อังคณารู้งาน? โผล่จี้รบ.เร่งสอบปมวันเฉลิม อ้างไม่งั้นจะตกเป็นผู้ต้องสงสัย

0

จากกรณีที่ประชาไท เผยแพร่ข่าววันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หรือ ต้า วัย37ปี ผู้ลี้ภัยทางการเมืองไทยที่อยู่ในกัมพูชา ถูกกลุ่มคนร้ายอุ้มหน้าคอนโด เมื่อ 4 มิ.ย.63โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพยายามเข้าช่วย แต่กลุ่มคนที่มานั้นมีอาวุธปืน

ทั้งยังอ้างแหล่งข่าวที่ให้ข้อมูลว่า ตนกำลังคุยโทรศัพท์กับวันเฉลิม และเสียงสุดท้ายที่ได้ยินผ่านโทรศัพท์คือ “โอ๊ย หายใจไม่ออก” ก่อนสายจะตัดไปแต่ขณะนั้นเข้าใจว่าเกิดอุบัติเหตุ และวันเฉลิมบาดเจ็บ จึงพยายามโทรติดต่อกลับไปอีกประมาณ 30 นาที รวมทั้งติดต่อเพื่อนของวันเฉลิมให้ช่วยตรวจสอบที่คอนโด จึงทราบว่า วันเฉลิมหายไป

ต่อมาวันที่ 5มิ.ย.63 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงกรณีวันเฉลิมด้วย โดยเป็นการแชร์ข่าวของเว็บไซต์ประชาไท มาก่อนโพสต์ข้อความของตัวเองลงไปว่า

“โอ๊ย หายใจไม่ออก” #saveวันเฉลิม

ล่าสุด หัวหน้าคณะก้าวหน้า อย่างนายธนาธร ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงเรื่องดังกล่าวอีกครั้งผ่านทวิตเตอร์  ระบุว่า เรามาร่วมกันยืนเคียงข้างความยุติธรรม เรียกร้องไม่ให้การอุ้มหาย และการข่มขู่คุกคามเพราะทัศนคติทางเมืองเกิดขึ้นอีก ขอย้ำว่าเรื่องของ #วันเฉลิม คือเรื่องของเราทุกคน

ขณะที่ นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แสดงความเห็นนต่อกรณีนายวันเฉลิม ว่า ไม่ควรมีใครต้องถูกอุ้มหายเพราะความเห็นต่างทางการเมือง #SAVEวันเฉลิม

บางคนอาจเชื่อว่า # ปัญหาจะหายไปหากบางคนถูกทำให้หายไป  – ข่าวการถูกลักพาตัว วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ จากหน้าคอนโดมิเนียมที่พักของเขาในกรุงพนมเปญ ถือเป็นการกระทำที่อุกอาจ และสร้างความกังวลและหวาดกลัวให้ผู้ลี้ภัยทางการเมืองหลายคนภายหลังกรณีการหายตัวไปของสุรชัย แซ่ด่าน และสหายกาสะลอง ที่ต่อมาพบเป็นศพลอยน้ำ ส่วนสุรชัยยังคงเป็นบุคคลสูญหาย และต่อมากรณีการหายตัวของสยาม ที่ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครทราบที่อยู่และชะตากรรมของเขา

กรณีวันเฉลิม #เชื่อว่ารัฐบาลกัมพูชาคงต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง เนื่องจากกัมพูชาได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาคนหายของสหประชาชาติ (มิถุนายน 2013) ซึ่งทำให้มีภาระผูกพันให้ต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนกรณีการบังคับบุคคลสูญหายแม้จะไม่มีการร้องเรียน ส่วนจะนำไปถึงการทราบที่อยู่และชะตากรรม และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษหรือไม่คงต้องติดตามดูกันต่อไป

แม้วันเฉลิมจะอยู่ในสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศกัมพูชา แต่ในฐานะที่เขาเป็นคนไทยและแม้จะเป็นคนที่มีความเห็นแตกต่างจากรัฐ แต่รัฐบาลก็ไม่ควรเพิกเฉย และควรประสานความร่วมมือกับกัมพูชาในการคลี่คลายข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และชี้แจงต่อสาธารณะ ไม่เช่นนั้นรัฐบาลไทยอาจตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เรื่องการยุติการบังคับสูญหาย แม้ที่ผ่านมารัฐบาลไทยจะได้ลงนามอนุสัญญาคนหายของสหประชาชาติ (มกราคม 2555) และมีมติ ครม. ให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ และให้มีกฎหมายภายในประเทศเพื่อป้องกันและยุติการบังคับบุคคลสูญหาย (25 พฤษภาคม 2559) แต่ส่วนตัวไม่เชื่อว่ารัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จะเต็มใจผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากความล่าช้า อีกทั้งที่ผ่านมา ร่างกฎหมายยังถูกปรับแก้จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ

และถูกถอดจากวาระการพิจารณาของ สนช. โดยไม่มีการแจ้งเหตุผล จนปัจจุบันก็เชื่อว่าร่างกฎหมายฉบับนี้คงยากที่จะผ่านสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และโดยเฉพาะวุฒิสภา หรือหากผ่านก็คงถูกตัดทอนจนไม่เหลือสาระสำคัญในการคุ้มครองประชาชนและเอาผิดเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำผิดได้จริง