ส่องคดีอิลลูมินาติผิด-ไม่ผิด?!? เมื่อธนาธร-ปิยบุตรรู้หลบเป็นปีกฯ???

0

เป็นเรื่องราวทางคดีที่น่าติดตามอีกคดีสำหรับธนาธรและพลพรรคสีส้ม จากเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ทำหนังสือแจ้ง เลขที่ 291/2562 มายังพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ลงวันที่ 19 ธ.ค.2562 เรื่อง คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
จากกรณี นายณฐพร โตประยูร ฟ้องร้องพรรคอนาคตใหม่ , นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ , นายปิยบุตร แสงกนกกุล และคณะกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ในข้อหาล้มล้างการปกครองฯ ระบุว่า
ตามที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องให้พิจารณาวินิจฉัยกรณีของผู้ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธณรมนูญสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว และผู้ถูกร้องทั้งสี่ได้ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนพยานและคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน ฉบับลงวัยที่ 22 พฤศจิกายน 2562
ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอทั้งสองฉบับดังกล่าว
สำหรับรายละเอียดเบื้องต้นของคดีนี้ นายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2562 กล่าวหา พรรคอนาคตใหม่ มีแนวคิดและเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค อนค. รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของนายธนาธร นายปิยบุตร และ กรรมการบริหารพรรค ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องไว้พิจารณาเมื่อวันที่ 19 ก.ค.
หนึ่งในข้อกล่าวหาของผู้ร้องคือ สัญลักษณ์ของพรรคมีลักษณะสามเหลี่ยมด้านเท่ากลับหัว ซึ่งมีความเหมือนกับสมาคมอิลลูมินาติ (Illuminati) ซึ่งเป็นองค์กรลับที่รู้จักกันทั่วไปว่า มีเป้าหมายใหญ่ต้องการล้มล้างหรือปฏิวัติความเชื่อใหม่ ๆ ทั้งในเรื่องระบอบการปกครองและศาสนา แสดงให้เห็นว่า พรรคอนาคตใหม่มีวัตถุประสงค์ยึดถือปรัชญาความคิดอิสระ ไม่เชื่อถือความคิดเก่า ๆ ที่สั่งสอนกันมา
พรรคอนาคตใหม่จึงเป็นพรรคการเมืองที่เป็นอันตรายต่อระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
นั่นคือข้อกล่าวหาของผู้ร้องคือนายณฐพร ซึ่งฝ่ายผู้ถูกร้องคือนายธนาธร และแกนนำพรรคก็ต้องชี้แจงแก้ข้อกล่าวหานั้นไป จะมีความผิดจริง หรือไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหา ทางศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยให้ความเป็นกับทุกฝ่าย แต่สิ่งที่อยากจะนำมาทบทวนตอกย้ำก็คือ แนวความคิดของธนาธรกับปิยบุตร ที่มีการตั้งข้อสังเกตกันมากจากสังคมคือทั้งคู่คิดอะไร-อย่างไรกับสถาบันพระมหากษัตริย์???
ดร. สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการสถาบันทิศทางไทย เคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนาย ธนาธร ด้วยหนังสือ ” Portrait ธนาธร” ที่ตัวธนาธรได้ให้สัมภาษณ์ไว้ซึ่งบางส่วนระบุไว้ว่า
ธนาธรเป็นคนที่ชัดเจนมากในความคิดของตัวเอง เขาบอกว่า “ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด เป้าหมายสูงสุดคือการเปลี่ยนประเทศ” (หน้า 270)
ธนาธรมองว่า คุณสมบัติสำคัญของผู้นำประเทศ คือต้องมีเจตจำนงทางการเมืองเป็นหลัก เมืองไทยมีคนเก่งกว่าเขาเยอะแยะไปหมด แต่มีตัวเขาคนเดียวเท่านั้นที่มีเจตจำนงทางการเมืองที่ต้องการ “ให้ไทยออกจากวังวนของเผด็จการ วังวนของอำนาจนิยมที่รับใช้ชนชั้นนำให้ได้” (หน้า 273)
ธนาธรไม่เคยมองว่าตำแหน่งนายกฯ คือ ลิมิตสูงสุดของตัวเขา … ธนาธรเป็นนักผจญภัย เขาต้องการท้าทายลิมิตสูงสุดของตัวเขาเองในทุกเรื่อง ในฐานะผู้นำทางการเมือง ธนาธรมุ่งเป้าไปที่การทำให้ตัวเขา “มีอำนาจมากพอที่จะไปต่อรอง (กับ)××××” (หน้า 277)
“เราคิดว่า วิธีการของเราคือต้องมีอำนาจและต่อรอง (กับ)×××× นี่ต่างหากคือเป้าหมาย ถ้าจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ เอาทหารออกจากการเมืองไม่ได้หรอก จัดการเรื่องนี้ไม่ได้ จัดการเรื่องศาลไม่ได้หรอก จัดการอะไรไม่ได้”
ก่อนที่ประธานยุทธศาสตร์วิชาการสถาบันทิศทางไทย จะทิ้งท้ายไว้สำหรับสองคู่หูว่า
“จึงไม่แปลกที่เมื่อธนาธรเป็นหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตรจึงต้องเป็นเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่เพราะมีอุดมการณ์ปฏิวัติ 2475 เหมือนกัน
ธนาธรคือผู้นำทางการเมืองคนเดียวในประทศนี้ตอนนี้ ที่ขีดเส้นแบ่งชัดเจนให้ประชาชนต้องตัดสินใจเลือกข้างว่าจะเลือกอยู่ฝั่งเดียวกับเขาแล้วช่วยกันผลักดันการปฏิวัติ 2475 ให้สำเร็จต่อไปหรือไม่” ดร.สุวินัย
หากพูดถึงธนาธรไปแล้ว ถ้าจะไม่พูดถึงปิยบุตร แห่งนิติราษฏร์ ก็คงไมได้ ซึ่งอาจารย์ ปิติ ศรีแสงนาม (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้เคยกล่าวถึงจุดยืนที่ชัดเจนของนายปิยบุตร เอาไว้ว่า
“…ในการเสวนาหัวข้อ “การเมือง ความยุติธรรม สถาบันกษัตริย์” ซึ่งจัดโดยกลุ่ม 24 มิถุนาฯ เมื่อวันที่ 17/2/2013 โดยในนาทีที่ 7.25 อาจารย์ปิยบุตรก็กล่าวถึงแนวคิดของ Louis Antoine de Saint-Just…ในการพิจารณาคดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
“…คุณไม่ต้องไปดูหรอกว่าองค์พระประมุขหรือพระมหากษัตริย์เขาจะเป็นคนดี หรือ คนเลว เขาจะทำงานดี หรือ ทำงานไม่ดี โดยสภาพการณ์ของสถาบันกษัตริย์ ลักษณะของสถาบันกษัตริย์ มันเป็น Tyranny มันเป็นทรราชในตัวมันเอง…” และ “…การเป็นทรราชไม่ได้ถือว่าเป็นคนเลว แต่เพราะการถืออำนาจของทั้งหมดทุกคนไปถือไว้ที่คนคนเดียว มันผิดตั้งแต่แรกแล้ว มันผิดตั้งแต่วันเริ่มต้น โดยลักษณะทางธรรมชาติของตัวสถาบันเอง ไม่ได้เกี่ยวกับตัวบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น…”
(ผศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156990966877225&id=625882224)
สำหรับนายปิยบุตร ได้แสดงจุดยืนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นจุดยืนที่อันตรายและคนไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ???
ครั้งหนึ่งนายปิยบุตรเคยพูดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า
“…สถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องปรับตัวให้อยู่ได้กับประชาธิปไตย โดยแยกการใช้อำนาจจากรัฐให้เป็นเพียงหน่วยทางการเมืองหน่วยหนึ่ง ซึ่งทำให้กษัตริย์ไม่สามารถใช้อำนาจใด ๆ ผ่านรัฐได้อีกต่อไป โดยในทางรูปธรรมนั้นหมายถึง #การไม่อนุญาตให้กษัตริย์สามารถทำอะไรเองได้ เนื่องจากผู้ที่รับผิดชอบคือผู้สนองพระบรมราชโองการ รวมถึงการไม่อนุญาตให้กษัตริย์แสดงพระราชดำรัสสดต่อสาธารณะ…”
(ปิยะบุตร แสงกนกกุล เสวนาเรื่อง “เสรีภาพนิสิตนักศึกษาในพระปรมาภิไธย” 27 ธันวาคม 2554 อ้างอิง https://hilight.kapook.com/view/67008)
“วิธี… ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญคือ เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้สถาบันกษัตริย์มีหน้าที่ในการเคารพและพิทักษ์รัฐธรรมนูญ #ก่อนเข้ารับตำแหน่งต้องสาบานตนต่อสภาผู้แทนราษฎรว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ”
(ปิยบุตร แสงกนกกุล 18 มีนาคม 2555 ในงาน “แขวนเสรีภาพ” ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว อ้างอิง
https://prachatai.com/journal/2012/03/39717)
ขณะที่ ดร. เวทิน ชาติกุล ผู้อำนวยการสถาบันทิศทางไทย ก็มองว่าทั้งตัวนายธนาธร และนายปิยบุตร มีแนวคิดแบบปฏิกษัตริย์นิยม โดยให้นิยามความหมายของคำนี้ไว้ว่า
ความคิดปฏิกษัตริย์นิยม เป็นทั้งกระบวนทัศน์ (paradigm) และแก่นความคิดรวมทั้งใจกลางระบบความคิดของธนาธร-ปิยบุตรโดยแท้จริง
1. ปฏิกษัตริย์นิยม (Anti-Royalism) คืออะไร?
ความติดการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์อย่างที่เป็นมาโดยตลอดในสังคมไทยไม่สามารถไปด้วยกันได้กับการเป็นประชาธิปไตย(ตะวันตก)อย่างแท้จริง
ความคิดปฏิกษัตริย์นิยมเป็นทั้งกระบวนทัศน์ (paradigm) และแก่นความคิดรวมทั้งใจกลางระบบความคิดของธนาธร-ปิยบุตรโดยแท้จริง
2. ปฏิกษัตริย์นิยม (Anti-Royalism) ต้องการทำอะไร?
ดำเนินการลดทอนสถานะและอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งในทางรัฐธรรมนูญ ทางกฏหมายและทางวัฒนธรรม (ดังที่มีความพยายามดำเนินการตลอดมา) เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์โดยแท้จริง
3. ปฏิกษัตริย์นิยม = ล้มเจ้า ใช่หรือไม่?
ไม่จำเป็น เพราะปฏิกษัตริย์นิยมไม่ได้แสดงตนสุดโต่งแบบพรรคคอมมิวนีสต์แห่งประเทศไทยที่ต้องการล้มล้างสถาบันฯ
เพราะปฏิกษัตริย์นิยมต้องการให้ระบอบประชาธิปไตยอนุญาตให้มีการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และให้พระมหากษัตริย์สาบานตนต่อรัฐสภาว่าจะปกป้องรัฐธรรมนูญ
นั่นน่าจะชัดเจนสำหรับความคิดของธนาธรและปิยบุตรว่ามีความรู้สึกนึกคิดอย่างไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เรียกว่า ปฏิกษัตริย์นิยม ที่พยายามแสดงออกมาด้วยเจตนาเลี่ยงกฏหมาย เพราะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อความผิด?!? ส่วนคดี อิลลูมินาติที่เผชิญอยู่อาจไม่เข้าข่ายผิดกฏหมาย หรืออาจจะมีความผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ เรื่องนี้ต้องให้ศาลพิจารณาตามพยานหลักฐาน!!! แต่ที่แน่ๆคือปิยบุตร-ธนาธร:รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง???

#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง