เปิดคำตัดสินศาลปค.!!! เห็นธาตุแท้ยิ่งลักษณ์!?! ยังตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จ???

0

จริงไหมยิ่งลักษณ์ตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จ???

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ้างสูญเสียบ้าน ทรัพย์สิน บัญชีธนาคาร รวมถึงทรัพย์สมบัติ เพราะมีการใช้มาตรา 44

.

ความจริง – การใช้มาตรา 44 แค่ให้กรมบังคับคดีเข้าไปจัดการ ไม่ใช่ใช้ยึดทรัพย์ แต่ยึดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ.2539 ที่เปลี่ยนจากกระทรวงมาเป็นกรมบังคับคดี

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ้างว่ามีการนำเอาข้ออ้างของมาตรา 44 มาอยู่เหนือคำพิพากษาของศาล ได้ใช้ข้อต่อสู้ทางกฎหมายทุกรูปแบบแล้วแต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ เพราะพล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44

.

ความจริง – การออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่56/2559 ตามมาตรา 44  รัฐบาลไม่สามารถก้าวล่วงอำนาจศาล เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงการให้อำนาจกรมบังคับคดีเข้าไปดำเนินการ

.

ความจริง – ได้มีการตั้ง “คณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง” มีนายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธาน ให้ “ยิ่งลักษณ์” ชดใช้เงิน 35,717 ล้านบาท

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ้างทุกคนเร่งดำเนินการคดีกับตนเองโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องของกฎหมาย ต้องรอคำพิพากษาศาลปกครองที่ถึงที่สุดก่อนจึงนำทรัพย์ขายทอดตลาดได้

.

ความจริง – การยึดทรัพย์ได้พิจารณาตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และพ.ร.บ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ นับตั้งแต่มีการออกคำสั่งทางปกครองและแจ้งไปให้ดำเนินการ

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ถูกคำสั่งได้ไปร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์

.

ความจริง – แสดงว่ากระบวนการแล้วเสร็จไม่เช่นนั้นผู้ถูกออกคำสั่ง จะไปร้องต่อศาลปกครองขอให้ทุเลาไม่ได้

.

ความจริง – ที่ยิ่งลักษณ์อ้างว่ากระบวนยังไม่แล้วเสร็จนั้น คือคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  แต่เรื่องยึดทรัพย์ในทางกฎหมายไม่จำเป็นต้องรอคำตัดสินของศาลฎีกาฯ

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ้างไม่ได้รับความยุติธรรม เป็นเพราะมีการใช้มาตรา 44 ที่เป็นกฎหมายเลือกข้าง

.

ความจริง – 29 ม.ค. 2561 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งยกคำขอของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของนายกรัฐมนตรีกับพวกรวม 4 คน ที่สั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 35,000 ล้านบาทจากคดีรับจำนำข้าว

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ้างเหตุความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งเรียกให้ชดใช้เงิน

.

ความจริง – โดยศาลเห็นว่าเมื่อพิจารณาคำขอของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ได้ยื่นไว้เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 และข้อเท็จจริงจากการชี้แจงของคู่กรณีรวมถึงกรมบังคับคดี

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ้างว่าได้มีการใช้มาตรการบังคับทางปกครองในการยึดอายัดทรัพย์สินบางรายการไปแล้ว ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ยากแก่การเยียวยาภายหลัง

.

ความจริง – ศาลปกครองกลางเห็นว่า กระทรวงการคลังจะมีศักยภาพในการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นในภายหลังได้

.

ความจริง – ศาลปกครองกลาง ยังพบข้อเท็จจริงปรากฏว่าบัญชีเงินฝากทั้ง 16 บัญชี ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยื่นต่อ ป.ป.ช.เมื่อพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี กว่า 24 ล้านบาท แต่เมื่อเจ้าหน้าที่อายัด พบว่ามีเงินเหลือในบัญชีประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ชี้แจงประเด็นนี้ต่อศาล จึงเชื่อได้ว่ามีพฤติการณ์ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินจริง

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ้างว่าถูกดำเนินการยึดทรัพย์ เพราะมาตรา44 กฎหมายที่เลือกข้าง ตนเองไม่ได้รับความยุติธรรม

.

ความจริง –  8 ก.พ. 61 ที่ศาลปกครองกลาง  นายนพดล หลาวทอง ได้รับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นคำร้องขอศาลพิจารณาสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 1351/2559 ภายหลังที่ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งยกคำร้องของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาถึง 2 ครั้งแล้ว เมื่อวันที่ 10 เม.ย.60 และวันที่ 29 ม.ค.61

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อ้างว่าไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะมีการใช้มาตรา 44 เข้าดำเนินการทางคดีกับตนเอง

.

ความจริง – น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ยื่นศาลปกครองกลางขอทุเลาและยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์แล้วถึง3ครั้ง โดย 2ครั้งแรกศาลได้ยกคำร้อง ทั้งยังพบพฤติการณ์แอบยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปแล้ว

.

  1. นพดล หลาวทอง ทนายยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงการยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีรอบที่ 3 เนื่องจากเห็นว่า การยึดทรัพย์บังคับคดีจะต้องเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำพิพากษา

.

ความจริง – 9 ก.พ. 61 นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส. พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์  ชี้ว่าที่ศาลยกคำร้องนั้น ได้พูดถึงข้อกฏหมายและระเบียบศาลปกครองกรณีทุเลาการบังคับคดีแล้ว ที่สำคัญผู้ร้องแพ้คดี ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดได้ แต่สามารถร้องต่อศาลปกครองกลางซ้ำได้ ถ้ามีข้อมูลใหม่

.

ความจริง – การร้องขอทุเลาบังคับคดีครั้งแรกของยิ่งลักษณ์ ศาลปกครองยกคำร้องเพราะยังไม่มีการยึดและอายัดทรัพย์เกิดขึ้น ซึ่งยิ่งลักษณ์ก็ได้ร้องซ้ำไปแล้ว เพราะมีข้อมูลใหม่ว่ามีการยึดและอายัดทรัพย์เกิดขึ้นจริง และศาลก็ได้ยกคำร้องการขอทุเลาบังคับคดีในครั้งที่สอง

.

  1. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โหนมาตรา44 อ้างว่าทรัพย์สินถูกขายทอดตลาด แต่ไม่พูดเลยว่าตนเองได้ต่อสู้ตามขั้นตอนกฏหมายปกติทุกอย่าง และศาลปกครองก็ยกคำร้องถึงสองครั้ง

.

ความจริงที่ยิ่งลักษณ์อาจลืม 18 ธ.ค.62 จากนพ.วรงค์

.

  1. มาตรา44 เป็นการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามกฏหมายด้วยความสุจริต ไม่คุ้มครองถ้าทุจริตกลั่นแกล้ง ไม่เกี่ยวกับสาระคดี เพราะคดีทั้งอาญาและแพ่ง ของยิ่งลักษณ์ผ่านกระบวนการกฏหมายปกติทุกอย่าง จนกระทั่งหนีคำตัดสินของศาล

.

  1. ช่วงยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯและ ประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ อะไรเกิดขึ้นบ้าง???

.

  1. แก้ไขสัญญาเพิ่มชนิดและปริมาณข้าวเรื่อยๆ โดยไม่มีการเจรจาต่อรองเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

.

  1. รับมอบข้าวไปโดยผู้รับมอบอำนาจที่เป็นคนไทยแล้วนำไปขายต่อให้ผู้ประกอบการค้าข้าวภายในประเทศ โดยไม่มีการส่งข้าวที่ซื้อขายไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน

.

  1. หลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมอันเป็นการเอาเปรียบแก่กรมการค้าต่างประเทศ

.

  1. หลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ เดือนพฤศจิกายน 2555 กว่ายิ่งลักษณ์จะปรับนายบุญทรงออก ต้องรอถึง 7เดือน คือมิถุนายน 2556 จนเกิดโกงจีทูจีรอบสอง อีก 4 สัญญา ข้าว 14 ล้านตัน

.

  1. ประเทศใช้เงินในโครงการจำนำข้าว 9.4 แสนล้านบาท มีความเสียหายมากกว่าห้าแสนล้านบาท และรัฐบาลปัจจุบันต้องตั้งงบใช้หนี้รวมดอกเบี้ย ปีละห้าหมื่นล้านบาทนานถึง 16 ปี

.

  1. ยิ่งลักษณ์พยายามเล่าความเศร้าเรื่องทรัพย์ตนเองถูกขายทอดตลาด แต่ยิ่งลักษณ์อาจลืมไปว่า มีญาติพี่น้อง โกงเงินแผ่นดินไทยไปเท่าไร

.

  1. ยังมีการโกงจีทูจีรอบสองอีกที่รอผ่านกระบวนการยุติธรรม

.

  1. สุดท้ายยิ่งลักษณ์ ก็หนีเอาตัวรอดไปสุขสบาย แต่ปล่อยให้คนอื่นรับกรรม คือจำคุกนายภูมิ 36 ปี นายบุญทรง 42ปี(ศาลเพิ่มเป็น 48 ปีหลังขออุทธรณ์) นายมนัส 40ปี นางทิฆัมพร 32 ปี นายอัครพงศ์ 24 ปี นายอภิชาติ 48 ปี

.

หยุดโหนมาตรา 44 ได้แล้ว เพราะไม่เกี่ยวใดๆกับการดำเนินคดียึดทรัพย์ และทุจริตจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์และคณะเลย!?!

 

 

#ปอกเปลือก#ปอกให้เห็นความจริง