กว่า4ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าประเทศจีนประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจน ชาวจีนมากกว่า 700 ล้านคนได้หลุดพ้นจากความยากจน มากกว่า 70 % ของการขจัดความยากจนทั่วโลก โดยมุ่งไปในระดับท้องถิ่น ไปสู่ระดับหมู่บ้าน เพื่อให้ตรงเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนยากจนโดยตรง อาทิจากการปฏิรูปการเกษตร ปฏิรูปที่ดิน ส่งผลให้ครอบครัวชาวจีนในชนบทมีรายได้สูงขึ้น
ขณะที่เดี่ยวกัน “สถาบันทิศทางไทย” อีกหนึ่ง Think Tankของสังคมไทย พร้อมศึกษา ร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานในไทย โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อวันที่18 ธ.ค.62 สถาบันทิศทางไทย นำโดย นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ประธานกรรมการสถาบันทิศทางไทย ดร.สุวินัย ภรณวลัยประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย พร้อมคณะคณาจารย์ อาทิ ดร.แสงเทียน อยู่เถา ดร.วีระพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล ดร.เวทิน ชาติกุล คุณฉัตรชัย ภู่โคกหวาย ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายหลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย
ในการเข้าเยี่ยมคารวะ เอกอัครราชทูตจีนครั้งนี้ สองฝ่ายแลกเปลี่ยน เรื่องยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาความยากจน โดยนายหลู่ย์ เจี้ยน ระบุว่าทางฝ่ายจีนยินดีที่จะแบ่งปั่นประสบการณ์การแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ให้ความสำคัญกับประเด็นดังล่าวเป็นอย่างมาก ท่านได้กล่าวไว้ว่า ในปี 2020 ประเทศจีนจะไม่มีคนจนทั่วทั้งประเทศ ถึงแม้ว่าจะเป็นความท้าทายที่ยาก แต่ทางจีนมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้บรรลุให้ได้
สำหรับการแก้ไข้ปัญหาความยากจนในปีหน้า (2020) ทางจีนจะเชิญ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และ ข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวของจีน มาศึกษาดูงานที่ประเทศไทย และจะมีการจัดเสวนา แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันละกัน
ทั้งนี้กรรมการทิศทางไทย โดย เดช พุ่มคชา ผู้ที่ทำงานกับภาคประชาชนมากว่าครึ่งชีวิต ได้เสนอให้สองฝ่ายศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ ในโมเดลการแก้ปัญหาความยากจนของสองชาติร่วมกัน
เอกอัครราชทูตจีนได้กล่าวว่าในเมืองไทยก็มีผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาปากท้องและความยากจนได้เช่นกัน ซึ่งน่าสนใจว่าเมืองไทยมีแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลักอยู่ โดยกรรมการสถาบันได้กล่าวว่า สถาบันทิศทางไทยเองก็ได้เสนอแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงยุทธศาสตร์หลักของประเทศเช่นกัน โดยได้ประสานความร่วมมือในเรื่องนี้กับสถาบันวิชาการ เช่น นิด้า และภาคส่วนอื่นๆในสังคม เช่น ไร่ทองหทัย เป็นต้น
ทางเอกอัครราชทูตจีน เห็นว่า ทั้ง2 ประเทศล้วนแต่เป็นเพื่อนบ้านและเป็นหุ้นส่วนที่ดีต่อกัน มีการติดต่อแลกเปลี่ยน ค้าขาย กันมากว่าพันปี และเป็นแหล่งของอารยธรรม ภูมิปัญญาของตะวันออกในมิติใดมิติหนึ่ง ทั้งสิ้น ดังนั้นทั้ง2ฝ่ายควรแลกเปลี่ยนกันอย่างเปิดเผยและลึกซึ้งอย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป
อีกทั้งจะประสานสถาบันยุทธศาสตร์ชั้นนำของจีนให้พบกัน จะมีการศึกษา ดูงานระหว่างกันทั้งสองชาติ โดยประเทศจีน มี Think Tank หลายแห่งที่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันทิศทางไทย ในส่วนของประชาชนจีนเองก็ได้ให้ความสนใจประเทศไทย อยากเข้าใจการพัฒนาของประเทศไทยให้มากขึ้น
นอกจากนี้ในวงสนทนาได้กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสมาคมเกษตร อาทิ สมาคมชาวนาไทย-จีน เพื่อให้เกิดการเชื่อมประสานลงถึงภาคประชาสังคมอย่างแท้จริง เนื่องจากในปัจจุบัน แม้จะมีสมาคมมิตรภาพต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับทั้ง ๒ประเทศเกิดขึ้นมากมาย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการแลกเปลี่ยนในวงของนักการเมือง นักธุรกิจ หรือพ่อค้าเท่านั้น ทำให้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยนช์ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ และไม่ถึงประชาชน
เอกอัครราชฑูตจีนได้กล่าวถึงถ้อยคำของประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ก่อนจากลากันว่า “มีแต่คนที่สวมรองเท้าเท่านั้นจะรู้ดีที่สุดว่ารองเท้าที่ตัวเองกำลังสวมใส่เป็นยังไง” นี่คือบทสะท้อนอันดีว่าระหว่างการพัฒนาไปตามแนวทางที่ตะวันตกขีดให้เดินกับการคิดหาวิธีที่จะก้าวเดินไปด้วยตัวเองอย่างเข้มแข็ง ชาติตะวันออกอย่างเราควรจะเลือกเดินแบบใด