(1) คนร้ายบุกปล้นร้านทองในห้างลพบุรี กราดยิง คนดูแลร้าน คนเดินห้างเสียชีวิต 5 ราย รวมทั้งเด็กชายวัย 2 ขวบที่โดนลูกหลงเสียชีวิต
(2) ที่เกิดเหตุพบกองเลือดอยู่ที่หน้าร้านทองกองเลือดและปลอกกระสุนปืนขนาด 9 มม. หัวกระสุน ตกกระจายทั่วบริเวณ
(3) ขณะสังคมกำลังเศร้าสลดและตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ แต่ก็มีเพจสื่อบางสำนักนำเสนภาพของเหยื่อรายหนึ่งซึ่งเป็นเด็กโดยไม่ปิดบัง ไม่เซ็นเซอร์ใบหน้าเหยื่อแม้แต่น้อย!?!
(4) สังคมคนไทยตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ถึงจรรยาบรรณวิชาชีพว่าเหมาะสม-สมควรแล้วหรือไม่???
(5) การทำเช่นนี้ของเพจสื่อก็เพื่อเรียกยอดไลค์ เพจวิว เห็นแก่เงินจนลืมจริยธรรมลงรูปศพและเด็กที่เสียชีวิต โดยการทำเยี่ยงนี้จะต่างจากความชั่วของคนร้ายได้อย่างไร???
(6) การนำภาพเด็กที่เสียชีวิตมาเผยแพร่เป็นสิ่งที่สังคมรับไม่ได้
(7) สิ่งเหล่านี้จะติดอยู่ในอินเทอร์เน็ต ทุกครั้งที่เปิดต้องเจอภาพซ้ำ
(8) ถ้าจะเรียกตัวเองว่าเป็น “สื่อ” ก็ควรใช้วิจารณญาณก่อนนำเสนอ ไม่ใช้อารมณ์ และการเรียกยอด เพื่อแลกเงินจาก FB หรือโฆษณาในเว็บ???
(9) โดยหากเพจสื่อใดไม่ได้อยู่ในสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ในนามของสมาคมฯเอง ก็ไม่สามารถทำอะไรได้
(10) แต่ในนามของสังคมสามารถทำได้เพื่อเป็นการตอบโต้บนหลักการที่ถูกต้องและควรกระทำ เช่น
- กด Report
- ไม่สนับสนุน “สินค้า” หรือ “แบรนด์” ที่สนับสนุน
(11) หากถามว่าทำไมเฟซบุ๊กถึงยอมให้เพจข่าวต่างๆเหล่านี้นำเสนอภาพที่ขัดต่อจรรยาบรรณ จริยธรรม ครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเฉพาะกับเพจสื่อที่กำลังถูกโจมตีอยู่ในขณะนี้ ก็เพราะประการหนึ่งมีการแบ่งเงินกันระหว่างเฟซบุ๊กกับผู้ผลิตสื่อนั่นเอง
(12) นั่นก็หมายความว่า เฟซบุ๊กก็ได้รับผลประโยชน์จากการนำเสนอข่าว และภาพที่มียอดเพจวิว ที่มีโฆษณา บางครั้งจะเห็นเฟซบุ๊กไล่ลบ ไล่บล็อกบางเรื่อง บางเหตุการณ์ ขณะเดียวกันก็ปล่อยปละละเลยบางเพจสื่อให้นำเสนอราวลูบหน้าปะจมูก???
(13) เช่นนี้จะเป็นอันตราย และส่งผลอย่างไรก็คงไม่ต้องคิด เพราะภาพที่ถูกเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กออกไปจะมีคนเห็นมากน้อยเท่าไหร่???
(14) เว็บไซต์ ahead.asia เผยสถิติเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียทั่วโลกในเดือน เม.ย. 2018
(15) รายงานจาก Global Digital นำเสนอสถิติเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2018 (นับสิ้นสุดเมื่อ 12 เม.ย.) เผยว่า Facebook ยังคงเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คหมายเลข 1 ของโลก ด้วยจำนวนผู้ใช้ (Active Users) ทั่วโลก 2,234 ล้านคน ขยับขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือน ม.ค. ราว 100 ล้านคน
(16) กรุงเทพมหานคร คือเมืองที่มีจำนวนผู้ใช้งาน Facebook สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก ผู้ใช้กว่า 25 ล้านคน
(17) ในภาพรวมประเทศไทย อยู่อันดับ 8 ของประเทศที่ใช้ Facebook สูงสุดของโลก ด้วยจำนวน Active Users 52 ล้านราย
(18) ผู้ใช้ Facebook มีจำนวน 2,234 ล้านคน (เพิ่มขึ้น 14% จาก เม.ย. 2017) โดยเข้าใช้ผ่านโทรศัพท์มือถือ 89%
(19) ช่วงวัยของผู้ใช้ Facebook ที่มีจำนวนมากที่สุดคือ 25-34 ปี ที่จำนวน 670 ล้านคน ตามด้วย 18-24 ปี มีจำนวน 620 ล้านคน
(20) 54 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก ใช้งานอินเทอร์เน็ต มีมากถึงกว่า 2 พันล้านรายที่ใช้ Facebook
(21) เมื่อดูจากประชากรของประเทศไทย 66 ล้านคน (ข้อมูลจาก มิเตอร์ประเทศไทย) จะพบว่ามีผู้ใช้ Facebook ถึง 52 ล้านคน
(22) นั่นหมายถึงคนไทย 79% เล่น Facebook และคำถามที่ตามมาก็คือ 79% ของประชากรในประเทศไทย ใช้ Facebook เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน
(https://ahead.asia/…/%E0%B8%B4bangkok-most-fb-user-city-20…/)
(23) การนำเสนอเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพข่าวที่ไม่เหมาะสมของสื่อโดยมีเฟซบุ๊กช่วยแพร่กระจาย!?! ครั้งแล้วครั้งเล่าพร้อมๆกับการปรามบ้าง ลบไปบ้าง สุดท้ายก็ยังเกิดขึ้น!!! เหตุเพราะผลประโยชน์ที่ค้ำคออยู่ใช่หรือไม่???
#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง