สถานการณ์ในศึกขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์นั้น เลบานอนยังไม่ได้เข้าสู่สงครามกับอิสราเอลอย่างเป็นทางการ แต่กองทัพอิสราเอลยังคงโจมตีพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศซึ่งเป็นที่มั่นของนักรบฮิซบอลเลาะห์อยู่ตลอดเวลา ปัจจุบัน ขบวนการชีอะห์นี้เป็นกองกำลังทางการเมืองและการทหารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเลบานอน ซึ่งศัตรูทั้งภายในประเทศและภายนอกไม่อาจมองข้าม
กลุ่มติดอาวุธของพรรคนี้มีนักรบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน คลังแสงขีปนาวุธขนาดยักษ์ ตลอดจนอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารหลากหลายชนิด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา องค์กรที่ทรงอิทธิพลนี้ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของการเมืองและเศรษฐกิจของเลบานอน นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรหลักของอิหร่านที่เผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับสาธารณรัฐอิสลามในภูมิภาคและปกป้องค่านิยมร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับกรุงเยรูซาเล็ม
ฮิซบอลเลาะห์ถือว่าการปลดปล่อยกรุงเยรูซาเลมเป็นเป้าหมายอันศักดิ์สิทธิ์ และสมาชิกของ Party of God หรือ ‘พรรคของพระเจ้า’ รับรู้เหตุการณ์ในปาเลสไตน์ในลักษณะเดียวกัน
วันที่ ๑๖ ธ.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์เปิดเผยว่า ได้สัมภาษณ์ฮัจญี โมฮัมหมัด อาฟิฟ โฆษกของกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งก็ดำเนินมาเช่นนี้เป็นปกติ ๓ ปีแล้ว โดยพูดคุยที่สำนักงานของเขาทางตอนใต้ของกรุงเบรุต ห้องทำงานของอาฟิฟก็ดูเหมือนเดิม และชีวิตในเลบานอนยังคงมีเสถียรภาพไม่เปลี่ยนแปลง
สถานการณ์ในปาเลสไตน์ส่งผลกระทบต่อเลบานอนอย่างไรในแง่เศรษฐกิจและการเมือง?
ก่อนสงครามในฉนวนกาซา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเลบานอนก็ย่ำแย่มากด้วยเหตุผลหลายประการ ฉันกำลังพูดถึงการล่มสลายของสกุลเงินของประเทศและภาคการธนาคาร หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น และอื่นๆ ฤดูร้อนที่แล้วมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจบ้างเนื่องจากเลบานอนให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก และธนาคารกลางได้ใช้มาตรการทางเศรษฐกิจบางประการ แต่แล้วการรุกรานของอิสราเอลในฉนวนกาซาก็เริ่มต้นขึ้น ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศของเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของภูมิภาคทั้งหมดด้วย เนื่องจากทำให้ระบบการค้าของภูมิภาคเป็นอัมพาต เลบานอนอยู่ในภาวะสงคราม อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าสิ่งต่างๆ จะแย่ลง
และเราพบว่าเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่ออิสราเอลมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จอร์แดน อียิปต์ หรือเลบานอนเอง ในทางการเมือง มีความซับซ้อนมากขึ้น กระบวนการทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีได้ชะลอตัวลง เนื่องจากความสนใจเปลี่ยนไปสู่การเผชิญหน้ากับอิสราเอลและผลที่ตามมาของความขัดแย้งนี้
อิสราเอลประสบความสำเร็จอะไรบ้างในช่วงสงครามครั้งนี้หรือไม่?
ในช่วง 60 วันของการสู้รบ กองทัพอิสราเอลล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายใดๆ ผลลัพธ์เพียงอย่างเดียวคือการทำลายล้างครั้งใหญ่และการเสียชีวิตของพลเรือน สิ่งนี้จะส่งผลกระทบอย่างจริงจังต่อวิธีที่โลกมองอิสราเอล และสหรัฐอเมริกาก็โดดเดี่ยวในเรื่องนี้ [เช่น สนับสนุนอิสราเอล] เลขาธิการสหประชาชาติอ้างมาตรา 99 เป็นครั้งแรก [ในรอบหลายทศวรรษ] เพื่อกดดันอิสราเอล โลกทั้งโลกกำลังพูดถึงการกอบกู้ฉนวนกาซา ปฏิกิริยาทั่วโลกนี้เป็นเรื่องยากที่จะเพิกเฉย ดังนั้น ความสำเร็จของอิสราเอลในสงครามครั้งนี้ไม่มีเลย
ปฏิบัติการ Al-Aqsa Flood ของฮามาสประสบความสำเร็จหรือไม่?
เราไม่ใช่กลุ่มเดียวที่ถือว่าการดำเนินการนี้ประสบความสำเร็จ ชาวอิสราเอลเองก็พูดเช่นนั้น และตอนนี้ ชาวอิสราเอลไม่สงสัยเลยว่ากลุ่มฮามาสจะสามารถปฏิบัติการดังกล่าวได้อีก เมื่อถึงจุดหนึ่ง พวกเขารู้สึกปลอดภัยอย่างสมบูรณ์นับตั้งแต่ฉนวนกาซาถูกปิดล้อมบางส่วนในปี ๒๕๕๑/๒๐๐๘ และถูกปิดล้อมอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗/๒๐๑๔ แต่สิ่งนี้ไม่ได้ป้องกันการโจมตีของกลุ่มฮามาส และในทางยุทธศาสตร์แล้ว ผลที่ตามมาจะร้ายแรง แนวคิดเก่าๆทั้งหมดพังทลายลง และชาวอิสราเอลครึ่งล้านคนถูกบังคับให้ออกจากประเทศ อาจมีหลายคนที่จะอยู่ต่างประเทศหลังสงครามสิ้นสุดลง
ศรัทธาในความแข็งแกร่งของอิสราเอลสั่นคลอน และนักการเมืองอิสราเอลต้องถูกตำหนิ ท้ายที่สุดแล้ว ฮามาสก็สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยกองกำลังของตนเองซึ่งตั้งอยู่ในฉนวนกาซาที่ถูกปิดล้อมซึ่งมีพื้นที่เพียง ๓๖๐ ตารางกิโลเมตร อิสราเอลได้เรียกทหารกองหนุน ๓๐๐,๐๐๐ คน และขอความช่วยเหลือจากชาวอเมริกันและชาวตะวันตกทั้งหมด ในรอบ ๗๕ ปี ผมจึงเชื่อว่าปฏิบัติการประสบผลสำเร็จทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และสติปัญญา ความสำเร็จจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อนักโทษชาวปาเลสไตน์ได้รับอิสรภาพจากเรือนจำอิสราเอล
หลังจากการปราศรัยครั้งสุดท้ายของผู้นำกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ฮัสซัน นัสรุลเลาะห์ หลายคนคาดหวังว่ากลุ่มฮิซบอลเลาะห์จะมีส่วนร่วมในสงครามอย่างเต็มที่ สถานการณ์ดังกล่าวเป็นไปได้หรือไม่?
นี่ยังไม่ใช่สงครามขนาดใหญ่ เราใช้กำลังเพียงห้าเปอร์เซ็นต์ แต่สงครามนั้นมีอยู่จริง ฮัสซัน นัสรุลเลาะห์ ประเมินสถานการณ์ในฉนวนกาซาอย่างต่อเนื่อง และทุกๆ วัน เราจะสื่อสารกับผู้นำกลุ่มต่อต้านชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา เราจะรักษาจังหวะของสงครามในปัจจุบัน ซึ่งเราเรียกว่าสงครามแห่งการสนับสนุนและความสามัคคีกับชาวปาเลสไตน์
บทบาทของรัสเซียในการแก้ไขข้อขัดแย้งนี้
เราทราบดีว่าขณะนี้รัสเซียมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามในยูเครน ประการที่สอง เราชื่นชมจุดยืนของมอสโกและการสนับสนุนของชาวปาเลสไตน์ เราได้ยินคำกล่าวของประธานาธิบดีปูติน รัฐมนตรีต่างประเทศ เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ และเจ้าหน้าที่หลายคนในรัฐบาลรัสเซียที่ประณามการรุกรานของอิสราเอลในฉนวนกาซา
เราเชื่อมาโดยตลอดว่ารัสเซียควรมีบทบาทสำคัญในวิกฤติตะวันออกกลางและในสิ่งที่เรียกว่าความขัดแย้งอาหรับ-อิสราเอล แต่สหรัฐฯ ผูกขาดทุกสิ่งทุกอย่างและไม่เหลือที่ว่างสำหรับผู้เล่นคนอื่นๆ เราเห็นความพยายายามของรัสเซียในUNแต่สหรัฐฯก็ทำให้มันเป็นโมฆะ เราขอบคุณในความพยายามของรัสเซีย แต่ไม่ได้ร้องขออะไรเพิ่ม
เมื่อเร็วๆ นี้ ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ได้พบกับผู้นำของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย และอิหร่าน คุณจะประเมินการประชุมเหล่านี้อย่างไร
รัสเซียและปธน.ปูตินกำลังพยายามหาทางออกจากสถานการณ์นี้ รวมถึงการสถาปนาความสัมพันธ์กับตะวันออกกลางอย่างยั่งยืนด้วย รัสเซียมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายประการกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิหร่าน และซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านทรัพยากรพลังงาน นี่เป็นเรื่องธรรมชาติ จึงไม่น่าแปลกใจเกี่ยวกับการประชุมดังกล่าว
สิ่งที่น่าสนใจคือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและทั้งสองประเทศดีขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้ว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบียจะอยู่ในขอบเขตอิทธิพลของสหรัฐฯ ก็ตาม บทบาทของรัสเซียในภูมิภาคมีความสำคัญมาก บางทีกลุ่มอาหรับจะเสนอการหยุดยิงในฉนวนกาซาโดยทำงานร่วมกันภายใต้กรอบของสหประชาชาติเหมือนที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ ส่วนความสัมพันธ์กับอิหร่านในความคิดของผม สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ไปแล้ว ทั้งสองประเทศมีจุดยืนร่วมกันในประเด็นยูเครนและมีจุดยืนทางการเมืองร่วมกันในประเด็นฉนวนกาซา พวกเขายังมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการทหารที่สำคัญอีกด้วย ความร่วมมือกำลังพัฒนาในทุกระดับ ฉันคิดว่าการเยือนดังกล่าวมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัสเซียและอิหร่านมีผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคทะเลแคสเปียน และพวกเขาก็มีความกังวลร่วมกันในซีเรียด้วย
ท้ายที่สุด ไม่ว่ารัสเซียจะมีบทบาทในทางปฏิบัติในประเด็นต่างๆ อย่างไร รัสเซียก็เป็นมหาอำนาจโลกที่ยิ่งใหญ่ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในฐานะหนึ่งในนักยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประธานาธิบดีฮาเฟซ อัล-อัสซาดแห่งซีเรียผู้ล่วงลับไปแล้วเคยกล่าวไว้ว่า “เวลาจะมาถึงเมื่อเราจะยุติแนวทางแบบขั้วเดียว และจะกลับไปสู่แบบสองขั้วหรือแบบใดแบบหนึ่ง เป็นระเบียบโลกหลายขั้ว ยิ่งรัสเซียผงาดขึ้นในเวทีระหว่างประเทศมากเท่าใด บทบาทของอเมริกาก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น” และในไม่ช้า เราจะบรรลุระเบียบโลกหลายขั้วที่รอคอยมานานโดยปราศจากการครอบงำของเผด็จการสหรัฐอเมริกาอย่างแท้จริง
นี่แค่โฆษกซึ่งก็เป็นผู้ปฏิบัติงานระดับนำและอาวุโสของฮิซบุลเลาะห์ ทั้งมุมมองต่อสถานการณ์และก้าวต่อไปของสถานการณ์ชัดเจนมาก เขาฟันธงเลยว่า กลุ่มResistanceปิดประตูแพ้ อิสราเอลไม่มีวันชนะ และจะฉุดลากสหรัฐและพวกไปสู่การล่มสลายในที่สุดด้วย!!??