ที่การโหวตฝ่ายค้านจึงไม่มีใครคัดค้าน ทำได้เพียงงดออกเสียง และบางเสียงที่ลงมติสนับสนุนด้วยซ้ำ
(19) และเช่นนี้หรือไม่??? ถ้าจะมีการรอมชอมกันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านในการผ่านพรบ.ดังกล่าว เพราะอาจมีการเกลี่ยงบลงพื้นที่กันได้บ้าง!?!
(20) ดังจะเห็นได้เมื่อ 19 สิงหาคม 2562 ที่ 3 ส.ส.พรรคเพื่อไทยต้อนรับนายกฯประยุทธ์ระหว่างเยือนอีสานโดยมีการพูดถึงงบประมาณลงพื้นที่ด้วย
(21) ทั้งไม่โดนยาแรงจากรัฐธรรมนูญ และยังอยู่ต่อไปได้โดยไม่ต้องไปเหนื่อยหาเสียงกันใหม่หากยุบสภา?!?
#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง