เพจดังจำนวนมากแจ้งเตือนให้หยุดแชร์ ภาพถ่ายที่ถูกอ้างว่าเป็น ถ่ายถ่ายของจริง ท่านท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม เนื่องจากภาพดังกล่าวนั้นแท้จริงคือ “เจ้าจอมมารดาวาด”
หลังจากที่มีประชาชนจำนวนมาก แห่แชร์ ภาพถ่ายที่อ้างว่าเป็น ภาพถ่ายของแท้ ของ “ท่านท้าวสุรนารี” หรือ “ย่าโม” ซึ่งภาพดังกล่าวถูกแห่แชร์ออกไปเป็นจำนวนมากมายกว่า 14,000 ครั้ง และทำให้หลายๆคนเกิดความเข้าใจผิดว่าคนในภาพดังกล่าวคือ “ย่าโม” ตัวจริง
โดยทางด้านของเพจสาธารณะชื่อ “โบราณนานมา” ได้ทำการเปิดเผยความจริง ว่าภาพดังกล่าวนั้นไม่ใช่ภาพของย่าโมแต่งอย่างใด แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นภาพของ “ท้าววรจันทร์” หรือ “เจ้าจอมมารดาวาด” ในรัชกาลที่ 4
ซึ่งได้กล่าวด้วยว่าแม้ว่ากล้องถ่ายรูปจะเข้ามาในสยามช่วงปลาย รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ท่านท้าวสุรนารี (ย่าโม) ยังมีชีวิตอยู่ก็จริง แต่ในช่วงสมัยนั้น การถ่ยภาพ ปั้นหุ่นเหมือน รวมถึงแม้แต่การวาดภาพบุคคล ก็ไม่ได้เป็นที่นิยม เพราะมีความเชื่อว่าอายุจะสั้น หรืออาจจะถูกนำไปใช้ในทางด้านไสยศาสตร์ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีภาพจริงของ ท้าวสุรนารี (ย่าโม)
ภาพนี้ไม่ใช่ ! ท้าวสุรนารี (ย่าโม) แต่เป็น “ท้าววรจันทร์”โพสต์นี้กดไลก์ ๒.๙ พันไลก์ กดแชร์ ๑.๑ หมื่นแชร์…
Posted by โบราณนานมา on Thursday, June 4, 2020