พจนา ‘ทิศทางไทย’ ตอนที่ ๗ ศาสตร์การปฏิวัติเพื่อการทำลายระดับฐานราก

0

พจนา ‘ทิศทางไทย’ ตอนที่ ๗ ศาสตร์การปฏิวัติเพื่อการทำลายระดับฐานราก (fundamental collapse)

โดย : ดร.สุวินัย ภรณวลัย  ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ  สถาบันทิศทางไทย

 

ศาสตร์การปฏิวัติ ประกอบขึ้นมาจาก ๔ ส่วน

ส่วนที่ (๑)  ว่าด้วยการหยิบยกหัวข้อ

– ก่อนอื่น ต้องรู้ก่อนว่า จะหยิบยกหัวข้อใดมาเป็นใจกลางในการจัดตั้งขบวนการปฏิวัติของพวกตน

คือต้องหา สัจจธรรมอันเป็นแกนกลาง (central truth) ของความคิดปฏิวัติของพวกตนให้ได้ก่อน (อย่างเช่น แก่นความคิดของการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ที่อยากสานต่อ)

– ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า พวกตนต้องการปฏิวัติไปทำไม และต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้การปฏิวัติของพวกตนประสบความสำเร็จ

– ต้องเลือกคำหรือประโยคที่ชูขึ้นมาแล้วโดนใจชาวบ้าน ให้เกิดความรู้สึกร่วมหรือคล้อยตาม คำขวัญการปฏิวัติของพวกตน

– ต้องชี้ให้ผู้คนเห็นว่าปัจจุบันมันแย่ยังไง และทำไมถึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูปหรือล้มรัฐบาลปัจจุบันโดยด่วน

– ชูเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ในการชุมนุมเรียกร้อง อาจต้องค่อยๆเรียกร้องไปทีละเรื่องแบบได้คืบเอาศอก ต้องมีแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน

– ต้องมีเงินทุนสนับสนุนการเคลื่อนไหว

– ต้องหาแนวร่วมหรือพันธมิตร มาร่วมเคลื่อนไหวองค์กรปฏิวัติของพวกตน

 

ส่วนที่ (๒)  ว่าด้วยการดึง “คนที่ใช่” เข้ามาร่วมในขบวนการปฏิวัติ

– ต้องผลักดันหรือเชิดคนที่มีศักยภาพเป็นผู้นำที่มีขารมีพอ และสามารถเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการปฏิวัติได้

– ต้องเลือกโฆษกที่มีทักษะที่ดีในการสื่อสารต้องหน้ากล้องหรือหน้าทีวี

-ต้องสร้างเครือข่ายกับสื่อหลัก เพื่อให้ฝ่ายตนสามารถส่งข่าวออกสู่สาธารณชนได้ทุกเมื่อ

-ต้องสามารถระดมมวลชนมาชุมนุมในท้องถนนได้ ถ้าผู้นำถูกจับ

-คัดเลือกนักเคลื่อนไหวมืออาชีพที่เชี่ยวชาญทักษะแขนงต่าง ๆมาบริหารองค์กรปฏิวัติและขบวนการปฏิวัติ

-สร้างเครือข่ายกับกลุ่มต่าง ๆ

-จะปฏิวัติได้ต้องดึงคนอย่างน้อย ๑๕% ของประชากรทั้งหมดให้เข้ามาร่วมขบวนการปฏิวัติในระดับใดระดับหนึ่ง

-ที่สำคัญที่สุด คือต้องดึงพวกปัญญาชนทั้งหลายให้มาสนับสนุนขบวนการปฏิวัติของพวกตนให้จงได้ เพื่อสร้างวาทกรรมและความชอบธรรมให้กับการปฏิวัติของพวกตน

-สุดท้ายต้องดึงนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายมาสนับสนุนขบวนการปฏิวัติของพวกตนผ่านงานวิจัยต่าง ๆ

 

ส่วนที่ (๓) ว่าด้วยการสื่อไปให้ถึงหัวจิตหัวใจของพวกชาวบ้าน

-ใช้พลังของดนตรีและศิลปะให้เป็นประโยชน์ต่อการปฏิวัติ

-ใช้ศักยภาพของสื่อใหม่ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียให้ถึงขีดสุดในการปลุกระดมมวลชน และนัดชุมนุม จัดตั้ง

เพราะความสำเร็จในการปฏิวัติขึ้นอยู่กับการประสานการจัดตั้งมวลชนแบบออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน

-ทำใจยอมรับท่าทีที่หลากหลายและแตกต่างของประชาชนต่อการปฏิวัติและขบวนการปฏิวัติ

 

ส่วนที่ (๔) ว่าด้วยการเลือกกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนขบวนการปฏิวัติ

-ต้องลงมือทำจริง ปัจจัยที่ชี้ขาดอยู่ที่ตรงนี้

-เลือกเป้าโจมตีให้เป็น ให้เหมาะสมในการเคลื่อนไหวแต่ละครั้ง

-ศึกษาบทเรียนของการปฏิวัติในอดีตทั้งหมดให้เจนจบ ทั้งการปฏิวัติที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว

– ลองสู้แบบอารยะขัดขืนก่อน

– วางแผนล่วงหน้าเป็นปีๆ เตรียมคนไว้ล่วงหน้าเป็นปีๆ ก่อนตัดสินใจเคลื่อนไหวขบวนการปฏิวัติ

 

…. ทั้งหมดนี้ คือ เนื้อหาคร่าวๆ ของแนวคิด How to Start a Revolution ของ Gene Sharp (๑๙๒๘-๒๐๑๘)

 

ซึ่งสะท้อนแนวคิดทฤษฎีฝูงผึ้ง (swarming) ที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์ล่อฝูงผึ้งให้ไปในทิศทางที่ต้องการ … กล่าวเป็นรูปธรรมก็คือ  ใช้ศักยภาพ เวลา เงิน และกำลังคน ในการสร้าง ขบวนการชี้นำทางความคิดขึ้นมาก่อนให้เป็นหัวเชื้อ หลังจากนั้นขบวนการทางสื่อต่างๆจะช่วยกันโหม ประโคม เพื่อให้เกิดความไม่สงบตามมา

 

จะเห็นได้ว่ามันต้องใช้เวลาเป็นปีๆล่วงหน้าในการสร้างกลุ่มคนขึ้นมาในการเคลื่อนไหวให้ไปตามทิศทางที่ชาติมหาอำนาจต้องการ ทั้งนี้ เพราะ การสร้างขบวนการปฏิวัติขึ้นในประเทศที่ตกเป็นเหยื่อ เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ Grand Strategy ของชาติมหาอำนาจที่ต้องการรักษาความเป็นจ้าวโลกของตนเอาไว้เท่านั้น

 

โดยที่คนที่มารับ “งานปฏิวัติเพื่อทำลายรากฐานของบ้านเมือง” คงไม่พ้น นักการเมือง นักวิชาการ นักเคลื่อนไหว และนักสื่อสารมวลชน

 

ถ้าจะมองอนาคตประเทศไทยหลังจากนี้ให้แจ่มชัด การมีความเข้าใจ