อินเดียกำลังจะกลายเป็นประเทศที่ผลิตขยะอวกาศมากที่สุด???

0

Fawad Chaudhry รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   กล่าวว่า อินเดียไม่มีความรับผิดชอบในส่วนของภารกิจอวกาศ ทำให้เกิดขยะอวกาศกว่า 1,000 ชิ้นที่มาจากจรวดเก่า หรือจากดาวเทียมที่ไม่ใช้แล้วโคจรรอบๆโลก จนกระทั่งในเดือนกันยายน ขยะอวกาศได้ไปโคจรกระแทกดวงจันทร์และยังเป็นอันตรายกับระบบนิเวศในอวกาศอีกด้วย  จึงจำเป็นต้องจัดการกับปัญหาดังกล่าวให้ดี

แล้วขยะอวกาศนั้นมากแค่ไหน?

ขยะที่ลอยในอวกาศทีมีขนาดใหญ่กว่า 4 นิ้วนั้นมีจำนวนมากถึง 23,000 ชิ้น ซึ่งถูกตรวจพบโดย Orbital Derbis Programme office (ODPO) โดยองกรณ์นาซ่า

ขยะพวกนี้ลอยอยู่ห่างจากโลกประมาณ 1,250 ไมล์ในระดับความสูงเดียวกันกับดาวเทียมและสถาณีอวกาศที่อยู่นอกโลก และอาจสร้างความเสียหายได้ หากขยะเหล่านี้โคจรไปชนกับดาวเทียมดังกล่าว

และจากในเหตุการณ์ที่ประเทศจีนยิงจรวดมิซซายเพื่อทำลายดาวเทียมพยากรณ์อากาศนอกโลก ในปี 2007 จากเหตุการณ์นั้น คาดว่าขยะอวกาศที่เกิดขึ้นครั้งนั้น อาจมีมากถึง 3000 ชิ้น

และยังรวมถึงเหตุการณ์ที่ดาวเทียมของสหรัฐอเมริกา และ รัซเซียชนกัน เหตุการณ์นั้นก็สร้างขยะจำนวนมหาศาลในอวกาศ

แล้วมีของอินเดียมากน้อยแค่ไหน?

จากข้อมูลของ ODPO อินเดียยังสร้างขยะอวกาศน้อยกว่าประเทศรัซเซีย สหรัฐ และจีน แต่จำนวนขยะอวกาศที่อินเดียสร้างขึ้นนั้นมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2018 จนถึง 2019

แหล่งขยะอวกาศที่มากที่สุด

จำนวนชิ้นส่วนของจรวดที่ถูกยิงขึ้นไปในอวกาศในเดือน ตุลาคม 2019 (ข้อมูลจา orbital derbis

ในมีนาคมปีนี้ อินเดียกลายเป็นประเทศที่สี่ ที่ทดสอบขีปนาวุธเพื่อต่อต้านดาวเทียม ซึ่งการกระทำนี้ จะเกิดขยะในอวกาศจำนวนมาก อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาประนามการกระทำของอินเดีย และเกิดขยะมากกว่า 50 ชิ้น จากการทดสอบดังกล่าวนานกว่า 3 เดือน

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประเทศจีนทำเมื่อ 10 ปีก่อน อาจพอๆกับประเทศอินเดีย ที่สร้างขยะในอวกาศบ่อยครั้ง ความจริงแล้ว เมื่อเรารู้ว่าการกระทำดังกล่าวนั้นจะเกิดปัญหา ก็ควรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ

แล้วควรจัดการกับขยะอวกาศอย่างไร

วงโคจรรอบโลกในตอนนี้แออัดไปด้วยดาวเทียม ที่ทั้งมีอยู่แล้ว และดาวเทียมที่กำลังจะถูกยิงขึ้นไปเพิ่ม ซึ่งอาจเกิดปัญหาการชนกันได้

แต่ก็ยังไม่มีกฎข้อบังคับของการทดสอบการต่อต้านดาวเทียม หลายๆประเทศพยายามจัดการกับขยะดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นวิธีการติดตั้งแม่เหล็ก และ การติดตั้งอวนดักขยะเอาไว้

คาดว่าในปี 2025 Europe space agency จะทำการยิงจรวดเพื่อทำการลดขยะที่โคจรอยู่รอบโลกซึ่งต้องใช้ทั้งเทคนิคใหม่ๆ และ เงินจำนวนมากในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้