แนวหน้าการใช้ปัญญาประดิษฐ์ กรณีศึกษาที่ 4 APPLE ใส่ Al ลงไปในผลิตภัณฑ์ และปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
แปล ดร.วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล
เขียน เบอร์นาร์ด มารร์ และ แมต วอร์ด, 2019
Apple เป็น บริษัท เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกหากมองในด้านของรายรับบริษัท มีฐานอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ออกแบบ พัฒนา และ จำหน่าย ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชาญฉลาด ที่โดดเด่น ได้แก่ iPhone, iPad, Macs, Apple Watch, Apple TV รวมถึงชอฟต์แวร์ และบริการเสริม ในปี พ.ศ.251 Apple เป็นบริษัทมหาชนแห่งแรที่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยุทธศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์ของ Apple มีศูนย์รวมอยู่ที่อุปกรณ์ของตน และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัท ได้วางตำแหน่งตัวเองในฐานะผู้บุกเบิก “เทคโนโลยี AI ที่ฝังอยู่ในอุปกรณ์” โดยอ้างถึงความปลอดภัยที่เหนือกว่าและศักยภาพในการสร้างประสบการณ์ที่ไม่ซ้ำใคร
Apple ใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างไร
วิสัยทัศน์ของ Apple คือ อุปกรณ์พกพาที่ทรงพลังที่สามารถรัน “การเรียนรู้ของเครื่อง”ได้ด้วยตนเอง โดยใช้ชุดข้อมูลที่รวบรวมผ่านเซ็นชอร์อาร์เรย์ ที่ติดตั้งอยู่กับอุปกรณ์
เห็นได้ชัดว่า นี่ย่อมขัดแย้งกับวิสัยทัศน์ คลาวต์คอมพิวติ้งและเทอร์มินัลที่มีกำลังต่ำ ซึ่ง เป็นแนวทางกระแสหลักที่ถูกครอบงำและได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ
นี่ย่อมหมายถึงการรันอัลกอริทึม “การเรียนรู้ของเครื่อง” โดยตรงบนอุปกรณ์ของผู้ใช้โดยใช้ชิปหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ชิปหน่วยประมวลผลกราฟิก ที่ทรงพลัง ที่ติดตั้งภายใน โทรศัพท์ นาฬิกา หรือ ลำโพง
ตัวอย่างหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้คือ การพัฒนา”Neural Engine” ที่อยู่ภายใน iPhone x รุ่นล่าสุด นี่คือชิปที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อการคำนวณโครงข่ายประสาทที่จำเป็นสำหรับ“การเรียนรู้เชิงลึก” ทำให้การประมวลผลฟังก็ชั่นต่าง ๆทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่นฟีเจอร์ส็อกอินด้วยการตรวจสอบใบหน้า ฟีเจอร์ในกล้องที่ช่วยให้ผู้ใช้ถ่ายภาพได้ดีขึ้น (หรือเพิ่มเอฟเฟกต์แอ๊บแบ๊ว) เพิ่มความเป็นจริงแบบแต่งเติม(AR) และ การจัดการอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ดีกว่า
การรัน “การเรียนรู้ของเรื่อง” บนอุปกรณ์ สามารถทำงานได้เร็วกว่ามาก เมื่อเทียบกับการต้องรอคอยจนกระทั่งข้อมูลถูกส่งคืนกลับมาจากคลาวด์ ก่อนที่แอพจะเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงระดับที่สามารถดำเนินการต่อไปได้ อย่างไรก็ ตามมันไม่ได้ไม่มีข้อเสียเปรียบเสียเลย การสามารถถูกฝึกสอนโดยใช้ชุดข้อมูลที่รวบรวมอยู่ในอุปกรณ์เพียงเครื่องเดียวนั้นหมายความว่า อัลกอริทึมทั้งหลายจะไม่ได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้จากชุดข้อมูลขนาดใหญ่จากแหล่งของผู้คนจำนวนมาก ซึ่ง“การเรียนรู้ของเครื่อง” แบบคลาวด์สามารถทำได้
สิ่งนี้ขึ้นอยู่กับการโฟกัสของ Apple ในการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้ โดยต้องมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว จะต้องไม่หลุดออกไปจากโทรศัพท์ก่อนที่มันจะถูกประมวลผลโดย “การเรียนรู้ของเรื่อง” เสียก่อน Apple หวังว่าผู้บริโภคจะไว้วางใจได้วข้อมูลของพวกเขาจะปลอดภัยกว่าเมื่ออยู่กับตัวเอง
AI Ecosphere ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Apple รวมศูนย์อยู่รอบ ๆ “กรอบการทำงานของ Core ML” Core ML อนุญาตให้นักพัฒนาสามารถสร้าง “อัลกอริทึมคารเรียนรู้ของเครื่อง” ใส่ลงไปในแอพที่พวกเขาพัฒนา รวมทั้ง การเรียนรู้สึก การมองเห็นของคอมพิวเตอร์ และ ภาษาธรรมชาติ มันช่วยเติมความฉลาดที่อยู่เบื้องหลัง Siri, ผู้ช่วยเหลือด้วยเสียงของ Apple. รวมถึงฟังก์ชั่น AI ในกล้อง iPhone และ ดีย์บอร์ดQuickType
แอพที่ฉลาดกว่า
ผู้มีส่วนสำคัญในความสำเร็จของ iPhone คือ App Store ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วไปคุ้นเคยกับการดาวน์โหลดแอพมาไว้ที่โทรศัพท์มาตั้งแต่ที่มีการเปิดตัวในปี 2551 แต่สำหรับ App Store ที่เน้นความคล่องตั้วของ Apple นั้น ได้วางเป้าหมายไว้ที่ การช่วยให้ผู้ใช้ iPhone สามารถปรับแต่งและเพิ่ม features ไปยังโทรศัพท์ของพวกเขา ได้โดนใจเจ้าของมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ด้วยความเอาใจใส่ต่อ วิธีการที่ระบบนิเวศของแอพจะช่วยรักษาลูกค้าให้กลับมาที่Apple ทุกครั้งที่หมดสัญญาการใช้งาน Apple จึงพยายามผลักดันให้นักพัฒนาแอพที่เป็นคู่ร่วมมือบุคคลที่สาม ใส่ AI ลงไปในแอพของพวกเขา กลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การสร้างความต่อเนื่องที่จะส่งมอบฟังก์ชั่นที่ปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งไม่มีอยู่บนแพลตฟอร์มมือถือค่ายอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ Apple จึงไต้จัดให้มีเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา เช่น “Create ML” เพื่อให้นำไปใช้เสริมพลังแก่แอพลิเคชั่นที่พวกเขาพัฒนาขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงได้เห็น “การเรียนรู้ของเครื่อง” รับอยู่ในอุปกรณ์ของผู้ใช้แต่ละคน
Homecourt เป็นแอพตัวหนึ่งที่เจ๋งมาก ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยในการตัดสินเกมบาสเก็ตบอลสมัครเล่น สิ่งที่ผู้ใช้ต้องทำก็มีเพียง เล็งกล้องไปที่เกมที่กำลังเล่นอยู่ “การเรียนรู้ของเครื่อง” จะแท็กผู้เล่นที่อยู่ในเกม จับภาพเมื่อพวกเขาส่งและยิงบอล พร้อมกับบันทึกตำแหน่งในสนามของผู้เล่นแต่ละคนด้วย ทั้งหมดนี้ กระทำโดย “เทคโนโลยีการมองเห็นของคอมพิวเตอร์” ที่ติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์วนๆ
Polyword เป็นแอปพอีกตัวหนึ่งที่รู้จักกันดีมันช่วยบอกชื่อวัตถุใดก็ตามที่ผู้ใช้เล็งกล้องไปหา ได้ถึง 30 ภาษา โดยใช้ฟังก์ชั่น “การมองเห็นของคอมพิวเตอร์” และ “การเรียนรู้ของเครื่อง”
นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ช่วยจับลักษณะสำคัญบางอย่างในรูปถ่ายที่ผู้ใช้งานกำลังถ่ายทำพร้อมแนะนำการปรับปรุงแบบเรียลไทม์ และจัดการการแจ้งเตือน ถ้าพบว่ามีสารสนเทศที่ดูเหมือนจะมี ความสำคัญมาก มันก็จะถูกนำมาสู่ความสนใจของผู้ใช้ในเวลาที่ใช่
การประมวลผลภาษาธรรมชาติ
ตอนที่ Apple เปิดตัว Siri นั้นมันได้กลายเป็น ผู้ช่วยที่ถูกเสริมพลังด้วย AI และ “การประมวลผลภาษารรมชาติ (NLP)” ตัวแรกสุดที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายถึงแม้ว่า มันถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องการมีนวัตกรรมไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับที่พบเห็นใน AIs ของคู่แข่งหลายราย ซึ่งมีการอัพเดทแบบเรียลไทม์ รวมทั้ง มีฟังก์ชั่นการแปลภาษาได้มากถึง 40 คู่ภาษาที่ใช้ความสามารถของ “การเรียนรู้ของเครื่อง”
ฟังก์ชั้น NLP ของ Siri จะส่งข้อมูลไปยังคลาวด์ อย่างไรก็ตาม ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จะเก็บถูกรักษาไว้ โดย ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวตนทั้งหมดของผู้ใช้ จะถูกถอดออกจากข้อมูลคำสั่งที่จะถูกส่งออกจากอุปกรณ์ของผู้ใช้ในรูปแบบที่เข้ารหัส
การวิจัย NLP ล่าสุดที่ Apple ได้เน้นให้ผู้ใช้ Siri ได้รับผลสัพที่แม่นยำมากขึ้น ในการค้นหาข้อมูลธุรกิจหรือสถานที่ที่น่าสนใจในพื้นที่รอบตัว นักวิจัยส่งสัญญาณโลเคชั่นไปยัง“ข้อมูลฝึกอบรม” ทำให้ Siri เข้าถึงชุดข้อมูล รวมทั้ง ชื่อของสถานที่และธุรกิจขนาดเล็ก ในท้องถิ่นนั้นได้ ในทางทฤษฎีมันจะใช้ข้อมูลโลเคชั่นนั้น ในขณะที่มันแปลภาษาพูดเพื่อเพิ่มเดิมความเข้าใจว่า ผู้ใช้กำลังหมายถึงอะไร เช่น ถ้ามีบางคนเอ่ยคำว่า “I am going to Kilkenny (ฉันกำลังจะไปคิลเคนนี่) นั้นน่าจะหมายถึง “ตั้งใจจะไปเยี่ยมชมเมืองในไอร์แลนด์” หรือ “จะไปฆ่าผ้าชายคนหนึ่งที่ชื่อเคนนี่” กันแน่
ความท้าทายที่สำคัญ, จุดเรียนรู้,และ ไอเดียที่น่าจะนำไปใช้
-AI เป็นหัวใจสำคัญมากอย่างยิ่งของกลยุทธ์ของ Apple ถึงกับต้องติดตั้งมันลงไปในอุปกรณ์และบริการสนับสนุนทั้งหลาย
-Apple ให้ความสำคัญต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ มากกว่า ความสามารถในการสูบข้อมูลทั้งหมดขึ้นไปไว้ในคลาวด์เพื่อใช้ฝึกอัลกอริทึมด้วยชุดข้อมูลที่ใหญ่กว่า
-นอกจากนี้ Apple pyงส่งเสริมการใช้ “Create ML”ซึ่งเป็นแพลทฟอร์ม “การเรียนรู้ของเครื่อง” ที่เป็นลิขสิทธิ์ของตนเอง เพื่อสร้างแอพทั้งหลายที่สามารถใช้งานได้เฉพาะบนอุปกรณ์ของ Apple เท่านั้น