อินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก (มีพื้นที่ปลูกปาล์ม 42% ของพื้นที่ของการปลูกปาล์มของทั้งโลก) ได้ยื่นฟ้องสหภาพยุโรป ต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า การกีดกันเชื้อเพลิงชีวภาพจากปาล์มน้ำมันของสหภาพยุโรปนั้นไม่เป็นธรรม
ในปีนี้คณะกรรมาธิการยุโรปสรุปว่าการเพาะปลูกน้ำมันปาล์มส่งผลให้มีการทำลายป่าไม้มากเกินไป ไม่ควรถูกจัดว่าเป็นพลังงานหมุนเวียน ผลที่ตามมาคือน้ำมัน Biodiesel จะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ และเป็นการใช้ในน้ำมันนี้เชื้อเพลิงเพื่อการขนส่ง ก็จะถูกยกเลิก ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2566 – 2573
สหภาพยุโรปจึงได้ประการข้อร้องเรียนที่องค์การการค้าโลกในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาขึ้นภาษีไบโอดีเซลของอินโดนีเซียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คณะกรรมาธิการกล่าวว่าคำสั่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสีเขียวของสหภาพยุโรป และมั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวสอดคล้องกับภาระผูกพันขององค์การการค้าโลกและได้อธิบายเรื่องนี้กับรัฐบาลอินโดนีเซียแล้วหลายครั้ง
ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการค้าต่างประเทศของอินโดนีเซีย Indrasari Wisnu Wardhana กล่าวว่านโยบายของสหภาพยุโรปจะไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียไปยังยุโรป แต่จะทำให้ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มเสื่อมเสียไปทั่วโลก
เดิมที่ EU ส่งเสริมให้อินโดนีเซียผลิตปาล์ม ให้เพื่อผลิต Biodesel ทำให้อินโดเซียขยายพื้นที่การผลิตปาล์มอย่างมากทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่าไปจำนวนมาก การใช้ Biodesel เป็นพลังงานทดแทน (เพื่อช่วยสิ่งแวดล้อม) แต่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมเสียมากกว่า EU อ้างโดยใช้เหตุผลนี้ในการ ทะยอยยกเลิกการใช้ Biodesel ในปี 2030 การยกเลิกการใช้ Biodesel ไม่มีการใช้น้ำมันปาล์ม ไม่มีการนำเข้านำเข้าปาล์ม อินโดนีเซียก็จะสามารถไม่ได้ส่งออกปาล์มไปที่ EU และที่อินโดนีเซียขยายพื้นที่การผลิตปาล์มไว้แล้ว จะทำอย่างไรนี่คือประเด็นที่ทำให้อินโดนีเซียร้องต่อ WTO
ถ้ามองในมุมไทย อินโดนีเซียส่งปาล์มไป EU ไม่ได้ ราคาปาล์มในตลาดโลกจะตกหรือไม่ ไทยผลิตปาล์มแล้วราคาจะตกต่ำหรือไม่ปาล์มเหล่านั้นจะเข้าไทยหรือไม่ จะทำให้ราคาปาล์มยิ่งตกต่ำหรือไม่ เกษตรกรปาล์มน้ำมันจะได้รับผลกระทบหรือไม่