จากที่ Blockdit World Update รายงานการดวลเดือดระหว่างฝ่ายเยเมน กับสหรัฐ อังกฤษ ในช่วง 2 เดือนกว่าที่ผ่าน ปรากฏว่า ฝ่ายเยเมนโจมตีเรือรบและ เรือสินค้าข้าศึกพังไป 23 ลำ
ล่าสุดวันที่ 07 กุมภาพันธ์ 2567 เกิดการดวลเดือดยกที่ 12 ฝ่ายรุมสหรัฐ อังกฤษ ออกอาวุธก่อนยิงขีปนาวุธโทมาฮอร์ค จากเรือบรรทุกเครื่องบินในระยะไกล และส่งเครื่องบินรบปล่อยระเบิดจากระยะไกลโดยไม่เข้าใกล้น่านฟ้าเยเมน เพราะเข็ดกลัวถูกสอยแบบยกก่อน
ต่อมาบริษัทรักษาความปลอดภัยทางทะเล Embry อังกฤษ ประกาศยืนยันว่าโดรนพลีชีพเยเมน พุ่งโจมตีเรือสินค้าอังกฤษอีกลำเพลิงไหม้เสียหายพัง ทางตะวันตกของเมืองโฮไดดาห์ ของเยเมน
โดยรัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษ แถลงยอมรับว่าการโจมตีอาวุธใส่เยเมน ไม่สามารถป้องกันการโจมตีเรือสินค้าและเรือรบได้อย่างสมบูรณ์ ประมาณว่ายิ่งรุกรานเยเมน ยิ่งโดนสวนแตกเย็บทุกครั้ง
ขณะที่ในวันเดียวกันเว็บไซต์ TOP WAR ได้ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์ในทะเลแดงด้วยว่า รัฐเล็กๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา – สาธารณรัฐจิบูตี ได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับองค์ประกอบหนึ่งของกองทัพ หน่วยยามฝั่งจิบูตีได้เพิ่มจำนวนการลาดตระเวน และขยายเส้นทางไปตามเส้นทางน้ำยุทธศาสตร์ในขณะที่เกิดวิกฤติในทะเลแดง
ช่องแคบบับ เอล-มานเดบแคบๆ เป็นสิ่งที่แยกจิบูตีออกจากเยเมน จากจุดที่กลุ่มฮูตีได้เปิดการโจมตีหลายครั้งต่อเรือ/เรือพาณิชย์และการทหารที่เชื่อมโยงกับอิสราเอลและสหรัฐฯ
“เมื่อคุณรักษาความปลอดภัยของบางสิ่งบางอย่าง ไม่ใช่แค่ทะเล และมีภัยคุกคามกำลังใกล้เข้ามา คุณต้องเพิ่มเวลาก่อนที่อันตรายเหล่านั้นจะเข้ามาใกล้เรา” พันเอกไวสส์ โอมาร์ โบโกเร ผู้บัญชาการหน่วยยามฝั่งจิบูตี กล่าว
สำหรับ จิบูตีมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลเสียต่อประเทศชายฝั่งทะเล ซึ่งสาธารณรัฐแห่งนี้เป็นที่ตั้งของฐานทัพทหารต่างชาติหลายแห่ง แต่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกลุ่มพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐฯซึ่งปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อกลุ่มฮูตี
เอกลักษณ์ที่แปลกประหลาดของสาธารณรัฐจิบูตี คือเป็นรัฐเดียวในโลกที่มีฐานทัพทหารในอาณาเขตของจีน และสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่พร้อมกัน โดยลูกเรือของ PLA มาที่นี่ตั้งแต่ปี 2560 และใช้ฐานทัพของตนเพื่อปฏิบัติการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์นอกชายฝั่งจิบูตี
อย่างไรก็ตามเมื่อสองปีก่อน วอชิงตันพยายามอย่างแข็งขันที่จะป้องกันไม่ให้กองทหารจีนปรากฏตัวในจิบูตี แต่จิบูตีปฏิเสธที่จะเป็นฐานทัพของอเมริกาโดยเฉพาะอย่างเด็ดขาด ในขณะเดียวกัน การมีอยู่ของสหรัฐฯ ก็ค่อนข้างแตกต่างไปจากจีน ซึ่งภายใต้หน้ากากของการต่อสู้กับกลุ่มอิสลาม พวกเขากำลังแสวงหา ผลประโยชน์ของชาติ พยายามควบคุมเส้นทางการค้าที่สำคัญที่สุด
“เรามีเพื่อนมากมายจากหลายประเทศที่ทำงานในทะเล และบางแห่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนชายฝั่ง เราทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและจะร่วมมือและประสานงานภารกิจที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทั้งหมด” พันเอกโบโกเร กล่าว
นอกจากกองทัพจีนและอเมริกาแล้ว สาธารณรัฐจิบูตียังมีฐานทัพอีก 5 ประเทศ รวมถึงฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และอิตาลี
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม 2560 สำนักข่าวเอพีรายงาน กองทัพจีน ตั้งฐานทัพในต่างแดนเป็นแห่งแรก โดยได้ส่งกำลังทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนของจีน ไปประจำการที่สาธารณรัฐจิบูตี ประเทศในทวีปแอฟริกา เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา
โดยกระทรวงกลาโหมจีน แถลงถึง พิธีส่งทหารไปประจำการที่จิบูตี มีขึ้นที่ฐานทัพเมืองท่าจ้างเจียง ในมณฑลกวางตุ้ง โดยมีพลเรือโท เสิ่น จิ้นหลอง ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธี
ขณะที่มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2561 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้พบกับนายอิสมาอิล โอมาร์ เกลเลห์ ประธานาธิบดีจิบูตี ที่มหาศาลาประชาชน ในกรุงปักกิ่ง
นายสี จิ้นผิง เน้นว่า ทั้งสองฝ่ายลงนามในเอกสารว่าด้วยความร่วมมือของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง มั่นใจว่าจะเป็นพลังในความร่วมมือของสองประเทศ จีนยินดีร่วมมือกับจิปูตี ประสานงานในกิจการระหว่างประเทศและส่วนภูมิภาค เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พิทักษ์ผลประโยชน์ร่วมของทั้งสองประเทศและประเทศกำลังพัฒนา
นายเกลเลห์ กล่าวว่า จิปูตีขอบคุณการช่วยเหลือของจีนเป็นอย่างยิ่ง เต็มไปด้วยมิตรไมตรี กับความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนระหว่างจิบูตีกับจีน ยินดีร่วมในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เพื่อเปิดยุคใหม่แห่งความร่วมมือระหว่างสองประเทศท่ามกลางกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน