อิ๊งค์-ครม.ตายน้ำตื้น! หอบหลักฐานชูศักดิ์ทีมกม.เพื่อไทยหลุดกลางสภา สอยพ้นรมต.ทั้งคณะ ขัดคุณสมบัติผิดจริยธรรมร้ายแรง

0

จากที่รัฐบาลแพทองธารได้แถลงนโยบายเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อมีผู้ร้องให้พิจารณาคุณสมบัติรัฐมนตรี เพราะไม่ได้ชี้แจงรายได้ของนโยบาย ซึ่งต้องจับตาว่าเรื่องนี้จะนำพาไปสู่จุดจบของรัฐบาลนี้เร็วขึ้นหรือไม่

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 มีรายงานจาก สำนักข่าวอิศรา ที่ออกมาระบุว่าเมื่อวันที่ 14 กันยายน กลุ่มบุคคล คณะนิติชน-เชิดชูธรรม ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร และรัฐมนตรีทุกคนในคณะรัฐมนตรี รวม 36 คน ต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ เนื่องจากอาจขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม

“กรณีร่วมกันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยขัดต่อกฎหมายสูงสุดของประเทศ มีลักษณะจงใจกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ชัดเจน ไม่ซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างครบถ้วน และไม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับข้าราชการภายใต้การบริหารของตนในเรื่องที่มีความสำคัญ ทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทุกคนในคณะรัฐมนตรี ไม่เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และอาจฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง”

โดยคำร้องที่ยื่นต่อ กกต.ระบุว่า คณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 และเสร็จสิ้นหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 กันยายน 2567 ไม่ได้ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย

“ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยชัดเจนให้ต้องกระทำ ซึ่งนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หนึ่งในคณะรัฐมนตรีซึ่งดูแลงานด้านกฎหมาย ได้รู้ถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี โดยได้อภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาครั้งนี้ว่า

รัฐธรรมนูญบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ ดังนั้นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทุกคนในคณะรัฐมนตรีจึงรู้หรือควรรู้ว่าจะต้องชี้แจงเรื่องนี้ แต่ไม่ได้ชี้แจงไว้แม้แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งการไม่ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้เคยเกิดปัญหามาแล้วในรัฐบาลชุดก่อนที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำเช่นกัน ทำให้การดำเนินนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านกระเป๋าเงินดิจิตอลให้กับประชาชน ต้องเลื่อนไป 6-7 ครั้ง”

อย่างไรก็ตามคำร้องมีรายละเอียดว่า คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีจะต้องมีเนื้อหาครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 วรรคหนึ่ง แต่ปรากฏว่าคำแถลงนโยบายขาดเนื้อหาที่เป็นการชี้แจงในเรื่องที่มีความสำคัญตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้ต้องมี ได้แก่

“การชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย โดยได้อ้างถึง เอกสารของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เรื่องความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในส่วนของมาตรา 162 ระบุไว้ว่า

การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย มีความมุ่งหมายเพื่อกำหนดเงื่อนไขการเข้าบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี เป็นการป้องกันมิให้คณะรัฐมนตรีจัดทำนโยบายในลักษณะ ประชานิยม โดยไม่คำนึงถึงที่มาแห่งรายได้ของรัฐที่จะนำมาใช้จ่าย ซึ่งในการหาเสียงของพรรคการเมืองด้วยนโยบายที่ไม่ระบุถึงแหล่งเงินที่จะใช้ดำเนินนโยบาย จะมีผลให้พรรคการเมืองนั้น แม้จะได้รับเสียงข้างมากจนจัดตั้งคณะรัฐมนตรีได้ ก็จะไม่สามารถนำนโยบายที่หาเสียงไว้มากำหนดเป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีได้….

ซึ่งหมายถึงหากคณะรัฐมนตรีจะนำเอานโยบาย ประชานิยม ที่ใช้หาเสียงมากำหนดเป็นนโยบายเพื่อให้สามารถแถลงต่อรัฐสภาได้ จะต้องชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบายไว้โดยละเอียดในคำแถลงนโยบาย

การกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญด้วยการแถลงนโยบายในลักษณะเดียวกันนี้ ยังเกิดขึ้นในคณะรัฐมนตรีชุดก่อน จึงทำให้บุคคลในคณะรัฐมนตรีชุดก่อนคือ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีตามประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 กันยายน 2566 จำนวนทั้งสิ้น 35 คน ซึ่งได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เช่นเดียวกัน โดยไม่อาจดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีได้อีกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน”

นอกจากนี้ท้ายคำร้องระบุว่า การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เป็นอำนาจของ กกต. ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม จึงขอให้ กกต.ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ

(อ่านรายละเอียดhttps://www.isranews.org/article/isranews/131773-invessddssddssdas-isra.html)

 

#อิ๊งค์ #ครม. #ชูศักดิ์ #สภา #รมต. #คุณสมบัติ #ผิดจริยธรรมร้ายแรง #ศาลรัฐธรรมนูญ #กกต. #เศรษฐา #ประชานิยม