ปชต.ต่ำทราม!!!ลามปามถึงบิดาฝ่ายตรงข้ามที่เพิ่งเสียชีวิต?!?

0

ประชาธิปไตย​แบบไหนที่จิตใจต่ำทราม

ลามปาม​ถึงบิดาของฝ่ายตรงข้ามที่เพิ่งเสียชีวิต

(1) การชุมนุมทางการเมืองไม่ใช่กิจกรรมงานวันเด็ก หรือ​ จัดอีเว้นต์การตลาด​ เพราะการชุมนุมทางการเมืองคือการแสดงเจตนารมย์และจุดยืนทางการเมือง​ อันเนื่องมาจากกลไกอื่นๆทางการเมืองไม่สามารถไปต่อได้

(2) กิจกรรมวิ่งไล่ลุง​ ไม่ใช่กิจกรรมสุขภาพหรือ​ การแสดงออกสาธารณะ​ แต่เป็นการ​ “ชุมนุม” และ​ “ระดมมวลชน” ทางการเมือง​ ที่อาศัยรูปแบบกิจกรรมสุขภาพมาบังหน้าเท่านั้น

(3) กิจกรรม​ วิ่งไล่ลุง​ จึงต้องมีความชัดเจน​ของผู้จัดและผู้ร่วมที่จะบอกสังคมต่อข้อเรียกร้อง​ หรือ​ เงื่อนไข​ ที่ฝ่ายตน​มีต่อฝ่ายรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ​ ซึ่งคือ​ ไล่นายกฯ​ ให้นายกฯลาออก​ แต่ปัจจุบันก็ไม่มีความชัดเจน​ว่า​ จะลาออกจากเรื่องอะไร​  นอกจาก​ การโจมตีเป็นนามธรรมว่า​ เป็นเผด็จการ​ เป็นรัฐบาลสืบทอดอำนาจ

(4)  กระนั้น​ กระแส​ วิ่งไล่ลุง​ ก็ถือว่าดีมาตลอดเพราะได้รับแรงหนุนเนื่องจาก​งานแฟลชม็อบ​ ที่ฝ่ายประชาธิปไตย​ ประโคมว่า​ จุดติด​ แล้ว

(5)  ดัง​ “นิด้าโพลล์” ที่ระบุ​ ผู้เห็นด้วยกับวิ่งไล่ลุง​ ระบุว่า มีผู้เห็นด้วยมาก​ 40.86% ส่วน​ เดินเชียร์ลุง​ มีผู้เห็นด้วยมาก​ 18.92%

(6) ขณะที่ผู้ไม่เห็นด้วย​กับ​ วิ่งไล่ลุง​ มี​ 31.32% ส่วน​ ไม่เห็นด้วย​กับ​ เดินเชียร์ลุง​ มี​ 49.76%

(7) นิด้าโพลล์อ้างความแม่นยำ​ 95% จาก​ 1,200​ กว่ากลุ่มตัวอย่าง​ ซึ่งทำให้เห็นว่า​ กระแสกิจกรรม​ วิ่งไล่ลุง​ นั้นถือว่าอยู่ในความสนใจ​ แต่กระนั้นก็มีข้อน่าสังเกตคือ​

(7.1) โพลล์ยังสำรวจ​ ความกังวลของประชาชนต่อประเทศไทยในปี 2563 จะเผชิญปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองพบว่าร้อยละ 21.62 เชื่อว่า​จะมีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงมากกว่าในอดีต​ และ​ 21.86 เชื่อว่าจะมีความรุนแรงเท่ากับที่เคยมี​  ซึ่งอาจหมายความว่า​ คนที่ตอบว่าไม่เห็นด้วยอาจกังวลเรื่องความข้ดแย้งทางการเมืองที่จะขยายตัว​ เพราะงานที่จัดตรงกัน​ มากกว่าตัวกิจกรรมงานนั้นเอง

(7.2) กลุ่มตัวอย่าง​ 33.47% (เกือบ​ 400​ คน)​ มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ​ ซึ่งอาจมีความโน้มเอียงทางการเมืองอยู่แล้ว​

(7.3)  กลุ่มตัวอย่างที่มีมากที่สุดคือช่วงอายุ​ อายุ 36 – 45 ปี คิดเป็น 31.16% ซึ่งไม่น่าจะใช่กลุ่มฐานในโซเซียลมีเดียของพรรคอนาคตใหม่​ และไม่มีตัวเลขว่ามีกี่คน​ กี่เปอร์เซ็นต์ที่ทำกิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว

(8) ดังถ้าไปเปรียบเทียบตัวเลขของการมีส่วนร่วมระหว่าง​ วิ่งไล่ลุง​ กับ​ เดินเชียร์ลุง​ ในวันที่ทั้งสองเพจโพสต์ประกาศว่ามีคนมาร่วมเกินเป้าแล้วนั้น​ จะพบว่า​ ผู้มีส่วนร่วมกับเพจวิ่งไล่ลุงนั้นมี​ 3,900 ครั้ง​ ส่วนผู้มีส่วนร่วมกับเพจเดินเชียร์ลุง​มี​ 2,300 ครั้ง​ ไม่ได้แตกต่างกันแบบเกินครึ่งต่อครึ่งเหมือนในโพลล์นิด้า

(9) กระนั้น​ กระแสที่ว่ากำลังมาแรงของ​ วิ่งไล่ลุง​ ก็ต้องสะดุดล้มคะมำ​ เพราะ​ ผู้จัด ต้องการสร้างอีเว้นต์ข่าว​ ไปส่งเทียบเชิญ​ พล.อ.ประยุทธ์​ มาร่วมวิ่งไล่ลุง​ ในวันที่​ มีข่าวว่า​ บิดาของพล.อ.ประยุทธ์​ เสียชีวิต

(10) ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้ความคิด​ ไม่มีวิจารณญาณอย่างสิ้นเชิง​ เพราะแยกแยะ​เรื่องความเป็นความตายกับการมุ่งเอาชนะทางการเมืองออกจากกันไม่ได้

(11) แม้ฝ่ายเดียวกันก็ยังไม่เห็นด้วย​ ถึงกับบอกว่าให้ผู้จัด​ “….คำนึงถึงความเหมาะสม…..อันนี้ไม่เห็นด้วยจริงๆ​ รบกวนพิจารณาอีกที​ เค้าเพ่งสูญเสียบุคคลสำคัญ​ไป….นายกเพิ่งเสียบิดาไป​ ควรถอยก่อน….”

(12) อันเป็นพฤติกรรมแบบเดียวกับ​ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่​คนหนึ่ง​ ที่ทวิตข้อความที่ไม่เหมาะสม​ และ​ บรรดาผู้ชื่นชอบธนาธรอีกจำนวนหนึ่งที่แสดงคำพูดที่ไม่เหมาะสมต่อบิดาของพล.อ.ประยุทธ์ที่เพิ่งเสียชีวิตลง​

(13) จนมีชาวโซเซียลทนไม่ได้​ ต้องออกมาโพสต์ว่า​ นี่คือการแสดงความต่ำทราม​ และไร้มารยาท​

**** ต่ำทราม สถุล จนไม่สามารถแยกแยะเรื่องความเป็นความตายกับเรื่องการเอาชนะทางการเมืองออกจากกันได้

อ้างว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่าใคร. แต่กลับไม่ทราบว่า แก่นที่สำคัญที่สุดอันนึงของความเป็นประชาธิปไตยคือ “มารยาท” (etiquette) ที่พึงมีต่อผู้อื่น ต้องแยกแยะเรื่องส่วนตัวออกให้ได้จากเรื่องการเมือง

นักการเมืองในประเทศพัฒนาแล้วที่มีจิตใจเป็นประชาธิปไตยจริงๆ  ต่อให้ทางการเมืองจะห้ำหั่นเชือดเฉือนกันแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าอีกฝ่ายประสบเหตุความสูญเสียสมาชิกในครอบครัว นักการเมืองเขาจะมีมารยาทพอในการแสดงความเสียใจต่อคู่แข่งทางการเมืองของเขา

นี่คือ “มารยาท” และ “ธรรมเนียมปฏิบัติ” ของการเป็นนักการเมืองที่ดี มีจิตใจเป็นประชาธิปไตยจริงๆ

ที่มา​ FB​ Page​ Narisroj Fuangrabil

(14) ถ้ายังจำกันได้​ ในวันที่​ พล.อ.เปรม​ เสียชีวิต​ มีเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งโห่ร้องดีใจ​ แต่​ จตุพร​ พรหมพันธ์​ ต้องออกมาห้ามปราม​ เพราะเป็นการแสดงออกที่ไร้มารยามทางสังคม​

(15) ย้อนกลับไปตอนแรก​ คำถามคือ​ กิจกรรมวิ่งไล่ลุง​ ต้องการแสดงออกถึงจุดยืนแบบไหนให้สาธารณะชนได้เห็น​ ซึ่งตอนนี้ก็มีคำถามแล้วว่า​ นี่คือการแสดงเจตนารมย์ประชาธิปไตยโดยบริสุทธ์​ ซึ่ง​ แก่นที่สำคัญที่สุดอันนึงของความเป็นประชาธิปไตยคือ “มารยาท” (etiquette) ที่พึงมีต่อผู้อื่น​ หรือ​ การรวมตัวของพวก​กเฬวราก​ ไร้มารยาท​ ที่เอาประชาธิปไตยมาบังหน้าเพื่อเอาชนะทางการเมืองเท่านั้น

(16)  วันอาทิตย์นี้เราจะได้เห็นกัน

 

#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง