จากที่หลายประเทศต่างประกาศสนับสนุนทั้งสองฝ่ายคือปาเลสไตน์และอิสราเอล ขณะที่ความเคลื่อนไหวในกาซาและเวสต์แบงก์ก็มีการโจมตี ตอบโต้กัน โดยชาติที่ไม่ต้องการให้อิสราเอลยึดหรือขับไล่พลเรือนเริ่มทวีมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 Blockdit World Update ได้โพสต์ข้อความถึงสถานการณ์ในพื้นที่พิพาท รวมทั้งท่าทีของชาติพันธมิตรว่า
ตามที่โฆษกกองทัพอิสราเอล รุกรานดินแดนกาซา รัฐปาเลสไตน์ แถลงเปิดภาพอุโมงค์อ้างว่าเป็นของกลุ่มฮามาส ภายใต้โรงพยาบาลอัล-ชิฟา แต่เกิดขัดแย้งกับคำแถลงนายเอฮุด บารัค อดีตนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ที่ยอมรับต่อสื่อ CNN
ย้ำถึง 2 ครั้งว่า อุโมงค์นั้นอิสราเอล เป็นผู้สร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายอุโมงค์นี้ขึ้นมาเอง เป็นที่หลบภัยเมื่อคราวที่เคยรุกรานยึดกาซา เมื่อราวปี 2523 นานกว่า 43 ปีก่อน
มีแต่ความว่างเปล่าไม่มีร่องรอยที่เกี่ยวข้องกับฮามาสอยู่ข้างในเลย เกิดกระแสชาวอิสราเอลจำนวนมาก เรียกอดีตผู้นำอิสราเอลว่าเป็น ผู้ก่อการร้าย และให้ถอนสัญชาติ เพราะเขาพูดความจริง ทำให้กองทัพหน้าแตก
สื่อ Bloomberg รายงานว่า บริษัทที่ปรึกษา Leader Capital Market ประเมินว่าการคลังอิสราเอล กำลังประสบปัญหา เมื่อรัฐบาลใช้เงินทำสงครามในกาซา แค่ 48 วัน หมดไปแล้วถึง 48,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.7 ล้านล้านบาท) หรือราว 10% ของ GDP ซึ่งสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอิสราเอล จ่าย 2 ใน 3 ส่วน สหรัฐจ่าย 1 ใน 3 ส่วน
ด้าน อาบู โอไบดา โฆษกกองพลน้อยอัล กัสซัม กองทัพฮามาส แถลงว่า ทหารปาเลสไตน์ ยังคงต่อสู้อย่างหนักกับการรุกรานของกองทัพอิสราเอล ทำลายยานพาหนะทางทหารรถถัง รถหุ้มเกราะ ข้าศึกไปแล้ว 335 คัน
ทหารฝ่ายรุกรานสูญเสียชีวิต และบาดเจ็บไปแล้วจำนวนมาก โดยเฉพาะทหารราบในเมือง Beit Hanoun ตอนเหนือกาซา ด้วยระเบิดแสวงเครื่องต่อต้านบุคคล นักรบฮามาสเพียงนายเดียวสามารถทำลายทหารข้าศึกได้ 8 นาย ทางตะวันออกของโรงพยาบาลรันติซี
นายกรัฐมนตรี บิชร์ อัลเคาะศอวินะฮ์ ผู้นำจอร์แดน ยืนยันว่า รัฐบาลจะใช้ทุกมาตรการที่สามารถทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้อิสราเอลใช้นโยบายเคลื่อนย้ายประชากร ขับไล่คนปาเลสไตน์ออกแล้วแย่งดินแดนเวสต์แบงก์
การบังคับขับไล่หรือสร้างเงื่อนไขใดๆ ก็ตามเช่นนั้น รัฐบาลจอร์แดนจะถือว่าเป็นการประกาศสงคราม และละเมิดข้อตกลงสันติภาพ ปี 2537 จะนำไปสู่การทำลายชนชาติปาเลสไตน์ และเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของจอร์แดนด้วย
ขณะนี้กองทัพจอร์แดน ได้สั่งเสริมกำลังทหาร และยานรบขนานใหญ่ บริเวณแนวพรมแดนติดกับอิสราเอล แสดงถึงความสัมพันธ์ที่สั่นคลอนสองชาตินี้ เพราะจอร์แดน ต้องรับผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์เข้ามาอาศัยหลายล้านคน
นักการเมืองในรัฐบาลอิสราเอล ก็ประกาศว่า จอร์แดนคือปาเลสไตน์ เพื่อผลักดันความขัดแย้งยิว-ปาเลสไตน์ ล่าสุดรัฐสภาแอฟริกาใต้ ที่เป็นประเทศในกลุ่ม BRICS ลงมติเห็นชอบให้ปิดสถานทูตอิสราเอล และไล่เอกอัครราชทูตอิสราเอลออกจากประเทศ พร้อมตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดทันที
อิสราเอล ใช้เงินทำสงครามมา 48 วันใช้จ่ายมากกว่า 35,416 ล้านบาท/วัน อิสราเอล มี GDP ทางเศรษฐกิจ พอๆ กับไทยคือ ราว 18 ล้านล้านบาท/ปี แต่หนี้สินสูงกว่าไทยมาก
เมื่อประเทศประกาศภาวะสงคราม ย่อมทำให้ระบบเศรษฐกิจการค้าทรุดฮวบ รายได้จากกิจกรรมภาษีย่อมลดลง แต่รายจ่ายทวีคูณขึ้น การพังทะลายจากความขัดแย้งภายใน และเศรษฐกิจการค้า การส่งออก การไม่ยอมรับจากนานาชาติ จะทำให้ทรุดยาวหนี้ท่วมแน่นอน