(1) ช่วงปี 62 ต่อเนื่องมาปี63น้ำในเขื่อนทั่วประเทศใช้การได้ 260,000 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 45 และแนวโน้มลดลงอีก
(2) ปัญหาภัยแล้งจะใกล้เคียงปี 2558 สอดคล้องนาซ่า โลกอยู่ในช่วงครึ่งทศวรรษร้อนที่สุดในรอบ 120 ปี
(3) จับตากรุงเทพฯและปริมณฑลเสี่ยง เพราะน้ำ 4 เขื่อนหลักที่เป็นแหล่งอุปโภคบริโภคแหล่งให้ มีน้ำน้อยเพราะฝนแล้ง
3.1 เขื่อนภูมิพล มีน้ำใช้การได้ 1,803 ล้าน ลบ.ม.
3.2 เขื่อนสิริกิติ์ น้ำใช้การได้ 2,023ล้าน ลบ.ม.
3.3 เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน น้ำใช้การได้400 ล้าน ลบ.ม.
3.4 เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำใช้การได้235 ล้าน ลบ.ม.
3.5 รวมแล้วมีน้ำใช้การได้ 4,461 ล้าน ลบ.ม.
3.6 แต่จำเป็นต้องมีปริมาณน้ำ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร รักษาระบบนิเวศและอุปโภคบริโภคทั่วลุ่มทั้งเจ้าพระยา
(4) กรมชลประทานงดทำนาต่อเนื่องฤดูแล้ง ปี 2562/2563 ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา น้ำไม่มีเหลือทำการเกษตร
(5) แต่ปัจจุบันพบการเพาะปลูกแล้วกว่า 1.5 ล้านไร่
(6) หากน้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาเกิน 0.5 กรัม/ลิตร จะทำให้มีค่าคลอไรด์สูงมากกว่า 250 มิลิกรัมต่อลิตรจะเกิดน้ำประปากร่อย
(7) กรมอุตุนิยมวิทยา คาดปี2563 ฤดูฝนมาล่าช้าคล้ายปี 62 ประมาณมิ.ย. หรือ ก.ค. ส่งผลน้ำเจ้าพระยามีปัญหามากขึ้น
(8) น้ำในแม่น้ำโขง อยู่ในเกณฑ์น้อย ต่ำกว่าระดับน้ำต่ำสุดในปี 2535 และต่ำกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
(9) 5 ม.ค.63 น้ำประปาในกรุงเทพฯและปริมณฑล บางจุดมีรสกร่อย จากน้ำแล้งและน้ำทะเลหนุนสูง หลังน้ำประปามีค่าความเค็มสูงขึ้น
(10) สำหรับประชาชนตรวจสอบคุณภาพน้ำจากปัญหาความเค็ม ให้ดูค่าคลอไรด์หากถ้าเกิน 250 คือเริ่มกร่อย
(11) 6 ม.ค.63 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดเผชิญฝนแล้งยาวนานจนถึงเดือน มิ.ย.ปริมาณฝนน้อยใกล้เคียงปี 2522
(12) ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศมีอยู่ร้อยละ 60 รวม 49,591 ล้านลูกบาศก์เมตร
12.1 แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การร้อยละ 43 โดยเป็นแหล่งน้ำที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย 14 แห่ง
12.2 ได้แก่ เขื่อนแม่กวง ภูมิพล สิริกิติ์ แม่มอก ทับเสลา กระเสียว จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำพระเพลิง ลำแซะ ลำนางรอง ป่าสักฯ คลองสียัด และหนองปลาไหล
(13) 7 ม.ค. 63 ปภ.ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 14 จังหวัด รวม 69 อำเภอ 420 ตำบล 3,785 หมู่บ้าน
13.1 ภาคเหนือ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด และภาคกลาง 3 จังหวัด
(14) 9 ม.ค. 63 ปภ.ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 16 จังหวัด รวม 80 อำเภอ 464 ตำบล 4,117 หมู่บ้าน/ชุมชน
(15) สกสว. เผย น้ำต้นทุนเกือบทั้งหมดมาจากน้ำบาดาล รวมทั้งน้ำดื่มสารพัดยี่ห้อล้วนมาจากใต้ดิน
(16) เมื่อประสบภัยแล้ง ขาดน้ำอุปโภคบริโภคก็จะให้งบแก้ปัญหาภัยแล้งเจาะบ่อบาดาลแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันทุกๆปี
(17) การใช้น้ำบาดาลเกินศักยภาพของพื้นที่เป็นสาเหตุเกิดการรุกตัวของน้ำบาดาลเค็มเข้าในเขตน้ำบาดาลจืด
(18) ปัญหาหลักความเค็มในประเทศ คือ ดินเค็ม น้ำเค็มทั้งน้ำผิวดินและน้ำบาดาล การรุกตัวของน้ำทะเล
(19) น้ำเค็มที่พบช่วงหน้าแล้ง น้ำทะเลหนุนกระทบน้ำประปา ทั้งน้ำประปานครหลวง น้ำประปาภูมิภาค
(20) นาเกลือ-นากุ้ง กับตัวแปรสำคัญคือมนุษย์ พบภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งเกลือหินใต้ดินมากถึง18ล้านล้านตัน
(21) เกลือใต้ดินเหล่านี้ที่มักจะนำมาทำเกลือสินเธาว์
(22) เมื่อพื้นที่เป็นดินเค็ม น้ำเค็มก็ไหลลงห้วยและแม่น้ำ ฉะนั้นในภาคอีสานแม้ไม่มีทะเลก็มีความเค็มเช่นกัน
(23) ปัญหาใหญ่ที่ว่าการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอาจจะทำให้เกิดการแพร่กระจายความเค็ม แต่มนุษย์ก็ตัวกระตุ้น -เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายความเค็มอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าด้วย
#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง