ปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็น หมอกควันพิษปกคลุมเมืองใหญ่ๆในเอเชีย ผู้คนเสียชีวิตจากน้ำท่วมและดินถล่มกว่า 100 คน พายุไซโคลนพัดถล่มชายฝั่ง และยังมีปัญหาของไฟป่า แล้ง และคลื่นความร้อน ที่ทำให้เมืองหลายๆเมืองไม่มีน้ำใช้
จากความผิดปกติดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ออกมาชี้แจงว่า วิกฤติสภาพอากาศแปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้นในแถบเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิค ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในสองปีที่ผ่านมานั้นเกินกว่าที่เราจะสามารถคาดเดาได้ นี่เป็นสัญญาณถึงปัญหาสภาพอากาศในปัจจุบัน มีการประชุมเกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ผู้สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วกลับมองว่าปัญหาของสภาพอากาศแปรปรวนนั้น เป็นปัญหาที่ต้องแก้ ในอนาคต แต่ผู้คนในแถบเอเชียแปซิฟิค ได้รับผลกระทบไปเรียบร้อยแล้ว ในตอนนี้ ผู้นำประท้วงหลายๆประเทศ เริ่มออกมาจัดการกับเรื่องนี้
ตอนนี้ทวีปเอเชียได้รับผลกระทบจากวิกฤติสภาพอากาศมากที่สุด
ผู้คนในแถบในแถบเอเชียแปซิฟิกกว่า 60% ได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปรวมถึงปัญหาของการขยายเมืองอย่างรวดเร็วโดยขาดการวางแผน นอกจากนี้ การที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังส่งผลให้เกิดปัญหาประชากรแออัด ส่งผลให้ขาดน้ำ และ อาหาร เมืองใหญ่ในทวีปเอเชีย ประกอบด้วย มุมไบ เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพฯ โอจิมิน และ จาการ์ต้า นั้นพบปัญหาของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้พื้นที่ชายฝั่งลดลง และเจอกับปัญหาสภาพอากาศที่มากขึ้น
และการที่เมืองเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเมืองพุ่งสูงขึ้น แม้ว่าประเทศใหญ่ๆเช่น อินเดีย และ จีน พยายามที่จะลดปัญหามลภาวะแล้วก็ตาม ผู้คนต่างต้องการความสะดวกสบาย ทำให้เกิดการซื้อเครื่องปรับอากาศ รถยนต์ และสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น ทำให้มลภาวะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในเมืองใหญ่ๆที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนมีฐานะ เช่น ฮ่องกงมีความสามารถในการป้องกันปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ในขณะที่ประชากรที่ฐานะไม่ดีหรือยากจนที่อาศัยอยู่ในส่วนอื่นๆ ไม่มีความสามารถในการป้องกันจากภัยธรรมชาติ นำไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น ขาดแคลนอาหาร น้ำ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หากเราไม่สามารถแก้ปัญหาโลกร้อนให้เร็วพอ โลกนี้จะร้อนขึ้นอีก 3 องศาจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้คนจำนวนมากบนโลกใบนี้
ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นแล้ว
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะ Samoa ในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
Cooper-Halo ผู้บริหารองค์กรณ์ SPREP (องค์กรณ์ที่ดูแลเกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศ) กล่าวว่า ตอนนี้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่คาดว่าปัญหานี้จะเกิดในอีก 20 ปีข้างหน้า ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว และองค์กรณ์ IPCC ก็คอนเฟิมแล้วเช่นกัน ในเรื่องของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเร็วกว่าที่คาดเอาไว้
ปัญหาของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปนั้น ส่งผลกระทบต่อมหาสมุทร
ปัญหาของก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิที่สูงขึ้น ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย คาดว่าจะทำให้น้ำทะเลมีระดับที่สูงขึ้นกว่า 2 เมตรใน 100 ปี การที่น้ำทะเลสูงขึ้น 2 เมตรนั้น จะทำให้ประชากรกว่า 187 ล้านคนทั่วโลกโดยเฉพาะในประทวีปเอเชีย ต้องจมอยู่ในน้ำ เช่น เซี่ยงไฮ้ และจากการศึกษา คาดว่า กรุงเทพและเวียดนามจะกลายเป็นเมืองบาดาลในปี 2050 การปรับตัวต่อปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น เป็นเรื่องสำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคไปเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ UN ได้เตรียมแผนรับมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวป้องกันชายฝั่ง ฟื้นฟูป่าชายเลน และเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากน้ำท่วม
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิค จำเป็นต้องปรับตัว และ คอยวัดระดับน้ำทะเลตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลเข้ามาในพื้นที่เกษตรกรรม
นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาปะการังฟอกขาว และส่งผลให้จำนวนสัตว์ทะเล ลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อทรัพยากรต่างๆลดลง เราก็ต้องปรับตัวกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชนิดของอาหาร รูปแบบการกิน และอาจต้องมีการนำเข้าอาหารเข้ามาภายในประเทศ เพื่อให้เพียงพอกับสิ่งที่เราต้องการ
พายุและใต้ฝุ่นรุนแรงขึ้น
ผู้คนกว่า 2.4 พันล้านคน ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรทวีปเอเชียกำลังประสบปัญหาของสภาพอากาศอย่างรุนแรง ในปีนี้ น้ำท่วม ดินถล่ม เกิดขึ้นบ่อยครั้งจากมรสุมที่พัดผ่านประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน และ บังคลาเทศ สร้างความเสียหายในหลายๆประเทศและมีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย บังคลาเทศ เกาหลีใต้ ไทย ศรีลังกา และฟิลิปิน ก็ถูกพายุฤดูร้อนและใต้ฝุ่น หรือพายุไซโคลนถล่มในปี 2019 ทำให้ผู้คนล้มตายกว่าร้อยคน และสร้างความเสียหายกว่าล้านดอลล่าห์สหรัฐ วิกฤติสภาพอากาศครั้งนี้คาดว่า จะทำให้เกิด พายุ ฝนตกหนัก และลมกรรโชกแรง
ในปี 2013 มีแคมเปนใหญ่ๆที่จัดขึ้นโดย Joanna Sustento เพื่อรำรึกถึงความเสียหายที่เกิดจากพายุใต้ฝุ่น Haiyan ที่พัดถล่มบ้านของเธอ
ในปีที่ผ่านมาพวกเขาต้องผเชิญกับพายุใต้ฝุ่นเฉลี่ย 20 ลูกซึ่งบ่อยกว่าทุกๆปีที่ผ่านมา ซึ่งหมายความว่า ในปีดังกล่าวมีความเสียหายต่างๆ พวกเขาต้องเจอกับปัญหาขาดน้ำ ขาดอาหารสะอาด 7 ใน 10 ของปัญหาสภาพอากาศ ส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ เสียหายตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปี 2019 ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศที่มีปัญหาทางการเงินอย่างมาก ในปี 2015 พายุไซโคลนปาล์ม ทำให้ประเทศในแถบหมู่เกาะ Vanuatu แถบชายฝั่งทะเลแปซิฟิค สูญเสียความมั่นคงของเศรษฐกิจในประเทศไปถึง 64% เมืองที่ได้รับผลกระทบจากพายุใต้ฝุ่น ก็ยากต่อการที่จะเติบโตไปได้ในอนาคต
การเตรียมตัวที่จะรับมือกับปัญหาสภาพอากาศอันเลวร้ายนั้นใช้เงินมหาศาล เพราะนอกจากจะต้องบำรุงรักษาจากสงครามแล้ว ยังต้องฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจขึ้นมาอีกนอกจากนี้ พลังงานจากน้ำมันดิบ ก็ต้องถูกทดแทนด้วย พลังงานที่สามารถทดแทนได้ ไม่ควรปล่อยให้โรงงานใช้พลังงานจากน้ำมันดิบจนหมด เพราะมิฉะนั้น ก็ไม่ต่างจากการนับถอยหลังสู่ความตาย ว่าในอนาคต จะไม่มีอะไรหลงเหลือให้ใช้อีกแล้ว
ปัญหาขาดแคลนน้ำยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
จากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนอย่างรุนแรง ทำให้ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีนั้นลดลง ส่งผลให้การใช้น้ำในการเกษตร หรืออุปโภค บริโภคท น้อยลง และสร้างความรุนแรงมากขึ้น ห้าปีก่อน เกิดคลื่นความร้อนที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์เข้าไปในประเทศญี่ปุ่น จีน อินเดีย ปากีสถาน และ ออสเตเรีย หากไม่แก้ปัญหาเหล่านี้ ต่อไปประเทศเหล่านี้จะไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป ปีนี้เมืองใหญ่ในอินเดียกว่า 6 เมือง ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ผู้คนกว่า 5 ล้านคนประสบปัญหาแล้งอย่างหนัก ต้องแก้ปัญหาโดยการซื้อน้ำใช้จากต่างเมือง แม้กระทั่งโรงพยาบาล ก็ขาดน้ำในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์การแพทย์
นอกจากนี้คนอีก 600 ล้านคนจะเกิดปัญหาขาดน้ำตามมาในอนาคต เนื่องจากธารน้ำแข็งในภูเขาหิมาลัยละลาย ระดับน้ำใต้ดินในอินเดียก็แห้งเหือด
Jyoti Sharma ผู้ก่อตั้งโครงการ NGO ในประเทศอินเดียกล่าวว่า “ตอนนี้เศรษฐกิจ และ จำนวนประชากรกำลังเติบโตขึ้น นั่นหมายความว่าเราจำเป็นต้องใช้น้ำที่มากขึ้นกว่า 40% ในโรงงานอุตสาหกรรม ยิ่งคนมาก ก็ยิ่งต้องใช้น้ำมาก เราต้องการน้ำมากกว่าสิ่งอื่นใดในตอนนี้” และรายงานล่าสุด ในเดือนนี้ 1 ใน 4 ของประชากร จะขาดแคลนน้ำ ใครจะไปรู้ว่าอนาคตจะเกิดปัญวิกฤติขาดแคลนน้ำในอนาคต ภาวะขาดแคลนน้ำในตอนนี้เป็นวิกฤติใหญ่ที่น้อยคนจะพูดถึง ปัญหานี้จะนำไปสู่การขาดแคลนอาหาร และการอพยบที่มากขึ้น หรือแม้กระทั่งความมั่นคงในการเมือง ในอินเดีย หลายๆประเทศมีแผนที่จะพัฒนาประเทศไปข้างหน้า ซึ่งทำให้ระบบจัดการน้ำนั้นจำเป็นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าที่สุด
ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น
โลกของเราจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นประมาณ 1.1 องศา และมีแนวโน้มว่าจะสูงกว่านี้ เนื่องจากมีแก๊ซคาร์บอนไดออกไซดีที่ไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงเลย มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ การประชุมเกี่ยวกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในช่วงต้นเดือนนั้น กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องจัดการ ทั้งในเรื่องของมลภาวะที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความต้องการที่สูงขึ้น มีหลายๆผลสำรวจ พบว่าข้อตกลงนั้น มี่แนวโน้มที่จะล้มเหลว ผลกระทบที่เกิดขึ้นในเอเชียนั้นต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปีในการจัดการ การยอมแพ้ต่อปัญหานั้นไม่ใช่ทางออก ในตอนนี้ถึงเวลาแล้ว ที่ทุกคนจะต้องตื่นขึ้น เพื่อปรับตัว และรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ใช่แค่คนในทวีปเอเชียเพียงอย่างเดียวและต้องช่วยกันแก้ปัญหานี้
#Gobalwarming #ClimateChange #Futrue
https://edition.cnn.com/2019/12/23/asia/asia-pacific-climate-crisis-intl-hnk/index.html