บขส.เปิดเส้นทางเดินรถภาคใต้แล้ว กว่า 20 เส้นทาง ดีเดย์วันแรก 9 มิ.ย. พร้อมออกกฎ 4 ข้อ

0

จากกรณีที่มีการคลายล็อกมาตรการต่าง ๆ ระยะที่ 3 ทำให้มีการผ่อนปรนอนุญาตให้เปิดร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า สถานที่ต่าง ๆ ได้บ้างแล้วนั้น ในส่วนของการเดินทางมุ่งหน้าภาคใต้ ก็มีความคืบหน้าจากบริษัทขนส่ง บ.ข.ส.แล้วเช่นกัน เกี่ยวกับความชัดเจนเรื่องเส้นทางเดินรถ ว่าจะเปิดวิ่งในเส้นทางไหนบ้าง ใกล้-ไกล ได้กี่กิโลเมตร อีกทั้งจะมีมาตรการตรวจเข้มอย่างไรบ้าง

 

โดยล่าสุด เฟซบุ๊ก บขส. ได้ประกาศเส้นทางเดินรถเส้นทางในภาคใต้ หลังจาก ศบค. ประกาศผ่อนคลายการเดินทางข้ามจังหวัด ทำให้รถโดยสารสาธารณะ สามารถข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงเวลาเคอร์ฟิว เวลา 23.00-03.00 น. ได้ โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป

 

 

สำหรับเส้นทางการเดินรถที่เปิดเพิ่มเติมในภาคใต้ทั้งหมด มีดังนี้

1. กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – เกาะสมุย

2. กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ภูเก็ต

3. กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ด่านนอก

4. กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – สตูล

5. กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – กระบี่

6. กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ชุมพร

7. กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – หลังสวน

8. กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ด่านเจดีย์สามองค์

9. กรุงเทพฯ – ทับละมุ – พังงา (สายเก่า)

10. กรุงเทพฯ – ตะกั่วป่า – โคกกลอย (สายเก่า)

11. กรุงเทพฯ – ภูเก็ต

12. กรุงเทพฯ – กระบี่

 

13. กรุงเทพฯ – นครศรีฯ – สงขลา

14. กรุงเทพฯ – นครศรีฯ – หัวไทร

15. กรุงเทพฯ – ตรัง

16. กรุงเทพฯ – ตรัง – สตูล

17. กรุงเทพฯ – สุไหงโกลก

18. กรุงเทพฯ – ยะลา – เบตง

19. กรุงเทพฯ – สตูล

20. กรุงเทพฯ – เกาะสมุย

21. กรุงเทพฯ – ดอนสัก (ท่าเรือ)

22. กรุงเทพฯ – หาดใหญ่

23. กรุงเทพฯ – หาดใหญ่ – สงขลา

24. กรุงเทพฯ – คลองท่อม – กระบี่

อย่างไรก็ตาม บางเส้นทางในภาคใต้ ที่ยังไม่เดินรถ บขส. ชี้แจงว่า น่าจะเปิดบริการได้ในเดือนนี้ ส่วนบางเส้นทางที่เปิดไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดเรื่องเวลา (เคอร์ฟิว) และประกาศการเข้าออกของจังหวัด

 

สำหรับกฎเบื้องต้นของการใช้บริการรถ บขส. ในช่วงโควิด-19 มีดังนี้

1. เว้นระยะนั่งหรือยืนของผู้โดยสาร 1 เมตร

2. งดบริการอาหารเครื่องดื่มบนรถ

3. ไม่อนุญาตให้นำอาหารมารับประทานบนรถ แต่รับประทานได้เฉพาะจุดพักรถ

4. ผู้โดยสารที่ข้ามเขตจังหวัด จะต้องสแกน QR Code เพื่อเช็กอิน เช็กเอาท์ หรือกรอกข้อมูลคำถามสุขภาพ ระบุจุดที่เดินทางออกและจุดหมายปลายทาง เพื่อความสะดวกในการควบคุมโรค