นิด้าโพลเผยคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยแฟลชม็อบ ชี้ไม่ช่วยพัฒนาประเทศ-ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

0

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจเ มื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จัดกิจกรรมการชุมนุม (แฟลชม็อบ) บริเวณสกายวอล์ค สี่แยกปทุมวัน เมื่อวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 พบว่า

ส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.62 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมที่ปราศจากอาวุธและความรุนแรง

รองลงมา ร้อยละ 16.76 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่ออนาคตของประเทศ

ร้อยละ 16.60 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตย และต่อต้านเผด็จการ

ร้อยละ 15.74 ระบุว่า เบื่อการชุมนุมบนท้องถนน

ร้อยละ 14.57 ระบุว่า เป็นจุดเริ่มต้นของความแตกแยกและสถานการณ์ความวุ่นวายในอนาคต

ร้อยละ 10.88 ระบุว่า เป็นการจัดการชุมนุมเพื่อต่อต้านความไม่ยุติธรรมในสังคม

ร้อยละ 10.34 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อปกป้องนายธนาธร และ พรรคอนาคตใหม่ที่กำลังโดนคดีความต่าง ๆ

ร้อยละ 4.31 ระบุว่า เป็นเรื่องของการไม่ยอมรับในกฎหมาย กติกาในสังคม

ร้อยละ 2.82 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายการชุมนุม

และร้อยละ 5.25 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดกิจกรรมการชุมนุม (แฟลชม็อบ) พบว่า

ร้อยละ 27.80 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม เสรีภาพ ให้กับประชาชน โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับบ้านเมือง ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนคนเก่าที่เป็นอยู่

ร้อยละ 20.75 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน ถ้าไม่ทำให้การชุมนุมบานปลายสร้างความวุ่นวาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเห็นประเทศไทยมีการพัฒนาขึ้นในทุก ๆ ด้าน

ร้อยละ 15.35 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเบื่อการชุมนุมน่าจะต่อสู้ตามกระบวนการกฎหมายมากกว่าออกมาสู้แบบการชุมนุมเนื่องจากจะทำให้เกิดความวุ่นวายความแตกแยกในสังคม และจะส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน

ร้อยละ 28.35 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ การจัดชุมนุมไม่สามารถทำให้ประเทศพัฒนาไปข้างหน้าได้ สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า และกลัวบ้านเมืองจะเกิดความแตกแยก วุ่นวาย เหมือนในอดีตที่ผ่านมา

และร้อยละ 7.75 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.69 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.08 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.33 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.67 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.23 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.00 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.00 เป็นเพศหญิง

 

ตัวอย่างร้อยละ 5.87 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.66 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.61 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.87 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 20.99 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.60 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.29 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.49 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.62 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.03 สถานภาพโสด ร้อยละ 75.65 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.39 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.93 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

 

ตัวอย่างร้อยละ 32.18 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.23 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.67 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.34 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.25 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.33 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 10.10 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.14 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.96 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.29 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.72 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.19 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.35 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.25 ไม่ระบุอาชีพ

 

ตัวอย่างร้อยละ 19.58 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.43 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.71 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.95 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 8.14 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.71 ไม่ระบุรายได้